ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในการประกวดเพลงยูโรวิชัน
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในการประกวดเพลงยูโรวิชัน | |
---|---|
![]() | |
สถานีโทรทัศน์ที่เข้าร่วม | บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงสวิส (เอสอาร์จี เอสเอสอาร์) |
สรุปผลการเข้าร่วม | |
การเข้าร่วม | 64 (รอบชิงชนะเลิศ 53 ครั้ง) |
การเข้าร่วมครั้งแรก | ค.ศ. 1956 |
อันดับสูงสุด | ที่ 1 (ค.ศ. 1956, 1988, 2024) |
การเป็นเจ้าภาพ | ค.ศ.1956, 1989, 2025 |
ลิงก์ภายนอก | |
หน้าเว็บสวิตเซอร์แลนด์ใน Eurovision.tv ![]() | |
![]() ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2024 |
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้เข้าร่วมการประกวดเพลงยูโรวิชันทั้งหมด 64 ครั้ง โดยเข้าร่วมครั้งแรกในการประกวดปี 1956 โดยพลาดการแข่งขันเพียงสี่ครั้ง ได้แก่ในปี: 1995 1999 2001 และ 2003 สวิตเซอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพการประกวดครั้งแรกในปี 1956 ที่ลูกาโน ซึ่งก็ยังได้รับชัยชนะอีกด้วย สวิตเซอร์แลนด์คว้าชัยชนะครั้งที่สองในการประกวดปี 1988 เป็นระยะเวลา 32 ปีหลังครั้งแรก และเป็นครั้งที่สามในปี 2024 เป็นระยะเวลา 36 ปีหลังครั้งที่สอง โดยสวิตเซอร์แลนด์มีบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงสวิส (เอสอาร์จี เอสเอสอาร์) เป็นสถานีโทรทัศน์ประจำชาติที่เข้าร่วม
"รีเฟรน" ของลิส อาเซียชนะการประกวดครั้งแรกในปี 1956 สำหรับสวิตเซอร์แลนด์ในประเทศตนเอง เธอได้กลับมาเข้าร่วมอีกครั้งในการประกวดปีถัดไปด้วยเพลง "จิออร์จีโอ" โดยได้รับอันดับที่สอง สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับสองด้วยเพลง "ต็องวาปาซ" โดยเอสเธอร์ โอฟาริม (ค.ศ. 1963) และ "ปาซปัวร์มัว" โดยดาเนียลา ซิมมอนส์ (ค.ศ. 1986) และอันดับที่สามด้วย "นูโซรอนเดอแม็ง" โดยฟรังกา ดิ ริเอนโซ (ค.ศ. 1961) และ "อามูรงแตม" โดยอาร์เล็ตต์ โซลรา (ค.ศ. 1982) เซลีน ดิออนนำชัยชนะสู่ประเทศอีกครั้งในการประกวดปี 1988 ด้วยเพลง "เนอปาร์เตปาซองมัว" และแอนนี คอตตอนคว้าตำแหน่งห้าอันดับแรกของสวิตเซอร์แลนด์เป็นครั้งที่ 15 โดยได้รับอันดับที่สามในการประกวดปี 1993 ด้วยเพลง "มัวตูซิมเปลมง"
นับตั้งแต่มีการเริ่มวิธีการเลื่อนตกชั้นในการประกวดปี 1993 สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับถึงสิบอันดับแรกเพียงสี่ครั้งเท่านั้น นับตั้งแต่เริ่มระบบรอบรองชนะเลิศในปี 2004 ประเทศล้มเหลวในการผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในการแข่งขัน 11 รายการจาก 19 รายการ โดยจบอันดับสุดท้ายในรอบรองชนะเลิศถึงสี่ครั้ง สวิตเซอร์แลนด์กลับเข้ามาอยู่ในช่วงห้าอันดับแรกในการประกวดปี 2019 ด้วยเพลง "ชีก็อตมี" โดยลูกา ฮานนิ ได้อันดับที่สี่ นับเป็นครั้งที่หกที่ได้รับอันดับในช่วงห้าอันดับแรก ซึ่งก็ตามด้วย "ตูลูนีแวร์" โดยยอห์นเทียร์ ในอันดับที่สามในการประกวดปี 2021 สวิตเซอร์แลนด์ชนะการประกวดครั้งที่สามในปี 2024 ด้วยเพลง "เดอะโคด" โดยเนโม
การเข้าร่วม
[แก้]บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงสวิส (เอสอาร์จี เอสเอสอาร์) เป็นสมาชิกสามัญของสหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป (อีบียู) จึงมีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวดเพลงยูโรวิชัน โดยได้เข้าร่วมการประกวดตั้งแต่การประกวดครั้งแรกในปี 1956
สวิตเซอร์แลนด์มีภาษาราชการสี่ภาษา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษารูมันช์ อีบียูได้ประกาศกฎระเบียบระบุว่าเพลงจะต้องแสดงเป็นภาษาราชการของประเทศนั้นๆ ซึ่งถูกยกเลิกในปี 1999[1] ส่งผลให้ในช่วงเวลานั้นเอสอาร์จี เอสเอสอาร์มีอิสระในการส่งผลงานเข้าประกวดในภาษาใดก็ได้จากสี่ภาษาดังกล่าว โดยจาก 64 ครั้งที่เข้าร่วมประกวด สวิตเซอร์แลนด์ได้ส่งเพลงไปแล้ว 65 เพลง โดย 24 เพลงเป็นภาษาฝรั่งเศส[a] 12 เพลงเป็นภาษาเยอรมัน 18 เพลงเป็นภาษาอังกฤษ 10 เพลงเป็นภาษาอิตาลี และ 1 เพลงเป็นภาษารูมันช์ เพลงที่ชนะ 2 เพลงแรกของสวิตเซอร์แลนด์ขับร้องเป็นภาษาฝรั่งเศส ส่วนเพลงที่สามขับร้องเป็นภาษาอังกฤษ
เอสอาร์จี เอสเอสอาร์ได้เคยใช้กระบวนการคัดเลือกมาแล้วหลายเพื่อพิจารณาคัดเลือกผลงานที่จะส่งเข้าประกวดในแต่ละปี ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา เอสอาร์จีได้ใช้กระบวนการคัดเลือกภายใน โดยก่อนหน้าจะใช้การประกวดระดับประเทศซึ่งจัดขึ้นภายใต้ชื่อต่างๆ เช่น กงกูร์เออโรวิซิอง ในปี 1950-2000 และ เดอกรอเซอเอ็นไชดุงโช ในปี 2011-2018 ในช่วงทศวรรษ 1980 การประกวดระดับประเทศนี้มักมีเพลงที่เข้าร่วม 10 เพลงต่อปี ได้แก่ 3 เพลงเป็นภาษาฝรั่งเศส 3 เพลงเป็นภาษาเยอรมัน 3 เพลงเป็นภาษาอิตาลี และ 1 เพลงเป็นภาษารูมันช์
ดูเพิ่ม
[แก้]- ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในการประกวดเพลงจูเนียร์ยูโรวิชัน
- ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในการประกวดเต้นยูโรวิชัน
- ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในยูโรวิชันยังแดนเซอร์ส
- ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในยูโรวิชันยังมิวสิกเชียนส์
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ เพลงที่ส่งเข้าประกวดจากสวิตเซอร์แลนด์ในการประกวดปี 2020 ที่ถูกยกเลิกไปยังได้ขับร้องเป็นภาษาฝรั่งเศสด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ cookiefonster (2024-01-06). "Cookie Fonster Relives Eurovision 1999: The Death of the Language Rule (and the Birth of Me)". Cookie Fonster's stuff (ภาษาอังกฤษ).