ประเทศยูเครน

พิกัด: 49°N 32°E / 49°N 32°E / 49; 32
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเครน

Україна (ยูเครน)
เพลงชาติชแชแนวแมร์ลาอูกรายีนา
"ยูเครนยังไม่สูญสิ้น"
- ที่ตั้งของประเทศยูเครน (สีเขียว) - ดินแดนพิพาทกับรัสเซีย (สีเขียวอ่อน)
- ที่ตั้งของประเทศยูเครน (สีเขียว)
- ดินแดนพิพาทกับรัสเซีย (สีเขียวอ่อน)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เคียฟ
ภาษาราชการภาษายูเครน
การปกครองประชาธิปไตยระบบกึ่งประธานาธิบดี
วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย
วอลอดือมือร์ ฮรอยส์มัน
ประวัติศาสตร์ยูเครน
(ค.ศ. 882)
(ค.ศ. 1199)
พ.ศ. 2192 (ค.ศ. 1649)
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461
30 ธันวาคม พ.ศ. 2465
30 มิถุนายน พ.ศ. 2484
• ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต
24 สิงหาคม พ.ศ. 25341
พื้นที่
• รวม
603,500 ตารางกิโลเมตร (233,000 ตารางไมล์) (45)
น้อยมาก
ประชากร
• 2556 ประมาณ
44,573,205 [1] [2] (29)
• สำมะโนประชากร 2544
46,212,455
73.8 ต่อตารางกิโลเมตร (191.1 ต่อตารางไมล์) (115)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 366.357 พันล้าน
$ 8,655
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 104.062 พันล้าน
$ 2,458
จีนี (2558)25.5[3]
ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง
เอชดีไอ (2559)ลดลง 0.743
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 84th
สกุลเงินฮริฟเนียยูเครน (UAH)
เขตเวลาUTC+2 (EET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (EEST)
รหัสโทรศัพท์380
โดเมนบนสุด.ua
.укр

ยูเครน (อังกฤษ: Ukraine; ยูเครน: Україна, Ukrayina [ukraˈjina]) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม.2 ซึ่งมีอาณาเขตอยู่ในทวีปยุโรปทั้งหมด[4][5][6]

พื้นที่ประเทศยูเครนในคริสต์ศตวรรษที่ 9 เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมสลาฟตะวันออกในยุคกลาง ซึ่งส่งผลให้เกิดรัฐที่มีอำนาจในแถบนั้นในชื่อ เคียฟรุส (Kievan Rus') อีกหลายศตวรรษหลังจากนั้นจึงถูกแบ่งไประหว่างกลุ่มอำนาจต่าง ๆ โดยเฉพาะรัสเซีย โปแลนด์ และจักรวรรดิออตโตมัน โดยมีเอกราชระยะสั้น ๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2460-2464 อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติรัสเซีย จากนั้นได้กลายเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2465 ชายแดนในปัจจุบันเพิ่งได้รับการสถาปนาเมื่อปี พ.ศ. 2497 ยูเครนเป็นเอกราชอีกครั้งหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534

ยูเครนเป็น "อู่ข้าวอู่น้ำ" ของโลกมาช้านานเนื่องจากสภาพอันอุดมสมบูรณ์ ในปี 2554 ยูเครนเป็นผู้ส่งออกธัญพืชรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลก โดยผลการเก็บเกี่ยวในปีนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยด้วย[7] ยูเครนติดหนึ่งในสิบเขตการได้มาซึ่งที่ดินการเกษตรที่น่าดึงดูดที่สุด[8] นอกเหนือจากนี้ ยูเครนยังมีภาคการผลิตที่พัฒนาดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอวกาศและอุปกรณ์อุตสาหกรรม

ยูเครนเป็นรัฐเดี่ยว ประกอบด้วย 24 จังหวัด หนึ่งสาธารณรัฐปกครองตนเอง (ไครเมีย) และสองนครซึ่งมีสถานภาพพิเศษ คือ เคียฟ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุด และเซวัสโตปอลซึ่งเป็นที่ตั้งของกองเรือทะเลดำรัสเซียภายใต้ความตกลงเช่า ยูเครนเป็นสาธารณรัฐในระบบกึ่งประธานาธิบดี โดยฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการแยกกัน นับแต่สหภาพโซเวียตล่มสลาย ยูเครนยังเป็นประเทศที่มีทหารมากเป็นอันดับสองในยุโรป รองจากรัสเซีย หากคิดรวมกำลังพลที่เป็นกำลังสำรองและกำลังกึ่งทหารด้วย[9]

ยูเครนมีประชากร 44.6 ล้านคน 77.8% เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ยูเครน โดยมีชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์รัสเซีย (17%) เบลารุสและโรมาเนียพอสมควร ภาษายูเครนเป็นภาษาราชการ ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่สอง ศาสนาหลักของประเทศ คือ ศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อสถาปัตยกรรม วรรณกรรมและดนตรียูเครน

ภูมิศาสตร์

ประวัติศาสตร์

ยุครุ่งเรืองแห่งเคียฟ

นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาว Nomad โดยเฉพาะชาว Scythian เป็นพวกแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในยูเครนในช่วงก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวเผ่าสลาฟได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลางและตะวันออกของยูเครน อย่างไรก็ดี ชนชาติสำคัญที่มีบทบาทในการรวบรวมดินแดนบริเวณนี้ให้เป็นปึกแผ่นคือชาวรุส (Rus) ที่มาจากสแกนดิเนเวีย โดยต่อมาชาวรุสได้สถาปนาจักรวรรดิเคียฟรุส ขึ้นในศตวรรษที่ 6 และปกครองชาวสลาฟที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ และต่อมาได้ขยายดินแดนออกไปรวบรวมเผ่าสลาฟและชนชาติต่าง ๆ จนเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในศตวรรษที่ 11 แต่ในศตวรรษที่ 12 อาณาจักรนี้ได้เสื่อมสลายลง เนื่องจากสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ และการรุกรานจากชาวมองโกลในศตวรรษต่อมา หลังจากนั้น ดินแดนบางส่วนของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรต่าง ๆ อาทิ ลิทัวเนีย โปแลนด์ ออสเตรีย-ฮังการี และ จักรวรรดิรัสเซีย

ศตวรรษที่ 19 และ ศตวรรษที่ 20

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยูเครนได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิรัสเซียและราชวงศ์ฮับสบวร์กเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1918 แต่ต่อมากระแสการปฏิวัติในรัสเซียได้ลุกลามมายังยูเครน ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองและสงครามประกาศเอกราชขึ้น เกิดการก่อตั้งรัฐเอกราชยูเครนในช่วงระยะสั้นๆ สมัยต่าง ๆ ดังนี้ สาธารณรัฐประชาชนยูเครน, สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตก และ รัฐยูเครน

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

ปี ค.ศ.1922 ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับโปแลนด์ ในขณะที่ดินแดนตอนกลางและตะวันออกถูกผนวกรวมกับรัสเซียในฐานะสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต เมื่อภายใต้ระบอบระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ชาวยูเครนถูกบังคับให้เลิกใช้ภาษาของตนเอง นอกจากนี้ ในช่วงปี ค.ศ. 1932-1933 โจเซฟ สตาลิน แห่งสหภาพโซเวียต ยังได้ใช้มาตรการ “Holodomor” (Famine) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายระบบนารวมของสหภาพโซเวียตกับชาวยูเครน อันส่งผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงและการขาดแคลนอาหารขึ้นทั่วประเทศ และชาวยูเครนกว่า 7 ล้านคนต้องเสียชีวิตลง ชาวนาและปัญญาชนที่ต่อต้านระบบดังกล่าวถูกกวาดล้างหรือเนรเทศไปยังไซบีเรีย

สงครามโลกครั้งที่ 2

ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยูเครนให้การสนับสนุนกองทัพนาซีเยอรมันของ เพื่อเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต แต่ต่อมาได้หันไปต่อต้าน เนื่องจากกองทัพนาซีเยอรมันที่ปกครองอย่างกดขี่ และ ทารุณ โดยในช่วงดังกล่าว ชาวยิวในยูเครนกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารหมู่ และ เคียฟ ถูกเผาทำลาย อย่างไรก็ดี หลังจากที่กองทัพนาซีบุกครองโปแลนด์ในปี ค.ศ.1939 ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนที่เดิมอยู่ภายใต้โปแลนด์ได้ถูกผนวกรวมกับสหภาพโซเวียต

การประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระแสชาตินิยมในยูเครนขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลต่าง ๆ ได้แก่ ความไร้ประสิทธิภาพของระบบสหภาพโซเวียต ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วสหภาพโซเวียตและการพยายามปิดบังข้อมูลของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพโซเวียตต่อกรณีการระเบิดของโรงงานปฏิกรณ์ปรมาณู Chernobyl ที่ตั้งอยู่ในยูเครนในปี ค.ศ.1986 และเมื่อประธานาธิบดีกอร์บาชอฟดำเนินนโยบายเปิดกว้างทางการเมือง ได้ส่งผลให้รัฐบาลของสหภาพโซเวียตจำเป็นต้องให้อำนาจแก่สาธารณรัฐและดินแดนปกครองตนเองต่าง ๆ มากขึ้น กระแสการเรียกร้องสิทธิที่จะปกครองตนเองในยูเครนดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง และในที่สุดยูเครนได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1991 ชาวยูเครนได้ลงประชามติให้ยูเครนประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต

การเมืองการปกครอง

บริหาร

ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้น เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยสภาสูงสุดเป็นผู้เสนอชื่อ และประธานาธิบดีเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ

นิติบัญญัติ

ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาเดียว (Unicameral) คือ สภาสูงสุด (Supreme Rada) มีสมาชิก 450 คน (เลือกตั้งโดยตรง 225 ที่นั่ง แบบสัดส่วน 225 ที่นั่ง) โดยมีการเลือกตั้งทุก ๆ 4 ปี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด มีขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2550

พรรคการเมือง

พรรคการเมือง พรรค Party of the Regions (ของนาย Viktor Yanukovych อดีต นรม. ยูเครน) พรรค Yulia Tymoshenko’s Bloc (BYuT) (ของนาง Yulia Tymoshenko อดีต นรม.) พรรค Our Ukraine-People’s Self Defense (สนับสนุน ปธน. Yushchenko) (พรรค Communist Party) พรรค Lytvyn Bloc

ตุลาการ

ฝ่ายตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา

การบังคับใช้กฎหมาย

สิทธิมนุษยชน

สถานการณ์ทางการเมือง

Leonid Kravchuk (ค.ศ. 1991-1994)

หลังการประกาศเอกราช ยูเครนได้เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยและมีการเลือกตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1991 โดยนาย Leonid Kravchuk อดีตประธานรัฐสภายูเครนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรก ประธานาธิบดี Kravchuk ได้เริ่มกระบวนการสร้างชาติ และปฏิรูประบบเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีแบบตะวันตก อย่างไรก็ดี ในภาพรวม สถานการณ์การเมืองภายในประเทศยังสับสนวุ่นวาย อาทิ การประท้วงของกลุ่มที่นิยมระบอบคอมมิวนิสต์ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มปฏิรูปเศรษฐกิจกับกลุ่มอนุรักษนิยม ความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ ปัญหาการเรียกร้องเอกราชของไครเมีย ปัญหาเงินเฟ้อและเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นต้น

Leonid Kuchma (ค.ศ. 1994-2005)

นาย Leonid Kuchma อดีตผู้อำนวยการใหญ่ของโรงงานผลิตหัวรบขีปนาวุธของสหภาพ โซเวียตที่เมืองดนีโปรเปตรอฟสค์ (Dnepropetrovsk) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 โดยได้ประกาศนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจแนวทางใหม่และการสร้างความสมดุลในการดำเนินความสัมพันธ์กับรัสเซียและตะวันตกในนโยบายต่างประเทศ ปัจจุบันนาย Kuchmaได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาแล้ว 2 สมัย และจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งลงในปี ค.ศ. 2004 ที่ผ่านมาสภาวะทางการเมืองโดยรวมมีเสถียรภาพ โดยประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศแบบเบ็ดเสร็จ การวางนโยบายและการบริหารประเทศรวมศูนย์อยู่ที่ประธานาธิบดีและบุคคลใกล้ชิด นอกจากนี้ หน่วยงานด้านความมั่นคงและกองทัพยังอยู่ภายใต้อำนาจของประธานาธิบดีด้วย อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีรายงานข่าวในทางลบเกี่ยวกับประธานาธิบดี Kuchma และคณะรัฐบาลหลายครั้ง อาทิ การฉ้อราษฎร์บังหลวง ความพยายามเสริมสร้างอำนาจของประธานาธิบดีโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ความพยายามริดรอนสิทธิของสื่อ การมีส่วนเกี่ยวข้องในการฆาตกรรมนาย Georgiy Gongadze ผู้สื่อข่าวซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ตลอดจนการอนุมัติขายระบบเรดาร์ Kolchuga ให้อิรัก อันส่งผลให้สหรัฐฯ ประกาศระงับการให้เงินช่วยเหลือจำนวน 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ยูเครน และที่ผ่านมาประชาชนยูเครนได้เคยก่อการประท้วงประธานาธิบดี Kuchma หลายครั้ง

การแบ่งเขตการปกครอง

ยูเครนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 24 จังหวัด (provinces - oblasts) 1 สาธารณรัฐปกครองตนเอง* (autonomous republic - avtonomna respublika) และ 2 เทศบาลนคร** (municipalities - misto) ได้แก่

รัฐบาล

49°N 32°E / 49°N 32°E / 49; 32