ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

Bosna i Hercegovina (บอสเนีย)
Bosne i Hercegovina (โครเอเชีย)
Bosna i Hercegovina;
Босна и Херцеговина
(เซอร์เบีย)
คำขวัญไม่มี
ที่ตั้งของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ซาราเยโว
ภาษาราชการภาษาบอสเนีย ภาษาเซอร์เบีย และภาษาโครเอเชีย
การปกครองสมาพันธรัฐ
• ประธานคณะประธานาธิบดี
เซลีโก กอมชิช
• สมาชิกประธานาธิบดี
เซลีโก กอมชิช
เชฟิก จาเฟโรวิช
มิโลรัด โดดิก
• นายกรัฐมนตรี
เดนิส ซวิสดิซ
ประวัติศาสตร์บอสเนีย 
ก่อตั้งในปี 753
753
• สมัย ออตโตมันยึดครอง
1463
1878
1918
1943
1992
1995
• ข้อตกลงเดย์ตัน ก่อตั้งสมาพันธรัฐ(ในทางพฤตินัย)
1995
พื้นที่
• รวม
51,129 ตารางกิโลเมตร (19,741 ตารางไมล์) (125)
น้อยมาก
ประชากร
• 2556 ประมาณ
3,511,372 2 (112)
• สำมะโนประชากร 2534
4,354,911
69 ต่อตารางกิโลเมตร (178.7 ต่อตารางไมล์) (90)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2562 (ประมาณ)
• รวม
$ 50.045 พันล้าน
$ 14,219
จีดีพี (ราคาตลาด) 2562 (ประมาณ)
• รวม
$ 20.720 พันล้าน
$ 5,917
จีนี (2554)33.8[1]
ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง
เอชดีไอ (2560)เพิ่มขึ้น 0.768
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 77th
สกุลเงินคอนเวร์ทีบิลนามาร์คา (BAM)
เขตเวลาUTC+1 (CEST)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+1 (CEST)
รหัสโทรศัพท์387
โดเมนบนสุด.ba

บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (อังกฤษ: Bosnia and Herzegovina; บอสเนีย: Bosna i Hercegovina) บางครั้งย่อเป็น Bosnia, BiH, БиХ เป็นประเทศบอลข่านตะวันตกที่มีภูเขามาก เมืองหลวงชื่อซาราเยโว เดิมเป็นหนึ่งในหกสาธารณรัฐของอดีตยูโกสลาเวีย ได้รับเอกราชในสงครามยูโกสลาเวียในช่วงทศวรรษ 1990 และเนื่องจากข้อตกลงเดย์ตัน จึงเป็นรัฐในอารักขาของชุมชนนานาชาติ ปกครองโดยตัวแทนระดับสูงที่เลือกโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

การเมือง

การแบ่งเขตการปกครอง

ตามข้อตกลงเดย์ตัน ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาแบ่งเขตการบริหารหลักออกเป็น

  1. รัฐอูนา-ซานา
  2. รัฐพอซาวีนา
  3. รัฐทุซลา
  4. รัฐเซนีตซา-ดอบอย
  5. รัฐบอสเนียนพอดรินเย
  6. รัฐเซนทรัลบอสเนีย
  7. รัฐเฮอร์เซโกวีนา-เนเรตวา
  8. รัฐเวสต์เฮอร์เซโกวีนา
  9. รัฐซาราเยโว
  10. รัฐเวสต์บอสเนีย
  1. เขตบันยาลูคา
  2. เขตดอบอย
  3. เขตบีเยลยีนา
  4. เขตวลาเซนีตซา
  5. เขตซาราเยโว-รอมานียา
  6. เขตฟอตชา
  7. เขตเทรบินเย
  • เขตเบิตช์โค เป็นหน่วยบริหารที่ปกครองตนเองภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นส่วนหนึ่งของทั้งสหพันธรัฐบอสเนียฯ และสาธารณรัฐเซิร์ปสกา

กองทัพ

บอสเนียมีทหารกองประจำการประมาณ 14,000 นาย โดยบอสเนียวางกำลังทหารอยู่ตามแนวป่าและชายแดนประเทศ เพื่อป้องกันประเทศของตน บอสเนียจัดกลุ่มทหารตามป่าอยู่ประมาณ 3.000-4.000 คน ส่วนชายแดนมีประมาณ 5.000-10.000 คน รถถังส่วนใหญ่ใช้รุ่น T-55 จำนวน 155 คัน และ M-60A3 จำนวน 45 รวมถึงยานเกราะลำเลียงพล M-113 ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ รถเกราะติดปืนกล55.ม.ม. ถึงบอสเนียจะมีกำลังทหารน้อย แต่ก็แข็งแกร่งมาก

ภูมิศาสตร์

ประวัติศาสตร์

ยูโกสลาเวียเดิมประกอบด้วย 6 สาธารณรัฐ กล่าวคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย โครเอเทีย เซอร์เบีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา มอนเตนิโกร และมาซิโดเนีย รวมทั้งคอซอวอและวอยวอดีนา ซึ่งเป็นจังหวัดปกครองตนเอง

ราชอาณาจักรบอสเนีย

ราชอาณาจักรบอสเนีย ก่อตั้งราวปี 753 โดยชาวบอสเนีย ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายบอสเนียนออร์ทอดอกซ์ และเข้าเป็นสมาชิกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จนถึงปี 1463 ชาวบอสเนียเริ่มหันเข้ารับอิสลาม และรวมชาติเข้ากับ จักรวรรดิออตโตมัน ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์หมดสิทธิปกครองบอสเนียต่อไป

ราชอาณาจักรบอสเนีย

สมัยออตโตมัน(1463-1887)

จักรวรรดิออตโตมันได้รวมบอสเนียเป็นแคว้นของจักรวรรดิบอสเนีย คล้ายกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์หรือจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เช่นเดียวกับเซอร์เบีย และดินแดนอื่นๆใกล้เคียง

ปฏิวัติบอสเนียใหญ่และความพยายามประกาศเอกราชจากออตโตมัน

ในปี1831 ดินแดนเอยาเลต์แห่งบอสเนียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองของออตโตมันได้ก่อการกำเริบที่เรียกว่าGreat Bosnian Uprising ภายใต้การนำของHusein Gradaščević หรือฉายานาม มังกรแห่งบอสเนีย(Zmaj od Bosne) การต่อสู้ดุเดือด ในปี1833 ออตโตมันก็สามารถยึดซาราเยโวกลับมาได้ แต่ก็ต้องเสียการควบคุมประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ที่มีการก่อจลาจลและการปฏิวัติเพื่อเอกราชมากมาย ตามเมือง ตามป่าตามเขา ในหลายจุดทั่วดินแดน กระตุ้นชาตินิยมที่ไม่เฉพาะบอสเนียแต่รวม เซอร์เบีย บัลกาเรีย มอนเตเนโกร และ โรมาเนีย การต่อสู้ทำให้เกิดเหตุที่เรียกว่า การกำเริบในเฮอร์เซโกวีนา(Herzegovina uprising)ในปี1852-1862 และ ในปี1875-1877 และกลายมาเป็น ส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่เรียกว่า Great Eastern Crisisหรือวิกฤตตะวันออกครั้งใหญ่ ที่ออตโตมันยอมถอยออกจากบอสเนีย

วิกฤตตะวันออกครั้งใหญ่ระหว่างฝ่ายสันนิบาตบอลข่านกับออตโตมัน

ดินแดนปกครองร่วมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา(1887-1918)

เพิ่มเติมในดินแดนใต้การปกครองร่วมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

ราชวงศ์ฮับสบูร์ก ได้ประชุมร่วมกับ กลุ่มมุขมนตรีบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา หลังในปี1878 ออสเตรียมีบทบาทมากในการช่วยบอสเนียต่อสู้กับออตโตมัน คณะรัฐบาลจึงเชิญ จักรพรรดิแแห่งออสเตรียขึ้นเป็นประมุขของประเทศ และ ได้ผนวกดินแดนรวมกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เป็นประเทศองค์ประกอบ เหมือนกับ ราชอาณาจักรโบเฮเมีย หรือ ราชอาณาจักรโมราเวีย. ราชอาณาจักรบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาของราชวงศ์ฮับสบูร์กสิ้นสุดลงหลังการพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่1

ตึกแถวในซาราเยโว ในยุคที่ราชวงศ์ฮับสบูร์กปกครอง

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย(1918-1943)

เพิ่มเติมในราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียก่อตั้งขึ้นโดยการรวมตัวของรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นและราชอาณาจักรเซอร์เบียที่เป็นราชอาณาจักรอิสระ ราชอาณาจักรมอนเตเนโกรตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของเซอร์เบียก่อนหน้านั้นแล้ว ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียล้มสลายเมื่อ กองทัพนาซีเยอรมันบุกยูโกสลาเวีย

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย(1943-1992)

เพิ่มเติมในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย

ในป1943 พรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวียก็สามารถปลดปล่อยยุโกสลาเวียได้ ภายใต้การนำของ ยอซีป บรอซ ตีโต ในปี1991 มาซิโดเนีย โครเอเชียและสโลเวเนีย แยกประเทศ และในปี1992 เมื่อบอสเนียและเซอร์เบียแตกคอและทำสงครามกัน เนื่องจากบอสเนียไม่พอใจที่เซอร์เบียรุกรานโครเอเชีย ทำให้ยุโกสลาเวียล้มสลาย และเกิดสงครามยูโกสลาเวีย

สงครามกลางเมืองบอสเนีย(1992-1995)

ไฟล์:Evstafiev-sarajevo-building-burns.jpg
รัฐสภาของอดีตยูโกสลาเวียถูกกองกำลังเซอร์เบียถล่ม

เพิ่มเติมในสงครามบอสเนีย

สงครามบอสเนีย หรือ สงครามกลางเมืองบอสเนีย เป็นสงครามความขัดแย้งชาติพันธุ์ระหว่างชาวโครแอต ชาวเซิร์บ และชาวบอสเนียซึ่งเป็นชาวมุสลิม สงครามปะทุในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1992 เมื่อชาวเซิร์บได้ก่อจลาจลเพื่อแยกตัวเป็นอิสระ ในขณะเดียวกันชาวโครแอตก็แยกดินแดนเป็นอิสระเช่นเดียวกัน ในช่วงสัปดาห์เดียวบอสเนียเกือบทั้งประเทศกลายเป็นทะเลเพลิง สงครามขยายวงกว้างไม่เว้นแต่กรุงซาราเยโว เมืองหลวงของบอสเนีย

เศรษฐกิจ

ประชากร

ประเทศบอสเนียมีประชากรประมาณ 3790000 คน โดยแบ่งเป็น ชาวบอสเนีย 50.11% ชาวเซิร์บ 30.78% ชาวโครแอต 15.43%[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

  1. "Bosnia and Herzegovina". World Bank.
  2. "Bosnia and Herzegovina: largest cities and towns and statistics of their population". World Gazetteer.