ข้ามไปเนื้อหา

ประวัติศาสตร์ลับของชาวมองโกล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประวัติศาสตร์ลับชาวมองโกล
ผู้ประพันธ์ไม่ทราบ
ชื่อเรื่องต้นฉบับᠮᠣᠩᠭᠣᠯ ᠤᠨ
ᠨᠢᠭᠤᠴᠠ
ᠲᠣᠪᠴᠢᠶᠠᠨ
ประเทศจักรวรรดิมองโกล
ภาษามองโกลกลาง
หัวเรื่องประวัติศาสตร์จักรวรรดิมองโกล
วันที่พิมพ์ปีชวดปีหนึ่งในศตวรรษที่ 13 (ราวปี 1228/1229, 1240, 1252, 1264)

ประวัติศาสตร์ลับของชาวมองโกล (Mongolian: ᠮᠣᠩᠭᠣᠯ ᠤᠨ
ᠨᠢᠭᠤᠴᠠ
ᠲᠣᠪᠴᠢᠶᠠᠨ
Mongɣol‑un niɣuca tobciyan, มองโกลฮัลฮา: Монголын нууц товчоо, Mongoliin nuuts towchoo; จีน: 蒙古秘史; พินอิน: Měnggǔ Mìshǐ) เป็นวรรณกรรมภาษามองโกลที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ประพันธ์ขึ้นให้กับราชวงศ์มองโกลหลังเจงกิส ข่านเสียชีวิตในปี 1227 เนื้อหาในหนังสือบอกเล่าเรื่องราวชีวิตและการพิชิตของเจงกิส ข่าน รวมถีงการครองราชย์ของโอเกเดย์ ข่าน

ต้นฉบับของหนังสือเขียนด้วยภาษามองโกลกลางโดยใช้อักษรมองโกล หนังสือนี้ไม่เป็นที่ทราบว่าผู้เขียนคือใคร เช่นเดียวกับปีที่ประพันธ์ ทราบแต่เพียงว่าเขียนแล้วเสร็จในปีชวดที่ริมแม่น้ำแฮร์เลนในอาวาร์กา ซึ่งตรงกับปี 1228 เป็นอย่างน้อย[1]

เนื้อหาของหนังสือยังปรากฏบางส่วนในฐานะรากฐานของพงศาวดารอื่น เช่น Jami' al-tawarikh, Shengwu qinzheng lu และ Altan Tobchi ส่วนฉบับเต็มภาษามองโกลหลงเหลือเป็นฉบับที่ผลิตในราวปี 1400 ช่วงต้นราชวงศ์หมิง และมีการปริวรรติอักษรเป็นอักษรจีนเพื่อให้ง่ายต่อการแปล[1] ภายใต้ชื่อ ประวัติศาสตร์ลับของราชวงศ์หยวน (จีน: 元朝秘史; พินอิน: Yuáncháo Mìshǐ) ราวสองในสามของเนื้อหายังปรากฏในรุ่นที่มีเนื้อความต่างกันเล็กน้อยในพงศาวดารมองโกล Altan Tobchi (แปลว่า สุวรรณพงศาวดาร) จากศตวรรษที่ 17 ผลงานของ Lubsang-Danzin

หนังสือนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นบันทึกเรื่องราวของเจงกิส ข่านในภาษามองโกลต้นฉบับที่สำคัญที่สุดชิ้นเดียว ในแง่ของภาษาศาสตร์ ยังเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในฐานะตัวอย่างภาษาก่อนมองโกลคลาสสิก และ มองโกลกลาง[2] ในประเทศมองโกเลียถือว่าวรรณกรรมนี้เป็นวรรณกรรมคลาสสิก และยังมีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 40 ภาษาในปัจจุบัน[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 The Secret History of the Mongols. Penguin Classics. แปลโดย Atwood, Christopher Pratt. Dublin: Penguin Books. 2023. ISBN 978-0-241-19791-2.
  2. Rachewiltz, Igor de (2004). Secret History of the Mongols: A Mongolian Epic Chronicle of the Thirteenth Century. Brill. p. xxvi. ISBN 978-90-04-13159-0.
  3. "Г.Билгүүдэй: "Монголын нууц товчоо"-г 30 гаруй оронд, 40 гаруй хэл рүү орчуулсан". www.unuudur.mn (ภาษามองโกเลีย). 2023-07-28. สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.