ประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ค.ศ. 1986–2013)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน กุนซือผู้ยิ่งใหญ่ผู้คุมทีมระหว่างปี 1986-2013

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 ที่ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด จนถึงปี ค.ศ. 2013 เมื่อเขาประกาศเกษียณจากวงการฟุตบอล นับว่าประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสร เฟอร์กูสันเข้าร่วมสโมสรในวันเดียวกับที่ รอน แอตกินสัน ถูกปลดออก[1] และนำสโมสรไปสู่การจบอันดับที่ 11 ในลีก[2] แม้จะจบอันดับสองในฤดูกาล 1987-88 สโมสรก็กลับมาอยู่ในอันดับที่ 11 ในฤดูกาลถัดมา[3] มีรายงานว่าเฟอร์กูสันใกล้จะถูกปลดออก ชัยชนะเหนือคริสตัลพาเลซ ใน เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ ปี 1990 นัดรีเพลย์ (หลังจากเสมอ 3-3 ในนัดแรก) ช่วยเซฟอาชีพการงานของเฟอร์กูสันไว้ได้[4][5] ในฤดูกาลถัดมา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด คว้าแชมป์ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพเป็นครั้งแรกชัยชนะครั้งนี้ทำให้สโมสรสามารถแข่งขันในยูโรเปียนซูเปอร์คัพได้เป็นครั้งแรกโดยที่ยูไนเต็ดเอาชนะเรดสตาร์เบลเกรด แชมป์ ยูโรเปียนคัพ 1-0 ที่ โอลด์แทรฟฟอร์ด การเข้าชิงชนะเลิศ ลีกคัพ ครั้งที่ 2 ติดต่อกันในปี ค.ศ. 1992 ทำให้สโมสรคว้าแชมป์เป็นครั้งแรกเช่นกัน หลังจากเอาชนะ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 1-0 ที่ สนามเวมบลีย์[6] ในปี 1993 สโมสรคว้าแชมป์ลีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 และอีกหนึ่งปีต่อมา เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ที่สโมสรคว้าแชมป์ลีกติดต่อกันเป็นครั้งที่สอง ควบคู่ไปกับเอฟเอ คัพ ได้สำเร็จเป็น "ดับเบิ้ลแชมป์" ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร[6] จากนั้นยูไนเต็ดก็กลายเป็นสโมสรฟุตบอลจากอังกฤษทีมแรกที่ได้ดับเบิลแชมป์ถึง 2 ครั้งเมื่อพวกเขาชนะการแข่งขันทั้งสองรายการอีกครั้งในฤดูกาล 1995-96[7] ก่อนที่จะรักษาตำแหน่งแชมป์ลีกได้อีกครั้งในฤดูกาล 1996-97[8]

ฤดูกาล 1998–99 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ เนื่องจากพวกเขากลายเป็นทีมแรกที่คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก เอฟเอ คัพ และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก - "สามแชมป์" - ในฤดูกาลเดียวกัน[9] โดนนำไปก่อน 1-0 จนถึงช่วงทดเวลาบาดเจ็บใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 1999 เท็ดดี เชอริงแฮม และ โอเล กุนนาร์ โซลชา ยิงประตูในช่วงท้ายเกมคว้าชัยชนะเหนือ บาเยิร์นมิวนิค ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในการคัมแบ็กที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[10][11] ปีศาจแดงกลายเป็นทีมจากอังกฤษเพียงทีมเดียวที่เคยคว้าแชมป์ อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ ได้หลังจากเอาชนะ พัลไมรัส จากบราซิล 1-0 ที่โตเกียว[12] ต่อมาเฟอร์กูสันได้รับตำแหน่งอัศวินมียศเป็นเซอร์ กลายเป็น เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน จากการรับใช้วงการฟุตบอลของเขา[13]

การมาถึงของอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน 1986–1992[แก้]

อเล็กซ์ เฟอร์กูสันเข้าร่วมทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจากแอเบอร์ดีนเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่รอน แอตกินสันผู้จัดการทีมคนก่อนถูกปลดออกจากตำแหน่ง และเขาก็เริ่มสร้างระบบเยาวชนของสโมสรขึ้นมาใหม่ทันที ในนัดแรกของเฟอร์กูสันที่คุมทีม ทีมแพ้ 0–2 ให้กับออกซฟอร์ดยูไนเต็ด ชัยชนะนัดแรกของเขาเกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 โดยเอาชนะควีนส์พาร์กเรนเจอส์ 1–0 ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด ในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ผลงานก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในวันบ็อกซิ่งเดย์ปี ค.ศ. 1986 ทีมเอาชนะลิเวอร์พูล แชมป์ลีกฤดูกาลที่แล้ว 1–0 ที่แอนฟีลด์ ซึ่งเป็นชัยชนะเกมเยือนนัดเดียวของสโมสรในฤดูกาลนี้ และเป็นความพ่ายแพ้ในบ้านนัดเดียวของฤดูกาลสำหรับเจ้าบ้าน ผลงานที่ดีของยูไนเต็ดยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งฤดูกาล แม้จะไม่มีการเซ็นสัญญาผู้เล่นใหม่เข้าสู่สโมสรก็ตาม และพวกเขาจบอันดับที่ 11 ในดิวิชัน 1 โดยที่เอฟเวอร์ตันได้แชมป์ และลิเวอร์พูลได้รองแชมป์ ซึ่งแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของฟุตบอลอังกฤษโดยสโมสรจากเมอร์ซีย์ไซด์ในเวลานั้น

ซัมเมอร์นั้น เฟอร์กูสันเซ็นสัญญาคว้าผู้เล่น 2 คนแรกในยุคของเขา คนแรกคือวิฟ แอนเดอร์สัน กองหลังประสบการณ์สูงของอาร์เซนอล คนที่สองคือไบรอัน แมคแคลร์ กองหน้าจอมถล่มประตูของเซลติก

อ้างอิง[แก้]

  1. Barnes et al. (2001), p. 21
  2. Barnes et al. (2001), p. 148
  3. Barnes et al. (2001), pp. 148–9
  4. "Arise Sir Alex?". BBC News. 27 May 1999. สืบค้นเมื่อ 2 April 2010.
  5. Bevan, Chris (4 November 2006). "How Robins saved Ferguson's job". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2 April 2010.
  6. 6.0 6.1 Barnes et al. (2001), pp. 20–1
  7. Bloomfield, Craig (4 May 2017). "Clubs ranked by the number of times they have claimed trophy doubles".
  8. "Golden years: The tale of Manchester United's 20 titles". BBC Sport. 22 April 2013.
  9. "United crowned kings of Europe". BBC Sport. 26 May 1999. สืบค้นเมื่อ 22 June 2010.
  10. "Champions League: Greatest comebacks in football, Liverpool, Barcelona, Manchester United, AC Milan". Fox Sports. 8 May 2019. สืบค้นเมื่อ 15 October 2020.
  11. "6 of the greatest Champions League comebacks". Yahoo Sport. 11 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 October 2020.
  12. Magnani, Loris; Stokkermans, Karel (30 April 2005). "Intercontinental Club Cup". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
  13. Hughes, Rob (8 March 2004). "Ferguson and Magnier: a truce in the internal warfare at United". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.