ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ประธานคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |
---|---|
中国共产党中央委员会主席 (จีน) | |
![]() | |
![]() | |
คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |
การเรียกขาน | ประธาน (主席) (ไม่เป็นทางการ) สหาย (同志) (ทางการ) |
สมาชิกของ | คณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง |
รายงานต่อ | คณะกรรมาธิการกลาง |
ที่ว่าการ | จงหนานไห่ ปักกิ่ง ประเทศจีน |
ผู้เสนอชื่อ | คณะกรรมาธิการกลาง |
ผู้แต่งตั้ง | คณะกรรมาธิการกลาง |
วาระ | 5 ปี ต่ออายุได้ |
ตราสารจัดตั้ง | ธรรมนูญพรรค |
ตำแหน่งก่อนหน้า | เลขาธิการ (1921–1943) |
สถาปนา | 20 มีนาคม 1943 |
คนแรก | เหมา เจ๋อตง |
คนสุดท้าย | หู เย่าปัง |
ยกเลิก | 1 กันยายน 1982 |
รอง | รองประธาน (1956–1982) |
ประธานคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 中国共产党中央委员会主席 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 中國共產黨中央委員會主席 | ||||||
| |||||||
โดยทั่วไปมักย่อว่า | |||||||
ภาษาจีน | 中共中央主席 | ||||||
|
ประธานคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (จีน: 中国共产党中央委员会主席; พินอิน: Zhōngguó Gòngchǎndǎng Zhōngyāng Wěiyuánhuì Zhǔxí) คือผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตำแหน่งดังกล่าวได้รับการสถาปนาขึ้นในการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 8 ใน ค.ศ. 1945 และถูกยกเลิกใน การประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 12 ใน ค.ศ. 1982 โดยถูกแทนที่ด้วยตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ ตำแหน่งที่มีชื่อว่าประธานคณะกรรมาธิการบริหารกลางและประธานคณะกรรมาธิการกลางเคยมีอยู่ในช่วง ค.ศ. 1922–1923 และ ค.ศ. 1928–1931 ตามลำดับ[1]
ประวัติ
[แก้]ภูมิหลัง
[แก้]หลังการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เฉิน ตู๋ซิ่ว ผู้นำคนแรกของพรรค ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมถึงเลขาธิการสำนักงานกลาง ประธานคณะกรรมาธิการบริหารกลาง (จีน: 中央执行委员会委员长) และเลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลาง[2] ระหว่างวันที่ 11 ถึง 22 มกราคม ค.ศ. 1925 การประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 4 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ออกข้อมติ 11 ฉบับ รวมถึงการแก้ไขธรรมนูญของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อสรุปประสบการณ์การปฏิวัติที่ได้รับในช่วงแนวร่วมครั้งแรก ประธานคณะกรรมาธิการบริหารกลางได้รับการแต่งตั้งใหม่เป็นเลขาธิการใหญ่ และเฉิน ตู๋ซิ่วได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการใหญ่ของคณะกรรมาธิการกลางและผู้อำนวยการกรมองค์การกลาง[3]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1935 ระหว่างการเดินทัพทางไกลของกองทัพแดง เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับเส้นทางเดินทัพต่อไปของกองทัพ หลังกองทัพแดงแนวหน้าที่หนึ่ง และกองทัพแดงแนวหน้าที่สี่ มาบรรจบกันที่เมืองเหมากง เหมา เจ๋อตงสั่งการให้ส่วนหนึ่งของกองทัพแดงแนวหน้าที่หนึ่งมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปยังฉ่านซี ขณะที่จาง กั๋วเทาสั่งการกองทัพแดงแนวหน้าที่สี่มุ่งหน้าลงใต้ไปยังเสฉวน[4] วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1935 จางก่อตั้ง "คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน" ที่แยกออกมา (ในประวัติศาสตร์เรียกว่า "คณะกรรมาธิการกลางชุดที่สอง") ในจัวมู่เตียว อำเภอหมาเอ่อร์คัง มณฑลเสฉวน จางได้รับแต่งตั้งเป็น "ประธานคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน" ถือเป็นการปรากฏขึ้นครั้งแรกของตำแหน่ง "ประธานคณะกรรมาธิการกลาง" ภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน[5] อย่างไรก็ตาม ภายใต้อิทธิพลขององค์การคอมมิวนิสต์สากล (โคมินเทิร์น) และคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน จางถูกบังคับให้ยุบคณะกรรมาธิการกลาง "ชุดที่สอง" ของเขา[6] วันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1936 จางประกาศยุบ "คณะกรรมาธิการกลางชุดที่สอง" อย่างเป็นทางการและลาออกจากตำแหน่ง "ประธานพรรค" ตำแหน่งที่ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน[7] เหมา เจ๋อตงเป็นประธานคณะกรรมาธิการกลางคนแรกที่ได้รับการยอมรับจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน"[8]
การสถาปนา
[แก้]เพื่อป้องกันการแตกแยกเพิ่มเติมภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน กรมการเมืองได้ประชุมกันในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1943 และมีมติให้สำนักเลขาธิการประกอบด้วย เหมา เจ๋อตง, หลิว เช่าฉี และเหริน ปี้ฉือ โดยเหมาดำรงตำแหน่งประธานทั้งกรมการเมืองและสำนักเลขาธิการ นอกเหนือจากการเป็นผู้นำโรงเรียนส่วนกลางพรรค (Central Party School) ด้วย[9] ในฐานะผู้มาแทนที่เขา เหมาซึ่งเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของพรรคมาตั้งแต่การเดินทัพทางไกลได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานกรมการเมืองแห่งคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (จีน: 中国共产党中央政治局主席) การประชุมสภาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 7 นำตำแหน่ง ประธานคณะกรรมาธิการกลาง เข้าสู่ธรรมนูญพรรค และใน ค.ศ. 1956 เลขาธิการใหญ่ได้รับมอบหมายให้บริหารงานสำนักเลขาธิการประจำวัน[10]
ประธานได้รับการเลือกตั้งโดยคณะกรรมาธิการกลางในการประชุมเต็มคณะและมีอำนาจเต็มเหนือคณะกรรมาธิการกลาง กรมการเมือง และคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง ธรรมนูญพรรค ค.ศ. 1956 กำหนดตำแหน่งรองประธานหลายคนขึ้น ตั้งแต่ ค.ศ. 1945 สมาชิกของสำนักเลขาธิการได้ปฏิบัติหน้าที่เสมือนรองประธานอยู่แล้ว หลิว เช่าฉีเป็นรองประธานที่มีตำแหน่งสูงสุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 ถึง 1966[11]
ธรรมนูญพรรคคอมมิวนิสต์จีน ค.ศ. 1969 (รับรองโดยการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 9) กำหนดตำแหน่งรองประธานเพียงคนเดียว เพื่อมอบอำนาจมากขึ้นให้แก่หลิน เปียวในฐานะผู้สืบทอดตำแหน่งของเหมา รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 (รับรองโดยการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 10) นำระบบรองประธานหลายคนกลับมาใช้ใหม่ ใน ค.ศ. 1976 ฮฺว่า กั๋วเฟิงได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานคนแรกของคณะกรรมาธิการกลาง ตำแหน่งที่ก่อนหน้านี้หลิว เช่าฉีเคยดำรงโดยไม่เป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 1956 ถึง 1966 โจว เอินไหลตั้งแต่ ค.ศ. 1973 ถึง 1975 และเติ้ง เสี่ยวผิงใน ค.ศ. 1975 ในฐานะ "รองประธานผู้รับผิดชอบงานประจำวันของคณะกรรมาธิการกลาง"[12]
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1975 เสริมสร้างอิทธิพลของพรรคที่มีต่อรัฐ สภากลาโหมประเทศแห่งชาติถูกยุบ มาตรา 15 กำหนดให้ประธานเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพปลดปล่อยประชาชน ("ประธานคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้นำกองทัพทั้งหมดของประเทศ")"[13]
การยุบเลิก
[แก้]แม้ฮฺว่า กั๋วเฟิงจะสืบทอดตำแหน่งประธานพรรคต่อจากเหมา แต่ภายใน ค.ศ. 1978 เขาก็เสียอำนาจให้กับรองประธานเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้ซึ่งในขณะนั้นได้กลายเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของจีน ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนปรารถนาจะป้องกันไม่ให้ผู้นำคนเดียวผงาดขึ้นมาอยู่เหนือพรรค เหมือนที่เหมาได้เคยทำ[14]
วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1982 พรรคคอมมิวนิสต์จีนจัดการประชุมใหญ่ครั้งที่ 12 ซึ่งในระหว่างการประชุมได้มีมติแก้ไขธรรมนูญของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพื่อยกเลิกตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกลาง โดยคงไว้เพียงบทบาทของเลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลาง[14] และมีมติกำหนดว่าหน้าที่รับผิดชอบของเลขาธิการใหญ่จะรวมถึงการเรียกประชุมกรมการเมืองขคณะกรรมาธิการกลางและคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง รวมถึงการเป็นประธานในการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการกลาง[15] หู เย่าปัง ประธานพรรคคนสุดท้ายของพรรคได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่[16]
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน
[แก้]ประธานคณะกรมการเมืองกลาง
[แก้]ภาพ | ชื่อ (เกิด–เสียชีวิต) |
การดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง | ||
---|---|---|---|---|---|
เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ระยะเวลา | |||
![]() |
เหมา เจ๋อตง (1893–1976) |
20 มีนาคม 1943 | 19 มิถุนายน 1945 | 2 ปี 91 วัน | [17] |
ประธานคณะกรรมาธิการกลาง
[แก้]ภาพ | ชื่อ (เกิด–เสียชีวิต) |
การดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง | ||
---|---|---|---|---|---|
เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ระยะเวลา | |||
![]() |
เหมา เจ๋อตง (1893–1976) |
19 มิถุนายน 1945 | 9 กันยายน 1976 † | 31 ปี 82 วัน | [18] |
![]() |
ฮฺว่า กั๋วเฟิง (1921–2008) |
7 ตุลาคม 1976 | 28 มิถุนายน 1981 | 4 ปี 264 วัน | [19][20] |
![]() |
หู เย่าปัง (1915–1989) |
29 มิถุนายน 1981 | 11 กันยายน 1982 | 1 ปี 74 วัน | [21] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 第一代中央领导集体的形成 (ภาษาจีน). 群众出版社. 2001. p. 596. ISBN 978-7-5014-2494-8. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 中国共产党. 报刊资料选汇 (ภาษาจีน). 中国人民大学书报资料社. 2008. p. 139. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 中国共产党建设大辞典 [The Great Dictionary of the Construction of the Chinese Communist Party] (ภาษาจีน). 四川人民出版社. 1991. p. 617. ISBN 978-7-220-01279-2. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 長征, 長征: 从闽西北到陕北 [Long March, Long March: From Northwest Fujian to Northern Shaanxi] (ภาษาจีน). Fujian Education Press. 2006. p. 308. ISBN 978-7-5334-3221-8. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 聚焦主席台: 问鼎天下 (1921-1949) [Focus on the Podium: Achieving World Domination (1921-1949)] (ภาษาจีน). 湖南人民出版社. 2004. p. 283. ISBN 978-7-5438-3720-1. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 大运筹: 共和国元帅重大决策 [Grand Operations: Major Decisions of the Marshal of the Republic] (ภาษาจีน). 中共中央党校出版社. 1999. p. 262. ISBN 978-7-5035-1905-5. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 马背上的共和国 [The Republic on Horseback] (ภาษาจีน). 解放军出版社. 2005. p. 380. ISBN 978-7-5065-4758-1. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 马克思主义中国化研究文稿 [Research Papers on the Sinicization of Marxism]. 中国社会科学院马克思主义中国化优势学科成果系列 (ภาษาจีน). 社会科学文献出版社. 2018. p. 1-PT557. ISBN 978-7-5201-1611-4. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 民主革命时期中共历届中央领导集体述评 [A Review of the CCP Central Leadership Groups during the Democratic Revolution] (ภาษาจีน). 中共党史出版社. 2007. p. 37. ISBN 978-7-80199-529-2. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 中共党史文摘年刊/1990年 [Chinese Communist Party History Digest Yearbook 1990] (ภาษาจีน). 中共党史出版社. 1994. p. 76. ISBN 978-7-80023-755-3. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 毛泽东的民主新路及现代性困境 [Mao Zedong's New Path to Democracy and the Dilemma of Modernity] (ภาษาจีน). Global Publishing. 2009. p. 61. ISBN 978-981-320-557-4. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 中華人民共和國國務院公報 [Gazette of the State Council of the People's Republic of China] (ภาษาจีน). 中華人民共和國國務院秘書廳. 1997. p. 178. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 中华人民共和国国家机构通览 [Overview of National Institutions of the People's Republic of China] (ภาษาจีน). 中国民主法制出版社. 1998. p. 21. ISBN 978-7-80078-356-2. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 14.0 14.1 中华人民共和国政治制度 [Political system of the People's Republic of China] (ภาษาจีน). Shanghai People's Press. 2005. p. 548. ISBN 978-7-208-05566-7. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 中国共产党组织工作辞典 [Dictionary of Organizational Work of the Chinese Communist Party] (ภาษาจีน). 党建读物出版社. 2001. p. 92. ISBN 978-7-80098-415-0. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 中国共产党历次全国代表大会: 从一大到十七大 [The National Congresses of the Chinese Communist Party: From the First to the Seventeenth] (ภาษาจีน). 中共党史出版社. 2008. p. 54. ISBN 978-7-80199-854-5. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 战时国际关系 [International Relations during War] (ภาษาจีน). 社会科学文献出版社. 2011. p. 434. ISBN 978-7-5097-2216-9. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 光輝的七十年 [Seventy Glorious Years] (ภาษาจีน). 中国人民大学出版社. 1991. p. 1248. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 中共十一屆三中全會以來中央首要講話及文件選編 [A Selection of Important Speeches and Documents of the Central Committee since the Third Plenary Session of the 11th CCP Central Committee]. 中共十一屆三中全會以來中央首要講話及文件 選編 (ภาษาจีน). 中共硏究雜誌社. 1983. p. 848. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 中国共产党六十年 [Sixty Years of the Chinese Communist Party] (ภาษาจีน). 解放军出版社. 1984. p. 720. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.
- ↑ 中国政治制度史 [History of China's Political System] (ภาษาจีน). 浙江古籍出版社. 1986. p. 536. ISBN 978-7-80518-000-7. สืบค้นเมื่อ 2025-02-17.