ประตูชัย (เปียงยาง)
![]() ประตูชัยมองจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ | |
![]() | |
ที่ตั้ง | เปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ |
---|---|
วัสดุ | หินแกรนิตขาว |
ความกว้าง | 50 เมตร (160 ฟุต) |
ความสูง | 60 เมตร (200 ฟุต) |
การเปิด | 15 เมษายน ค.ศ. 1982 |
อุทิศแด่ | การต่อต้านญี่ปุ่นของคิม อิล-ซ็อง |
ประตูชัย | |
โชซ็อนกึล | 개선문 |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Gaeseonmun |
เอ็มอาร์ | Kaesŏnmun |
ประตูชัย (เกาหลี: 개선문; ฮันจา: 凱旋門; เอ็มอาร์: Kaesŏnmun; แคซ็อนมุน) เป็นประตูชัยในกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงการต่อต้านญี่ปุ่นของเกาหลีตั้งแต่ ค.ศ. 1925 ถึง 1945 เป็นประตูอนุสรณ์ที่สูงเป็นอันดับสองของโลก รองจากอนุสรณ์สถานแห่งการปฏิวัติในเม็กซิโก โดยมีความสูง 60 เมตร (197 ฟุต) และกว้าง 50 เมตร (164 ฟุต)[1]
สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1982 บนจัตุรัสชัยชนะกลับคืน ณ เชิงเขาโมรัน (모란봉) ในกรุงเปียงยาง เมืองหลวงของประเทศเกาหลีเหนือ เพื่อเป็นเกียรติแก่บทบาทของคิม อิล-ซ็องในการต่อต้านทางทหารเพื่อเอกราชของเกาหลี เปิดตัวในโอกาสวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 70 ปีของเขา หินแกรนิตสีขาวขัดแต่งอย่างประณีตแต่ละก้อนจากทั้งหมด 25,500 ก้อนนั้นแสดงถึงแต่ละวันในชีวิตของเขาจนถึงจุดนั้น[2]
การออกแบบ
[แก้]ประตูชัยนี้จำลองมาจากอาร์กเดอทรียงฟ์ในปารีส แต่สูงกว่า 10 เมตร (33 ฟุต) ประตูมีห้องหลายสิบห้อง ราวระเบียง ชานชมวิว และลิฟต์ นอกจากนี้ยังมีทางเข้าซุ้มโค้งสี่ทาง แต่ละทางสูง 27 เมตร (89 ฟุต) ตกแต่งด้วยดอกอาซาเลียแกะสลักบริเวณส่วนโค้ง บนประตูมีการสลักบทเพลงสรรเสริญการปฏิวัติ "เพลงของนายพลคิม อิล-ซ็อง" และปี ค.ศ. 1925 ซึ่งเป็นปีที่ประวัติศาสตร์เกาหลีเหนือระบุว่าคิมเริ่มต้นการเดินทางเพื่อปลดปล่อยประเทศจากการปกครองของญี่ปุ่น[3] บนประตูยังมีการแสดงปี ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นปีที่เกาหลีได้รับการปลดปล่อย
ประตูจะสว่างไสวในเวลากลางคืนและมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลทรงกระบอกเดี่ยวของตัวเองในกรณีไฟฟ้าหลักดับ
แกลเลอรี
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]- สถาปัตยกรรมเกาหลี
- การท่องเที่ยวในประเทศเกาหลีเหนือ
- หอคอยชูเช
- พื้นที่ปฏิวัติแคซ็อน
- อนุสาวรีย์ก่อตั้งพรรค
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ "Guide to Pyongyang". เดอะพีเพิลส์โคเรีย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-27. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
- ↑ แมกคอร์แม็ก, เกเวิน, Target North Korea: Pushing North Korea to the Brink of Nuclear Catastrophe, p. 59. เนชันบุก, 2004, ISBN 1-56025-557-9.
- ↑ จัสติน คอร์ฟีลด์ (กรกฎาคม 2013). Historical Dictionary of Pyongyang. แอนเท็มเพรส. pp. 9–. ISBN 978-0-85728-234-7.
อ้างอิง
[แก้]- สำนักข่าวกลางเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี. ลิงก์ – เข้าถึงล่าสุดเมื่อ 19 มกราคม 2006