ประกาศนียบัตรวิชาชีพซิสโก้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประกาศนียบัตรวิชาชีพซิสโก้[1][2][3] (อังกฤษ: Cisco Career Certifications) คือประกาศนียบัตรวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผลิตภัณฑ์ของซิสโก้ (Cisco) ซึ่งทำงานเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ระดับได้แก่ ระดับแรกเข้า (entry-level) ระดับผู้ร่วมงาน (associate) ระดับมืออาชีพ (professional) ระดับผู้เชี่ยวชาญ (expert) และระดับผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (specialist)

ปัจจุบันการทดสอบเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรนี้จัดการดูแลโดยบริษัทเพียร์สันวิว (Pearson VUE) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งก่อนหน้านี้จัดการดูแลโดยบริษัทโพรเมทริก (Prometric) ของสหรัฐอเมริกาจนถึงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประกาศนียบัตรตามสายงาน[แก้]

ตารางด้านล่างนี้แสดงชื่อการทดสอบที่แตกต่างกันสำหรับสายงานต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกาศนียบัตรระดับผู้เชี่ยวชาญพิเศษจะไม่นำมาแสดงไว้ในตารางนี้

สายงาน ระดับแรกเข้า ระดับผู้ร่วมงาน ระดับมืออาชีพ ระดับผู้เชี่ยวชาญ
การเปลี่ยนและย้ายเส้นทางข้อมูล CCENT CCNA CCNP CCIE Routing & Switching
การออกแบบเครือข่าย CCENT CCNA / CCDA CCDP CCDE
การรักษาความปลอดภัย CCENT CCNA Security CCSP CCIE Security
ผู้ให้บริการเครือข่าย CCENT CCNA CCIP CCIE Service Provider
เครือข่ายเพื่อการสำรองข้อมูล CCENT CCNA CCNP CCIE Storage Networking
เครือข่ายเสียง CCENT CCNA Voice CCVP CCIE Voice
เครือข่ายไร้สาย CCENT CCNA Wireless CCWP CCIE Wireless

ระดับแรกเข้า[แก้]

CCENT[แก้]

ระบบประกาศนียบัตรของซิสโก้เริ่มจากระดับแรกเข้าด้วยการทดสอบ CCENT (Cisco Certified Entry Networking Technician) ครอบคลุมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่าย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับแนวคิดระดับเทคนิคของการรักษาความปลอดภัย เครือข่ายเสียง หรือเครือข่ายไร้สายของซิสโก้ แต่จะเป็นการทดสอบทักษะในระดับผู้ช่วยดูแลเครือข่าย ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร CCENT จะมีความรู้และทักษะในการติดตั้ง จัดการ บำรุงรักษา และแก้ปัญหาเครือข่ายสำหรับองค์กรขนาดเล็ก รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย

เพื่อที่จะได้รับการรับรอง CCENT ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการอบรม ICND1 (Interconnecting Cisco Networking Devices Part 1) เป็นระยะเวลา 5 วันตามหลักสูตรโดยตัวแทนศูนย์การอบรมของซิสโก้ และการฝึกฝนบนเว็บ 40 ชั่วโมง แล้วทำข้อสอบชุด "640-822 ICND1" ให้ผ่านเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร เป็นอันเสร็จสิ้น

ระดับผู้ร่วมงาน[แก้]

CCNA[แก้]

ประกาศนียบัตรของซิสโก้ระดับที่สองคือ CCNA (Cisco Certified Network Associate) ซึ่งสอบทั้งหมดเจ็ดสานงานตามตาราง ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรนี้จะมีความสามารถในการติดตั้ง ปรับแต่ง ดำเนินการ และแก้ปัญหาเครือข่ายที่ใช้เราเตอร์และสวิตช์ในระดับองค์กร รวมทั้งการนำไปใช้และการตรวจสอบการเชื่อมต่อระยะไกลในข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) การอบรม CCNA ในหลักสูตรใหม่มีการสอนเรื่องการต่อกรภัยคุกคามทางด้านความปลอดภัยในระดับพื้นฐาน และการแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่ายเสียงและไร้สาย ซึ่งการสอบในปัจจุบันจะมีข้อสอบที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด

  • ปัจจุบัน (2015) ใช้ข้อสอบ CCNA 200-120 ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหมดซึ่งจะมาแทนที่ ข้อสอบเก่าหรือ 640-802 CCNA

ประกาศนียบัตร CCNA มีอายุการรับรอง 3 ปี เมื่อหมดอายุแล้ว ผู้นั้นจะต้องเลือกทางใดทางหนึ่งดังนี้

  • สอบ CCNA หรือ ICND2 ใหม่อีกครั้ง เพื่อรับประกาศนียบัตรระดับเดิม หรือ
  • ผ่านการทดสอบในระดับมืออาชีพหรือสูงกว่า เช่น CCNP หรือ CCIE เพื่อให้ได้รับประกาศนียบัตรที่สูงขึ้น

CCDA[แก้]

ประกาศนียบัตร CCDA (Cisco Certified Design Associate) เป็นการรับรองความรู้ในระดับผู้ร่วมงานเกี่ยวกับการออกแบบเครือข่ายอุปกรณ์ของซิสโก้ ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรนี้จะมีความสามารถในการออกแบบเส้นทางเครือข่ายที่มีการเปลี่ยนเส้นทางโดยเราเตอร์และสวิตช์เป็นต้น ซึ่งเครือข่ายนั้นประกอบด้วยข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) ข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) และบริการโทรศัพท์ที่แตกต่างออกไป ทำข้อสอบชุด "640-863 DESGN" เมื่อผ่านแล้วจึงได้ประกาศนียบัตร และถึงแม้ว่าการทดสอบ CCDA ไม่จำเป็นต้องสอบผ่าน CCNA มาก่อน แต่ทางซิสโก้ก็แนะนำให้สอบเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานในระดับ CCNA

อ้างอิง[แก้]

  1. "ซิสโก้ เน็ตเวิร์คกิ้ง อะเคเดมี". Eduzones. 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "หลักสูตรการเรียนการสอนด้านไอที สำหรับสถาบันการศึกษา". ซิสโก้. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "นักศึกษาคณะวิทย์ฯ สอบได้ประกาศนียบัติทางวิชาชีพ". มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 21 กรกฎาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]