ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิบัตินิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปฏิบัตินิยม (อังกฤษ: pragmatism) เป็นธรรมเนียมทางปรัชญาที่มองภาษาและความคิดว่าเป็นเครื่องมือในการทำนาย การแก้ปัญหา และการกระทำ มากกว่าการบรรยาย การแสดง หรือสะท้อนความเป็นจริง ผู้ยึดหลักปฏิบัตินิยมได้แย้งว่าประเด็นทางปรัชญาส่วนใหญ่ เช่น ธรรมชาติของความรู้ ภาษา แนวคิด ความหมาย ความเชื่อ และวิทยาศาสตร์ มักพิจารณาจากการใช้งานจริงและความสำเร็จ

แนวคิดเรื่องปฏิบัตินิยมเริ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ต้นกำเนิดของปรัชญานี้มักจะมาจากนักปรัชญา อย่าง ชาลส์ แซนเดอส์ เพิร์ซ, วิลเลียม เจมส์ และจอห์น ดูอี ใน ค.ศ. 1878 เพิร์ชได้บรรยายถึงเรื่องนี้ว่า “ลองพิจารณาผลในทางปฏิบัติของวัตถุประสงค์ของความคิดคุณ แล้วแนวคิดของคุณเกี่ยวกับผลเหล่านั้นก็คือแนวคิดทั้งหมดของวัตถุประสงค์นั้น”