ปฏิบัติการพันท์เซอร์เฟาสท์
ปฏิบัติการพันท์เซอร์เฟาสท์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ทหารเอ็สเอ็สจาก22 SS-Freiwilligen-Kavallerie-Division Maria Theresa ได้สำรวจเข้ายึดพบอาวุธในลานของปราสาทบูดอ รวมทั้งปืนอัตตาจรต่อต้านอากาศยานของฮังการี 40M Nimród (สีดำ) และ 40mm 40M anti-tank gun. | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ราชอาณาจักรฮังการี |
นาซีเยอรมนี พรรคแอร์โรว์ครอสส์ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ปฏิบัติการพันท์เซอร์เฟาสท์ (เยอรมัน: Unternehmen Panzerfaust) เป็นปฏิบัติการทางทหารเพื่อจัดการและควบคุมราชอาณาจักรฮังการีที่เยอรมนีดูแลอยู่ในช่วงสงคราม ปฏิบัติการเริ่มต้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 โดยกองทัพเยอรมัน (แวร์มัคท์) เมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเผด็จการของเยอรมนี ได้ล่วงรู้ว่าพลเรือเอก มิกโลช โฮร์ตี ผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี ได้แอบเจรจาอย่างลับ ๆ ในการยอมจำนนต่อกองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตที่กำลังจะบุกเข้ามา ฮิตเลอร์จึงได้ส่งอ็อทโท สกอร์ทเซนี หัวหน้าหน่วยคอมมานโดแห่งหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส และ Adrian von Fölkersam อดีตผู้บัญชาการกองกำลังพิเศษ ไปยังฮังการี ฮิตเลอร์เกรงกลัวว่าการยอมจำนนของฮังการีจะเป็นการเปิดปีกกองทัพตอนใต้ แบบที่ราชอาณาจักรโรมาเนียได้ไปเข้าร่วมกับสหภาพโซเวียตและตัดกองกำลังทหารเยอรมันไปหนึ่งล้านนายที่กำลังสู้รับกับการรุกของโซเวียตในคาบสมุทรบอลข่าน ปฏิบัติการได้นำโดยปฏิบัติการมาร์กาเรต (Operation Margarethe) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นการยึดครองฮังการีโดยกองทัพเยอรมัน ฮิตเลอร์ได้คาดหวังว่าจะสามารถรักษาฮังการีเอาไว้ให้อยู่ภายใต้อำนาจแห่งฝ่ายอักษะ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Earl F. Ziemke, Stalingrad to Berlin: The German Defeat in the East, U.S. Government Printing Office, 1968
- Horthy:, Admiral Miklós (2000). Admiral Nicholas Horthy Memoirs. Nicholas Horthy, Miklós Horthy, Andrew L. Simon, Nicholas Roosevelt (illustrated ed.). Simon Publications LLC. p. 348. ISBN 0-9665734-3-9.