ข้ามไปเนื้อหา

บูรัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บูรัน
Буран
บูรันบนแท่นปล่อย 110/37
ประเทศ สหภาพโซเวียต
ตั้งชื่อตาม"พายุหิมะ"[1]
สถานะปลดประจำการ, ถูกทำลายใน ค.ศ. 2002
บินครั้งแรก1K1
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988[1]
บินครั้งสุดท้าย1K1
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988[1]
สถิติภารกิจ1[1]
ลูกเรือ0[1]
สถิติวันที่บิน3 ชั่วโมง
สถิติโคจร2[1]

ยานอวกาศบูรัน (รัสเซีย: Бура́н, "พายุหิมะ"; อังกฤษ: Buran) เป็นพาหนะในวงโคจรของสหภาพโซเวียต/รัสเซีย ที่มีการทำงานและการออกแบบคล้ายคลึงกับกระสวยอวกาศของสหรัฐ และพัฒนาโดยหัวหน้านักออกแบบ เกลบ โลซีโน-โลซินสกี (Глеб Евгеньевич Лозино-Лозинский) แห่งบริษัทจรวดเอเนร์เกีย (Энергия) บูรันเป็นพาหนะกระสวยอวกาศจากโครงการบูรันของโซเวียตที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศก่อนโครงการปิดตัวลง บูรันประสบความสำเร็จในเที่ยวบินไร้คนบังคับครั้งหนึ่งใน ค.ศ. 1988 ก่อนที่โครงการจะถูกยกเลิกใน ค.ศ. 1993 ต่อมาใน ค.ศ. 2002 บูรันถูกทำลายเมื่อโรงจอดที่เก็บยานที่ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ถล่มลงมา[2]

การปล่อยขึ้นสู่อวกาศ

[แก้]

การปล่อยบูรันขึ้นสู่วงโคจรครั้งแรกและครั้งเดียวนั้นเกิดขึ้นเมื่อเวลา 3:00 UTC ของวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 จากท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์จุดปล่อยที่ 110/37 มันถูกยกขึ้นสู่วงโคจรอย่างไร้คนบังคับ โดยจรวดเอเนร์เกียที่ได้รับการออกแบบพิเศษ ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นจรวดขนาดใหญ่ที่สุดที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงเหลว ไม่เหมือนกับกระสวยอวกาศ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยบูสเตอร์ของแข็งและเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลวของตัวกระสวยเอง ซึ่งนำเชื้อเพลิงมาจากถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ ระบบเอเนร์เกีย-บูรันใช้เฉพาะแรงผลักดันจากจรวดเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลว RD สี่เครื่อง ซึ่งพัฒนาโดยวาเลนติน กลุชโค นับแต่ต้น บูรันตั้งใจให้ใช้ได้ทั้งในโหมดอัตโนมัติและมีคนบังคับ แม้โครงการจะประสบความล้าช้าหลายปี บูรันเป็นเพียงกระสวยอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยประสบความสำเร็จในเที่ยวบินไร้คนบังคับในโหมดอัตโนมัติสมบูรณ์ จนกระทั่งวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2010 เมื่อกองทัพอากาศสหรัฐปล่อยเครื่องบินอวกาศโบอิง เอ็กซ์-37 ลำดับการปล่อยอัตโนมัติดำเนินไปตามที่กำหนด และจรวดเอเนร์เกียยกยานขึ้นสู่วงโคจรชั่วคราวก่อนที่ส่วนโคจรจะแยกตัวออกตามที่ตั้งโปรแกรมไว้ หลังส่งตัวเองขึ้นสู่วงโคจรชั้นสูงกว่าและเสร็จสิ้นการโคจรรอบโลกสองรอบ เครื่องยนต์ของระบบควบคุมเครื่องยนต์ (ODU) จุดตัวเองอัตโนมัติเพื่อเริ่มกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ หลังภารกิจเริ่ม 206 นาที ส่วนโคจรของบูรันลงจอด โดยเสียฉนวนกันความร้อน (thermal tile) ไปเพียง 5 แผ่น จาก 38,000 แผ่นตลอดช่วงการบิน[3] การลงจอดอัตโนมัติเกิดขึ้นที่ลานวิ่งของท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ ที่ซึ่ง แม้จะมีความเร็วลมด้านข้าง 61.2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยานสามารถลงจอดโดยคลาดเคลื่อนจากจุดเป้าหมายไปด้านข้างเพียง 3 เมตร และด้านยาวเพียง 10 เมตร[3] เที่ยวบินไร้คนบังคับนี้เป็นครั้งแรกที่ยานอวกาศขนาดนี้และความซับซ้อนระดับนี้ ปล่อยขึ้นสู่อวกาศ เสร็จสิ้นการทดสอบในวงโคจร กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศอีกครั้ง และลงจอดภายใต้การควบคุมอัตโนมัติ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Buran". NASA. 12 November 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-04. สืบค้นเมื่อ 2006-08-15.; Buran ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (archived มกราคม 28, 2008).
  2. Buran, Russian Space Web.
  3. 3.0 3.1 Chertok, Boris (2005). Asif A. Siddiqi (บ.ก.). Raketi i lyudi [Rockets and People] (PDF). NASA History Series. p. 179. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]