บุรอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพบุร็อกแบบโมกุลในศตวรรษที่ 17

อัล-บุรอก (อาหรับ: البُراق al-Burāq หรือ /ælˈbɔːræk/ "ฟ้าแลบ") เป็นม้าวิเศษในตำนานศาสนาอิสลาม: สิ่งมีชีวิตที่มาจากสวรรค์ โดยมักจะขนส่งเหล่าศาสดาหลายท่าน ซึ่งในฮะดีษส่วนใหญ่มักจะขนศาสดามุฮัมมัดจากมักกะฮ์ถึงเยรูซาเลม และกลับมาบนโลกในช่วงอิสรออ์กับมิอ์รอจญ์ หรือ 'การเดินทางในเวลากลางคืน'.[1]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ใน สารานุกรมอิสลาม ได้อ้างถึงงานของอัล-ดามิรีว่า คำนี้ได้รับมาจากคำว่า"บัรก์" อาหรับ: برق หมายถึง "ฟ้าแลบ".[2] ส่วน สารานุกรมอิรานิกา ได้กล่าวว่า "โบรัก" เป็นคำที่เป็นรูปภาษาอาหรับของ *บาราก หรือ *บารัก หมายถึง 'สัตว์ขี่, ภูเขา' (เปอร์เซียสมัยใหม่ บารา)".[3]

รายละเอียด[แก้]

ภาพของบุรอกในตะวันออกใกล้และศิลปะเปอร์เซียมักจะมีใบหน้าเป็นมนุษย์ แต่ไม่มีฮะดีษหรือหลักฐานไหนที่กล่าวว่ามันมีใบหน้าเป็นมนุษย์ บางที่การกระทำนี้อาจเกิดขึ้นจากการแปลภาษาจากภาษาอาหรับเป็นภาษาเปอร์เซีย และเรื่องที่กล่าวถึงสัตว์ปีกว่า "เป็นสัตว์ที่มีใบหน้าที่สวยงาม".

ตัวอย่างฮะดีษที่กล่าวถึงบุร็อกไว้ว่า:

จากนั้นสัตว์สีขาว ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าล่อแต่ใหญ่กว่าลาถูกนำมาให้ฉัน ... ก้าวหนึ่งของมันจะก้าวไปได้ไกลสุดเท่าที่มันเห็น

— มุฮัมมัด อัล-บุคอรี, ซอฮีหฺ อัล-บุคอรี[4]

ในการอธิบายช่วงแรกไม่มีคำยืนยันว่ามันมีเพศอะไร. ตามปกติควรจะเป็นเพศผู้ แต่อิบน์ ซะด์ได้กล่าวว่ามันเป็นเพศเมีย และมักจะถูกวาดโดยมีหัวเป็นผู้หญิง[5]

การเดินทางสู่สวรรค์ชั้นเจ็ด[แก้]

มุฮัมมัดขึ้นสู่สวรรค์ (มิอฺรอจญ์) ในศิลปะเปอร์เซีย

การเดินทางในเวลากลางคืนเริ่มขึ้นในปีที่สิบของการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด ตอนนั้นเขาอยู่คนเดียวที่บ้านของลูกพี่ลูกน้องเขาในมักกะฮ์ (บ้านของฟาคิตะฮ์ บินต์ อบีฏอลิบ). หลังจากนั้น มุฮัมมัดเดินไปที่ มัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์. ในขณะที่กำลังพักผ่อนที่กะอ์บะฮ์นั้น มลาอิกะฮ์ (เทวทูต) ญิบรีลได้ปรากฎต่อหน้าเขา พร้อมกับบุร็อก. มุฮัมมัดขึ้นบนหลังมันและเดินทางไป "มัสยิดที่ไกลที่สุด".

สถานที่ของมัสยิดนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ส่วนใหญยืนยันว่ามันหมายถึงมัสยิดอัลอักศอในเยรูซาเลม. หลังจากนั้นบุร็อกได้นำท่านไปที่สวรรค์ชั้นต่างๆ เพื่อพบบรรดาศาสดารุ่นแรกและพบกับอัลลอฮ์. พระองค์บัญชาให้มุฮัมมัดบอกกับผู้ศรัทธาว่าต้องละหมาด 50 ครั้งต่อวัน. แต่หลังจากโต้แย้งกับนบีมูซา (โมเสส) แล้ว มุฮัมมัดได้กลับไปหาอัลลอฮ์และพระองค์ทรงลดเวลาละหมาดเหลือ 10 ครั้ง และจากนั้นจึงเป็น 5 ครั้งต่อวัน. หลังจากนั้นบุร็อกได้ส่งมุฮัมมัดกลับไปที่มักกะฮ์[6]

ในวัฒนธรรมอื่น[แก้]

บุร็อกที่เป็นเอกลักษณ์[ต้องการอ้างอิง] สลักที่มินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Vuckovic, Brooke Olson (2004). Heavenly Journeys, Earthly Concerns. Routledge. p. 48. ISBN 9781135885243. สืบค้นเมื่อ 25 October 2015.
  2. Gruber, Christane J., "al-Burāq", in: Encyclopaedia of Islam, THREE, Edited by: Kate Fleet, Gudrun Krämer, Denis Matringe, John Nawas, Everett Rowson. Consulted online on 14 April 2018 <https://dx.doi.org/10.1163/1573-3912_ei3_COM_24366>
  3. Hadith v. as Influenced by Iranian Ideas and Practices ที่ Encyclopædia Iranica
  4. Sahih al-Bukhari, 5:58:227[ลิงก์เสีย]
  5. T.W. Arnold (1965). Painting in Islam (PDF). p. 118. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-11-02. สืบค้นเมื่อ 2019-02-02.
  6. Sullivan, Leah. "Jerusalem: The Three Religions of the Temple Mount" (PDF). stanford.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 July 2007. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
  7. "About Company". Buraq Oil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-15. สืบค้นเมื่อ 22 June 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]