บีไลก์บิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มนุษย์ก้างปลาที่มีข้อความพิมพ์ว่า "นี่คือบิลล์ บิลหาข้อผิดพลาดในวิกิพีเดีย บิลแก้ข้อผิดพลาด บิลเอาใจใส่ จงทำตัวเหมือนบิล"
ตัวอย่างของมีมบีไลก์บิล

บีไลก์บิล (อังกฤษ: Be like Bill, ท. "จงเป็นเหมือนบิล") เป็นมีมในสื่อสังคมที่เริ่มต้นในช่วงปลายค.ศ. 2015 ก่อนที่จะโด่งดังในช่วงต้นปีค.ศ. 2016[1]

มีม[แก้]

มีมบีไลก์บิลเป็นภาพของมนุษย์ก้างปลา (stick figure) ที่ใส่หมวกถักนิตติ้ง พร้อมกับประโยคว่า "บิลกำลังดูเฟซบุ๊กอยู่ บิลเป็นมังสวิรัติ บิลไม่บอกใครในนั้น บิลฉลาด จงทำตัวเหมือนบิล" (Bill is on Facebook. Bill is a vegan. Bill doesn't tell everybody about it. Bill is smart. Be like Bill.)[1][2][3] ตัวมีมนี้ถูกกอธิบายเป็น "วิธีที่ผู้คนพูดแบบเฉย ๆ-อุกอาจไปยังพฤติกรรมในสื่อสังคมที่ทำให้พวกเขารำคาญ"[4] ตัวมีมเป็นที่สนใจจากผู้กล่าวร้ายจำนวนมาก โดยพวกเขาวิจารณ์ถึงระดับเสียงของมีมและไม่ค่อยมีการรับรู้ตนเอง[5]

มีเพจบีไลก์บิลบนเฟซบุ๊ก และข้อมูลเมื่อ 25 มกราคม ค.ศ. 2016 (2016 -01-25) ตัวเพจมีคนกดไลก์กว่า 1.5 ล้าน[4]

มีมไลก์บิลถูกสร้างเพื่อตอบสนองต่อแคมเปญ #1lib1ref

เจ้าหน้าที่บอสตันใช้มีมนี้เพื่อกีดกันการใช้เก้าอี้จอดรถ (Parking chair) ในที่จอดรถ[6][7] ทางกรมตำรวจควีนส์แลนด์เขียนมุกในอัปเดตสเตตัสเฟซบุ๊กว่าพวกเขาแจ้งความบิลเพราะ "รบกวนช่วงเวลาของผู้คน"[8]

ความหลากหลาย[แก้]

ตัวมีมถูกแปลไปหลายภาษา เช่น บิลาลในภาษาอาหรับ, ราชิดในภาษามาเลเซีย, โฆเซในภาษาสเปน[2] และ Петя (Petya; เปตยา) ในภาษารัสเซีย รุ่นแบบเจาะจงทางวัฒนธรรมของประเทศอัฟกานิสถานถูกเรียกเป็นโกโดส (Qodos) ซึ่งเขียนด้วยภาษาดารีและภาษาปาทาน[9] รุ่นประเทศฟิลิปปินส์ถูกเรียกเป็น ตูลารัน ซี ฆวน (Tularan si Juan) ที่เขียนด้วยภาษาตากาล็อก[10]

มีรุ่นของประเทศศรีลังกาที่เคยมีชื่อว่า සිරිමත් (Sirimat; ศิริมัต) ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็น සිරිපාල (Siripaala; ศิริปาละ) หลายสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีค.ศ. 2015 โดยมีกวีสิงหลโบราณที่กล่าวกันในโรงเรียนว่า มีเด็กชายสมมติคนหนึ่งที่มีชื่อว่าศิริมัตยกย่องวิถีชีวิตประจำวัน เช่น วางแผนสำหรับวันพรุ่งนี้ก่อนนอน และตื่นนอนแต่เช้าตรู่[11] และมีรุ่นเพศหญิงที่มีชื่อว่าเอมิลีด้วย[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Subedar, Anisa (18 January 2016). "Why should you be more like Bill?". BBC Trending. BBC News. สืบค้นเมื่อ 19 January 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 Feldman, Brian (19 January 2016). "'Be Like Bill' Is the Worst Thing on Facebook". New York. สืบค้นเมื่อ 19 January 2016.
  3. Parsons, Jeff (19 January 2016). "What is #BeLikeBill? Everything you need to know about the meme that is taking over the internet". Daily Mirror. สืบค้นเมื่อ 19 January 2016.
  4. 4.0 4.1 Grossman, Samantha (25 January 2016). "Here's What to Know About the 'Be Like Bill' Meme Your Friends Keep Sharing on Facebook". Time. สืบค้นเมื่อ 26 January 2016.
  5. Dewey, Caitlin (22 January 2016). "The rise of Be Like Bill — a detestable meme instructing an audience of millions". National Post. Washington Post. สืบค้นเมื่อ 26 January 2016.
  6. Annear, Steve (25 January 2016). "'Be Like Bill' and remove your space savers, city says". Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 26 January 2016.
  7. McGinnes, Meagan (25 January 2016). "Boston made its own 'Be Like Bill' meme about space savers". Boston.com. สืบค้นเมื่อ 26 January 2016.
  8. "Aussie police call out 'Bill' for being most annoying internet meme". RT.com. 25 January 2016. สืบค้นเมื่อ 26 January 2016.
  9. Rahim, Fazul (24 January 2016). "#BeLikeQodos: Afghanistan Flips #BeLikeBill Meme on Its Head". NBC News. สืบค้นเมื่อ 26 January 2016.
  10. Rhys, Buccat (January 18, 2016). "Meet the gaming buddies behind 'Tularan si Juan'". ABS-CBN News. สืบค้นเมื่อ June 6, 2016.
  11. http://vidula-sinhala.blogspot.com/2011/11/blog-post_30.html

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]