ข้ามไปเนื้อหา

บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์ไฟนัลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์ไฟนัลส์
BWF Super Series Finals
ชื่อก่อนหน้าเวิลด์แบดมินตันกรังด์ปรีซ์ไฟนัลส์
กีฬาแบดมินตัน
ฤดูกาลแรกค.ศ. 2008
แทนที่โดยบีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์
สปอนเซอร์เมทไลฟ์
การแข่งขันที่เกี่ยวข้องบีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์
เว็บไซต์BWF World Superseries

บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์ไฟนัลส์ (อังกฤษ: BWF Super Series Finals) เป็นการแข่งขันแบดมินตันประจำปีที่จัดขึ้นในช่วงปลายปี โดยผู้เล่นที่มีคะแนนสูงสุดจากการแข่งขันของบีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์ทั้ง 12 รายการในปฏิทินการแข่งขันปีนั้น ผู้เข้าร่วมจะแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัลรวมอย่างน้อย 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถูกแทนที่ด้วย บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ ในปี ค.ศ. 2018

ประวัติ

[แก้]

การแข่งขันซูเปอร์ซีรีส์ไฟนัลส์ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 2007 เนื่องจากไม่มีผู้สนับสนุนสำหรับการแข่งขันครั้งนี้ การแข่งขันในปี ค.ศ. 2008 ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่า บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์มาสเตอส์ไฟนัลส์ 2008 (BWF Super Series Masters Finals 2008) เป็นการแข่งขันครั้งแรกและจัดขึ้นที่เมืองโกตากีนาบาลู รัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18 ถึง 21 ธันวาคม ค.ศ. 2008[1][2][3]

มีเพียงแปดอันดับแรกจากอันดับซูเปอร์ซีรีส์หลังจากการแข่งขันซูเปอร์ซีรีส์รายการสุดท้ายตามที่ประกาศโดยสหพันธ์แบดมินตันโลกเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าร่วม อย่างไรก็ตาม สมาคมสมาชิกแต่ละแห่งมีสิทธิ์เข้าร่วมได้เพียงสองรายการเท่านั้น ในการแข่งขันผู้เล่นหรือคู่แปดคนจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละสี่คน โดยผู้เล่นหรือคู่สองอันดับแรกจะได้ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ[4]

สำหรับรอบสุดท้ายในปี ค.ศ. 2010 การแข่งขันจัดขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011[5] ในปี ค.ศ. 2014 เงินรางวัลรวมเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นสถานที่จัดการแข่งขันซูเปอร์ซีรีส์ไฟนัลส์ จนถึงปี ค.ศ. 2017 อันเป็นผลจากความร่วมมือของสหพันธ์แบดมินตันโลก[7]

ผลการแข่งขัน

[แก้]
ปี เมืองเจ้าภาพ ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว ชายคู่ หญิงคู่ คู่ผสม อ้างอิง
2007 ยกเลิก
2008 โกตากีนาบาลู ประเทศมาเลเซีย หลี่ จงเหว่ย์ ฮ่องกง โจว มี่ ประเทศมาเลเซีย กู เกียน เกียต
ประเทศมาเลเซีย ตัน บุน ฮอง
ประเทศมาเลเซีย ชิน อี ฮุย
ประเทศมาเลเซีย หว่อง เปย์ ตี้
ประเทศเดนมาร์ก ทอมัส เลย์บอร์น
ประเทศเดนมาร์ก แคมีแล รึอเตอร์ ยู
[8]
2009 โจโฮร์บะฮ์รู ประเทศมาเลเซีย หว่อง มิว ชู ประเทศเกาหลีใต้ ช็อง แจ-ซ็อง
ประเทศเกาหลีใต้ อี ยง-แด
ประเทศเดนมาร์ก โยแอคิม ฟิสเชอร์ นีลเซิน
ประเทศเดนมาร์ก เครสตีแน พีเดอร์เซิน
[9]
2010 นครไทเปใหม่ ประเทศจีน หวัง ซื่อเซียน ประเทศเดนมาร์ก แมทีแอส โบ
ประเทศเดนมาร์ก แคร์สเติน โมกเอินเซิน
ประเทศจีน หวัง เซียนหลี่
ประเทศจีน ยฺหวี หยาง
ประเทศจีน จาง หนาน
ประเทศจีน จ้าว ยฺหวินเหล่ย์
[10]
2011 หลิ่วโจว ประเทศจีน หลิน ตัน ประเทศจีน หวัง อี๋หาน [11]
2012 เชินเจิ้น ประเทศจีน เฉิน หลง ประเทศจีน หลี่ เสฺว่รุ่ย ประเทศเดนมาร์ก โยแอคิม ฟิสเชอร์ นีลเซิน
ประเทศเดนมาร์ก เครสตีแน พีเดอร์เซิน
[12]
2013 กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย หลี่ จงเหว่ย์ ประเทศอินโดนีเซีย โมฮัมมัด อะฮ์ซัน
ประเทศอินโดนีเซีย เฮ็นดรา เซอตียาวัน
ประเทศเดนมาร์ก เครสตีแน พีเดอร์เซิน
ประเทศเดนมาร์ก แคมีแล รึอเตอร์ ยู
[13]
2014 ดูไบ ประเทศจีน เฉิน หลง จีนไทเป ไต้ จืออิ่ง ประเทศเกาหลีใต้ อี ยง-แด
ประเทศเกาหลีใต้ ยู ย็อน-ซ็อง
ประเทศญี่ปุ่น มิซากิ มัตสึโตโมะ
ประเทศญี่ปุ่น อายากะ ทากาฮาชิ
ประเทศจีน จาง หนาน
ประเทศจีน จ้าว ยฺหวินเหล่ย์
[14]
2015 ประเทศญี่ปุ่น เค็นโตะ โมโมตะ ประเทศญี่ปุ่น โนโซมิ โอกูฮารา ประเทศอินโดนีเซีย โมฮัมมัด อะฮ์ซัน
ประเทศอินโดนีเซีย เฮ็นดรา เซอตียาวัน
ประเทศจีน ลั่ว อิง
ประเทศจีน ลั่ว ยฺหวี่
ประเทศอังกฤษ คริส แอดค็อก
ประเทศอังกฤษ แกบบี แอดค็อก
[15]
2016 ประเทศเดนมาร์ก วิกเทอร์ แอกเซิลเซิน จีนไทเป ไต้ จืออิ่ง ประเทศมาเลเซีย โก วี เชม
ประเทศมาเลเซีย ตัน วี เกียง
ประเทศจีน เฉิน ชิงเฉิน
ประเทศจีน เจี่ย อีฝาน
ประเทศจีน เจิ้ง ซือเหวย์
ประเทศจีน เฉิน ชิงเฉิน
[16]
2017 ประเทศญี่ปุ่น อากาเนะ ยามางูจิ ประเทศอินโดนีเซีย มาร์กุส เฟอร์นัลดี กีเดอน
ประเทศอินโดนีเซีย เกฟิน ซันจายา ซูกามุลโจ
ประเทศญี่ปุ่น ชิโฮะ ทานากะ
ประเทศญี่ปุ่น โคฮารุ โยเนโมโตะ
[17]

ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน

[แก้]
ลำดับ ประเทศ ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว ชายคู่ หญิงคู่ คู่ผสม รวม
1  จีน 3 4 0 5 5 17
2  เดนมาร์ก 2 0 3 1 4 10
3  มาเลเซีย 4 1 2 2 0 9
4  ญี่ปุ่น 1 2 0 2 0 5
5  อินโดนีเซีย 0 0 3 0 0 3
6  เกาหลีใต้ 0 0 2 0 0 2
 จีนไทเป 0 2 0 0 0 2
7  ฮ่องกง 0 1 0 0 0 1
 อังกฤษ 0 0 0 0 1 1
รวม 10 10 10 10 10 50

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "BWF SUPER SERIES MASTERS FINALS 2008 - It's on!". BWF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-03. สืบค้นเมื่อ 2015-02-03.
  2. Gilmour, Rod (2008-11-04). "Badminton Super Series Finals set for Malaysia after 2007 cancellation". London: Telegraph.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-12. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  3. "Super Series Finals - The Eighth on the Eighth". Badzine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-06. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  4. "Rules and Regulations". BWF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2011-06-09.
  5. "2010 VICTOR - BWF Super Series Finals". BWF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-13. สืบค้นเมื่อ 2015-02-03.
  6. "BWF Destination Dubai World Super Series Finals - Countdown to Million-Dollar Jackpot". BWF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2015-02-03.
  7. Osborne, Paul (24 September 2014). "Countdown on for start of Badminton World Super Series Finals in Dubai". Inside the Games. สืบค้นเมื่อ 22 November 2015.
  8. "Malaysia reign supreme in Yonex Sunrise BWF World Super Series Masters Finals with three titles". Badminton World Federation. 21 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2008. สืบค้นเมื่อ 23 June 2022.
  9. "Yonex-Sunrise BWF World Super Series 2009 - Malaysia sweep three titles, again". Badminton World Federation. 6 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2010. สืบค้นเมื่อ 23 June 2022.
  10. Hearn, Don (9 January 2011). "SS Finals 2010 Day 5 – Another Happy New Year!". Badzine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2018. สืบค้นเมื่อ 23 June 2022.
  11. Regala, Emzi (19 December 2011). "SS Finals 2011 – A come-from-behind victory for Wang Yihan". Badzine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2022. สืบค้นเมื่อ 23 June 2022.
  12. Chan, Kin-wa (17 December 2012). "Li Xuerui beats Wang Shixian in final to win World Super Series title". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 23 June 2022.
  13. Regala, Emzi (15 December 2013). "Pedersen saves the best for last with three records". The Star. สืบค้นเมื่อ 23 June 2022.
  14. "World champion Chen wins Superseries title". AFP. 22 December 2014. สืบค้นเมื่อ 23 June 2022 – โดยทาง Yahoo!.
  15. Paul, Rajes (13 December 2015). "Double joy for Japan in badminton Superseries Finals". The Star. สืบค้นเมื่อ 3 June 2020.
  16. "Badminton: Viktor, Tai reign supreme in Dubai BWF World Superseries Finals". Khaleej Times. 18 December 2016. สืบค้นเมื่อ 23 June 2022.
  17. Hearn, Don (17 December 2017). "SS Finals 2017 – Gideon/Sukamuljo make their 1st title a 7th". Badzine. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.