บาฮามุตลากูน
บาฮามุตลากูน | |
---|---|
![]() | |
ผู้พัฒนา | สแควร์ |
ผู้จัดจำหน่าย | สแควร์ |
กำกับ | คาซูชิเงะ โนจิมะ |
อำนวยการผลิต | ทาดาชิ โนมูระ |
เขียนบท | โมโตมุ โทริยามะ |
แต่งเพลง | โนริโกะ มัตสึเอดะ |
เครื่องเล่น | ซูเปอร์แฟมิคอม |
วางจำหน่าย |
|
แนว | เล่นตามบทบาททางยุทธวิธี |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว |
บาฮามุตลากูน (ญี่ปุ่น: バハムートラグーン; อังกฤษ: Bahamut Lagoon) เป็นเกมเล่นตามบทบาททางยุทธวิธีจากประเทศญี่ปุ่นที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทสแควร์สำหรับซูเปอร์แฟมิคอม และวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996[1]
บาฮามุตลากูนได้วางจำหน่ายบนเวอร์ชวลคอนโซลที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2009 สำหรับเครื่องวี และในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 สำหรับวียู
รูปแบบการเล่น[แก้]
รูปแบบการเล่นของบาฮามุตลากูนผสมการต่อสู้แบบวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทตามกริด 2 มิติ เข้ากับการต่อสู้แบบผลัดกันเล่น[2] ผู้เล่นมีความสามารถในการเลี้ยงและทำศึกมังกรเพื่อต่อสู้เคียงข้างกับตัวละครอื่น ๆ ของผู้เล่น[3] ผู้เล่นมีกลุ่มของสี่ตัวละครในการต่อสู้ และผู้เล่นมีผู้นำกลุ่มที่แตกต่างกันหกคนที่พวกเขาสามารถเลือกได้[4] หัวหน้ากลุ่มแต่ละคนมีมังกรซึ่งสามารถพัฒนาเป็นประเภทต่าง ๆ ได้โดยป้อนอาวุธ, เกราะ, เครื่องประดับ และไอเทม[4] การให้อาหารมังกรที่พวกมันชอบจะเพิ่มความภักดี และอาหารที่พวกมันไม่ชอบจะลดความภักดีลง แต่ผู้เล่นยังสามารถใช้อาหารที่มังกรไม่ชอบทำให้มังกรมีพลังมากขึ้น[5] มังกรไม่ได้ถูกควบคุมโดยผู้เล่น แต่จะได้รับคำแนะนำทั่วไป เช่น “ไป!” หรือ “เดี๋ยวก่อน!”[5]
โครงเรื่อง[แก้]
ในโลกของโอเรลุส มีทวีปที่เรียกว่า "ลากูน" ลอยอยู่บนท้องฟ้า และสงครามกำลังคุกคามเมื่อราชอาณาจักรคาห์นาถูกรุกรานโดยจักรวรรดิแกรนเบลอส[5] สิ่งนี้ทำให้กัปตันบีวแห่งหน่วยมังกรต่อสู้เพื่อขับไล่การรุกรานนี้ แต่หลังจากชัยชนะครั้งแรก คาห์นาถูกบุกรุก และบีว ตัวเอกเงียบของเกม ป็นผู้นำในการทัพต่อต้านจักรวรรดิแกรนเบลอส[5][4] ส่วนในบทสนทนา ผู้เล่นสามารถเลือกระหว่างการตอบสนองที่จริงจังและประชดประชันเมื่อพูดในฐานะบีว[5]
การพัฒนา[แก้]
ทีมพัฒนาเกมประกอบด้วยสมาชิกหลักหลายคนจากวิดีโอเกมซีรีส์ไฟนอลแฟนตาซี รวมถึงผู้สร้างไฟนอลแฟนตาซีอย่างฮิโรโนบุ ซากางูจิ ในฐานะหัวหน้างาน, คาซูชิเงะ โนจิมะ ในฐานะผู้กำกับ และโมโตมุ โทริยามะ ในฐานะผู้วางแผนเหตุการณ์เรื่องราว ในการให้สัมภาษณ์ โมโตมุ โทริยามะ กล่าวว่าตอนที่เขาได้รับการว่าจ้างครั้งแรกจากสแควร์ซอฟต์ให้ทำงานในบาฮามุตลากูนใหม่ เกมดังกล่าวได้ถูกยกเลิกในที่สุด[6]
การตลาด[แก้]
บาฮามุตลากูนได้รับการเปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อตอนจบอายุขัยของซูเปอร์แฟมิคอม ซึ่งได้รับการเปิดตัวเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996[1] บาฮามุตลากูนขายได้ 474,680 ชุดในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1996 ส่งผลให้เป็นเกมที่ขายดีที่สุดอันดับที่ 17 ของปีดังกล่าว[7] เกมดังกล่าวได้รับการเผยแพร่อีกครั้งในเวอร์ชวลคอนโซลของนินเท็นโดเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2009 สำหรับระบบวี[8] และอีกครั้งในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 สำหรับวียู[9]
การตอบรับ[แก้]
เมื่อเปิดตัว นักวิจารณ์สี่คนจากนิตยสารแฟมิซือได้ให้คะแนน 29 เต็ม 40[10]
ในบทวิจารณ์ย้อนหลัง ฮาร์ดคอร์เกมมิง 101 ได้ยกย่องเกมอย่างมาก โดยเรียกเกมนี้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทสแควร์ “สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา” ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ด้วยตัวละครที่มีเสน่ห์, โครงเรื่องที่สอดคล้องกัน และรายละเอียดกราฟิกที่เป็น “ของจริง”[5] ส่วนนินเท็นโดไลฟ์ ยังเรียกเกมนี้ว่า “สมบัติที่หายไป” และคร่ำครวญว่าไม่เคยมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ[11] อย่างไรก็ตาม ซิลิโคเนราตั้งข้อสังเกตว่าได้มีแฟนแปลภาษาอังกฤษอย่างไม่เป็นทางการในอีกหลายปีต่อมาสำหรับเกมนี้[4] และเว็บไซต์วันอัป.คอมได้กล่าวถึงเกมนี้ว่าเป็นหนึ่งในหกอันดับแรกของเกมที่ “ต้องเล่น” จากการนำเข้า โดยอ้างถึงเรื่องราวที่เหมาะสม, กราฟิกที่นุ่ม และรูปแบบการเล่นจำนวนมาก[12]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "バハムート ラグーン [スーパーファミコン] / ファミ通.com". www.famitsu.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 2018-07-24.
- ↑ Siliconera Staff (September 4, 2008). "Is Square Enix working on a Bahamut Lagoon remake?". Siliconera. สืบค้นเมื่อ May 31, 2020.
- ↑ Bivens, Danny (February 5, 2014). "Japan eShop Round-Up". Nintendo World Report. สืบค้นเมื่อ May 31, 2020.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Rolando (February 11, 2007). "RPG In Memoriam: Bahamut Lagoon". Siliconera. สืบค้นเมื่อ May 31, 2020.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Taylor, Brandon (July 28, 2017). "Bahamut Lagoon". Hardcore Gaming 101. สืบค้นเมื่อ April 21, 2020.
- ↑ Cook, Dave (October 3, 2012). "Final Fantasy anniversary interview: Toriyama speaks". VG247. สืบค้นเมื่อ May 24, 2020.
- ↑ "1996 Top 30 Best Selling Japanese Console Games". The-MagicBox.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-12-21.
- ↑ Spencer (August 28, 2009). "Bahamut Lagoon Leads September's Virtual Console Lineup". Siliconera.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-01. สืบค้นเมื่อ 2009-08-28.
- ↑ "Matters of Import: Bahamut Lagoon Roars Onto The Japanese Wii U eShop - Nintendo Life". nintendolife.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-27. สืบค้นเมื่อ 2014-05-27.
- ↑ "バハムート ラグーン [スーパーファミコン] / ファミ通.com". www.famitsu.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-07. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
- ↑ Brunskill, Kerry (February 5, 2014). "Matters of Import: Bahamut Lagoon Roars Onto the Japanese Wii U eShop". Nintendo Life. สืบค้นเมื่อ April 21, 2020.
- ↑ Mackey, Bob (August 19, 2011). "Six Must-Play Super Nintendo Imports". 1UP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2016. สืบค้นเมื่อ May 15, 2020.