บาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่าง
บาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่าง | |
---|---|
ศิลปิน | ฮีเยโรนีมึส โบส (โต้เถียง) |
ปี | ศตวรรษที่ 1500 |
สื่อ | สีน้ำมันบนไม้ |
มิติ | 120 cm × 150 cm (47 นิ้ว × 59 นิ้ว) |
สถานที่ | พิพิธภัณฑ์ปราโด, มาดริด |
บาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่าง (อังกฤษ: The Seven Deadly Sins and the Four Last Things) เป็นภาพที่เชื่อว่าเป็นของฮีเยโรนีมึส โบส[1][2] หรือผู้ติดตามผลงานของเขา[3]โดยวาดเสร็จราวศตวรรษที่ 1500 หรือหลังจากนั้น. โดยภาพนี้ถูกถามถึงความเป็นเจ้าของตั้งแต่ปีค.ศ.1898 และในปีค.ศ.2015 ทาง Bosch Research Conservation Project อ้างว่าภาพนี้เป็นของผู้ติดตาม แต่นักวิชาการที่พิพิธภัณฑ์ปราโดปฏิเสธคำกล่าวนี้
วงกลมเล็ก ๆ สี่อันแสดงถึงสิ่งสุดท้ายสี่อย่าง ได้แก่ — ความตาย, การตัดสิน, สวรรค์ และนรก — ที่อยู่ล้อมรอบวงกลมใหญ่ที่มีบาปเจ็ดประการอยู่ ได้แก่: โทสะที่ด้านล่าง หลังจากนั้น (ตามเข็มนาฬิกา) คือริษยา, โลภะ, ตะกละ, เกียจคร้าน, ความฟุ่มเฟือย (หลังจากนั้นถูกเปลี่ยนเป็นราคะ) และอัตตา โดยใช้บาปเหล่านี้เป็นการกระทำในชีวิตมากกว่าการแสดงบาปในเชิงเปรียบเทียบ.[4]
ที่ใจกลางของวงกลมใหญ่ ซึ่งดูเหมือนดวงเนตรของพระเจ้า ตรงที่ "รูม่านตา" คือจุดที่มองเห็นพระเยซูโผล่ออกจากโลง. ข้างใต้ภาพเขียนด้วยภาษาลาตินว่า Cave cave d[omi]n[u]s videt ("ระวัง, ระวัง, พระเจ้าทรงมองเห็น").
ข้อความทั้งด้านบนและล่างของตรงกลางภาพคือภาษาลาตินของเฉลยธรรมบัญญัติ 32:28–29 โดยที่ "พวกเขาเป็นชนชาติที่ไร้ความคิด ขาดความฉลาดหลักแหลม" อยู่ด้านบน และ "ถ้าเพียงแต่พวกเขาฉลาดและเข้าใจ และมองออกว่าบั้นปลายของตนจะเป็นเช่นใด!" อยู่ด้านล่าง
เนื้อหา[แก้]
แต่ละช่องในวงกลมรอบนอกจะแสดงถึงบาปต่าง ๆ ที่เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้ (ภาษาลาตินอยู่ในวงเล็บ):
- ตะกละ (gula): คนเมากำลังดื่มเหล้าจากขวดในขณะที่คนอ้วนกินอย่างตะกละ, โดยไม่สนใจลูกชายที่อ้วนพอ ๆ กับเขา
- เกียจคร้าน (acedia): ชายขี้เกียจหลับหน้าเตาผิง โดยที่ความศรัทธาปรากฏอยู่ในฝันของเขา ในร่างของแม่ชี เพื่อเตือนให้เขาขอพรต่อ
- ราคะ (luxuria): คู่รักสองคู่กำลังไปปิกนิกในเต้นสีชมพู โดยมีตัวตลกสองคน (ด้านขวา) สร้างความสนุกให้แก่พวกเขา
- อัตตา (superbia): มองจากคนดูที่อยู่ข้างหลัง, ผู้หญิงคนนั้นกำลังดูเงาสะท้อนของเธอในกระจกที่ถือโดยปีศาจ
- โทสะ (ira): ผู้หญิงคนนั้นพยายามทำให้ชายที่กำลังเมาสองคนให้ทะเลาะกัน
- ริษยา (invidia): คู่รักที่ยืนที่หน้าประตูรู้สึกอิจฉาที่มองชายร่ำรวยที่มีเหยี่ยวบนข้อมือและมีบริวารช่วยยกของหนักให้เขา ในขณะที่ลูกสาวกำลังจีบผู้ชายที่หน้าต่าง โดยที่ตาของเธอกำลังมองกระเป๋าที่เต็มด้วยเงินที่อยู่บนเอวของเขา
- โลภะ (avaricia): ในคดีหนึ่ง ผู้พิพากษารับฟังแค่ฝ่ายเดียว ในขณะที่กำลังจ่ายสินบนอีกฝ่าย
วงกลมเล็ก ๆ ทั้งสี่อันมีรายละเอียด ดังนี้: "การตายของคนบาป" ความตายยืนอยู่ที่บันไดหน้าประตู พร้อมกับเทวทูตและมาร ในขณะที่นักบวชกำลังให้เขาพูดวาจาสุดท้าย. "ความรุ่งโรจน์" ผู้ที่ถูกช่วยเหลือจะถูกนำเข้าสรวรรค์ โดยมีพระเยซูกับนักบุญอยู่ในนั้น ที่ประตูสวรรค์ เทวทูตกำลังขับไล่มารที่กำลังวางกับดักผู้หญิงคนหนึ่ง และนักบุญปีเตอร์ทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตู. "การพิพากษาครั้งสุดท้าย" พระคริสต์ทรงแสดงแสงราศี ในขณะที่เทวทูตกำลังปลุกคนตายให้ฟื้นคืนชีพ. "นรก" ปีศาจกำลังลงโทษผู้ทำบาปตามบาปที่ตนได้ก่อไว้ในนรก
รายละเอียด[แก้]
บาป 7 ประการ[แก้]
ตะกละ (Gula)
เกียจคร้าน (Accidia)
ราคะ (Luxuria)
อัตตา (Superbia)
โทสะ (Ira)
ริษยา (Invidia)
โลภะ (Avaricia)
สิ่งสุดท้ายสี่อย่าง[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: บาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่าง |
- ปฏิทินนาฬิกา (Calendar Clock Face)
- วงล้อแห่งโชคชะตา
- ภวจักร (Bhavacakra)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Silva Maroto, Pilar, บ.ก. (2016). El Bosco. La exposición del V centenario. Madrid: Museo Nacional del Prado. ISBN 978-84-848-0316-4..
- ↑ C. Garrido and R. Van Schoote (2001). Bosch At The Museo Del Prado: a technical Study. Aldeasa, Madrid. ISBN 978-8480032650
- ↑ Ilsink, Matthijs; Koldeweij, Jos (2016). Hieronymus Bosch: Painter and Draughtsman – Catalogue raisonné. Yale University Press. p. 504. ISBN 978-0-300-22014-8.
- ↑ Claudia Lyn Cahan and Catherine Riley (1980). Bosch~Bruegel and the Northern Renaissance. Avenal Books. ISBN 0-517-30373-6.