บาบุลมันดับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บาบ เอล แมนเดบ)
บาบุลมันดับ
บาบุลมันดับกับรายละเอียด
บาบุลมันดับตั้งอยู่ในเยเมน
บาบุลมันดับ
บาบุลมันดับ
พิกัด12°35′N 43°20′E / 12.583°N 43.333°E / 12.583; 43.333พิกัดภูมิศาสตร์: 12°35′N 43°20′E / 12.583°N 43.333°E / 12.583; 43.333
ประเทศในลุ่มน้ำจิบูตี, เอริเทรีย และเยเมน
ช่วงยาวที่สุด31 ไมล์ (50 กิโลเมตร)
ช่วงสั้นที่สุด16 ไมล์ (26 กิโลเมตร)
ความลึกโดยเฉลี่ย−609 ฟุต (−186 เมตร)
เกาะเจ็ดพี่น้อง, โดเมรา, บะรีม

บาบุลมันดับ (อาหรับ: باب المندب, แปลว่า ประตูแห่งการคร่ำครวญ)[1] เป็นช่องแคบอยู่ทางใต้สุดของทะเลแดง ตั้งอยู่ระหว่างประเทศเยเมนในคาบสมุทรอาหรับ กับประเทศจิบูตีและประเทศเอริเทรียในแอฟริกาตะวันออก

ชื่อ[แก้]

แผนที่ความลึกน้ำของทะเลแดง โดยบาบุลมันดับอยู่ทางล่างขวา

ช่องแคบได้ชื่อมาจากความอันตรายในการเดินทางผ่านบริเวณนี้ หรือตามตำนานอาหรับที่ว่ามีผู้ที่จมน้ำจากแผ่นดินไหวที่แยกคาบสมุทรอาหรับจากจะงอยแอฟริกา[2]

ประวัติ[แก้]

บาบุลมันดับเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเดินเรือระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียมาตั้งแต่โบราณ ตั้งแต่ก่อนการขุดคลองสุเอซ โดยจากคาบสมุทรไซนาย ผ่านทะเลแดง จะต้องผ่านบาบุลมันดับก่อนเข้าสู่อ่าวเอเดน ทะเลอาหรับ และมหาสมุทรอินเดีย ในปี ค.ศ. 2006 ประมาณการว่ามีการขนส่งน้ำมันดิบผ่านช่องแคบนี้วันละ 3.3 ล้านบาร์เรล จากปริมาณการขนส่งทั่วโลกวันละ 43 ล้านบาร์เรล[3]

ปัจจุบันมีการนำเสนอโครงการก่อสร้างสะพานข้ามช่องแคบนี้เป็นระยะทาง 28.5 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างจิบูตีกับเยเมน โดยบริษัท Middle East Development LLC ของเฏาะรีก บิน ลาดิน นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย พี่ชายต่างมารดาของอุซามะฮ์ บิน ลาดิน[4] เมื่อสะพานนี้สร้างเสร็จจะเป็นสะพานขึงที่มีช่วงกลางยาวที่สุดในโลก (4.987 กิโลเมตร)[5]

ภูมิภาคย่อย[แก้]

ประชากร[แก้]

บาบุลมันดับ:[6]
ประเทศ พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
ประชากร
(ประมาณ ค.ศ. 2016)
ความหนาแน่นประชากร
(ต่อตารางกิโลเมตร)
เมืองหลวง จีดีพี (ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ) ล้านดอลลาร์สหรัฐ จีดีพีต่อหัว (ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ) ดอลลาร์สหรัฐ
เยเมน เยเมน 527,829 27,392,779 44.7 ซานา $58,202 $2,249
เอริเทรีย เอริเทรีย 117,600 6,380,803 51.8 แอสมารา $9.121 $1,314
จิบูตี จิบูตี 23,200 846,687 37.2 จิบูตี $3.327 $3,351
รวม 668,629 34,620,269 29.3 ต่อตารางกิโลเมตร หลายแบบ $70,650 $1841

อ้างอิง[แก้]

  1. Wehr's Arabic-English Dictionary, 1960.
  2. Baynes, T. S., บ.ก. (1878), "Bab-el-Mandeb" , Encyclopædia Britannica, vol. 3 (9th ed.), New York: Charles Scribner's Sons, p. 179
  3. World Oil Transit Chokepoints, Energy Information Administration, US Department of Energy
  4. BBC NEWS | Africa | Tarek Bin Laden's Red Sea bridge
  5. http://enr.construction.com/news/intl/archives/070501.asp
  6. "CIA World Factbook". The World Factbook. Langley, Virginia: Central Intelligence Agency.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]