บาทบริจาริกาของพระมหากษัตริย์เกาหลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แนมย็องบู (เกาหลี: 내명부) หรือ ธรรมเนียมบาทบริจาริกาในราชสำนักฝ่ายใน เป็นพระอิสริยยศและตำแหน่งของบาทบริจาริกาของพระมหากษัตริย์เกาหลี (รวมทั้งสมัย สามก๊ก ชิลลายุคหลัง โครยอ โชซ็อน) ในระหว่าง ราชวงศ์โชซ็อน (ไม่รวมจักรวรรดิเกาหลีในช่วงท้ายของโชซ็อน) พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของ แนกุง (내궁) และขั้นต่ำกว่าพระมเหสี แต่เหนือนางสนมขั้นต่ำและนางใน (ขั้น 5a และต่ำกว่า) นี่หมายความว่าบาทบริจาริกาขั้น 1 ถึง 4 ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์

ดังนั้นพระมเหสี (중전) จึงตามมาด้วยบาทบริจาริกาขั้นสูง 4 ขั้นแต่ละขั้นมี 2 ระดับ ระดับ a (정) อยู่เหนือระดับ b (종)

1a. บิน (빈): บาทบริจาริกาขั้น 1

1b. ควีอิน (귀인)

2a. โซอี (소의): บาทบริจาริกาขั้น 2

2b. ซุกอี (숙의)

3a. โซยง (숙용): บาทบริจาริกาขั้น 3

3b. ซุกยง (숙용)

4a. โซวอน (소원): บาทบริจาริกาขั้น 4

4b. ซุกวอน (숙원)

สำหรับขั้น บิน กษัตริย์และพระมเหสีจะแนบคำนำหน้าร่วมกับอักษร/ส่วนพระองค์ของบาทบริจาริกาเช่น ฮีบิน (ฮี = เปล่งปลั่ง), ซุก (ซุก = ความคมชัด/ความบริสุทธิ์), อีบิน (อี = ที่เหมาะสม/กระชับ)

5a. ซังกุง (상궁) และ ซังอี (상의) นางในที่ทำหน้าที่โดยตรงภายใต้สมาชิกราชวงศ์ และหัวหน้าของแผนกที่ได้รับมอบหมาย ขึ้นอยู่กับบทบาทและแผนกของพวกเขาจะมีการจัดอันดับภายในซังกุง ตัวอย่างเช่นซังกุงที่รับใช้พระมเหสีมีอำนาจและขั้นสูงกว่าซังกุงที่รับใช้ เจ้าชาย เจ้าหญิง และ/หรือ บาทบริจาริกา ซังกุงก็สามารถเป็นบาทบริจาริกาได้หากกษัตริย์แสดงความโปรดปราน พวกเขาจะถูกเรียกว่า ซังกุงถวายตัว และจะได้อยู่ขั้นสูงสุดของ 5a แม้กระนั้นเนื่องจากพวกเขายังคงอยู่ในขั้น 5 ซังกุงคนโปรดจะไม่ถือว่าเป็นสมาชิกของราชวงศ์ส่วนหนึ่งของแนกุงและถือว่าเป็นบาทบริจาริกาแทนพวกเขาก็จะเป็นที่รู้จักในฐานะนางสนมตำแหน่งซังกุงถวายตัว แม้กระนั้นซังกุงถวายตัวจะมีซังกุงของเธอเองเพื่อรับใช้เธอ

5b ถึง 9b การจัดอันดับระดับต่ำกว่าของหญิงชาววังและเด็กหญิง หญิงชาววังมักเข้ามาอยู่ในวังตั้งแต่อายุยังน้อย ดังนั้นวังจึงกลายเป็นที่อยู่อาศัยหลักของพวกเขา พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากวังยกเว้นในโอกาสพิเศษที่ได้รับอนุญาตจากผู้มีตำแหน่งสูงกว่า

พระราชินีที่มีชื่อเสียงและราชวงศ์ชั้นสูง[แก้]