บาตาเวีย (เรือ ค.ศ. 1628)
ประวัติ | |
---|---|
สาธารณรัฐดัตช์ | |
ตั้งชื่อตาม | ปัตตาเวีย, หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ |
เจ้าของ | บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (VOC) |
สร้างเสร็จ | ค.ศ. 1628 |
Maiden voyage | 29 ตุลาคม ค.ศ. 1628 |
On board: | 341 คน |
Wrecked: | 4 มิถุนายน ค.ศ. 1629 |
Location: | หมู่เกาะวัลลาบี, Houtman Abrolhos |
ลักษณะเฉพาะ | |
ชั้น: | อีสต์อินเดียแมน |
ขนาด (ตัน): | 650 ตัน |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | 1,200 ตัน |
ความยาว: | 56.6 เมตร (186 ฟุต) |
ความกว้าง: | 10.5 เมตร (34 ฟุต) |
ความสูง: | 55 เมตร (180 ฟุต) |
กินน้ำลึก: | 5.1 เมตร (17 ฟุต) |
แผนแล่นเรือ: | Full-rigged |
Sail area: | 3,100 ตารางเมตร (33,000 ตารางฟุต) |
ความเร็ว: | 5 นอต (9.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 5.8 ไมล์ต่อชั่วโมง) |
ยุทโธปกรณ์: | ปืนใหญ่เหล็กหล่อ 24 กระบอก |
บาตาเวีย (ดัตช์: Batavia) เป็นเรือของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ สร้างในค.ศ. 1628 ที่เมืองอัมสเตอร์ดัมเพื่อเป็นเรือธงลำใหม่ของบริษัท บาตาเวีย ออกเดินทางไปยังเมืองปัตตาเวีย เมืองหลวงของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์เป็นครั้งแรกในปีนั้น แต่อัปปางที่หมู่เกาะ Houtman Abrolhos ทางชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลียในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1629[1]
มีผู้โดยสาร 40 คนจมน้ำขณะว่ายไปยังเกาะหลังเรือแตก[2] ฟรันซิสโก เปลเซิร์ต ผู้บัญชาการเรือตัดสินใจล่องเรือยาวไปยังปัตตาเวียกับลูกเรือบางส่วนเพื่อขอความช่วยเหลือ โดยให้เยโรนีมัส คอร์เนลิสคอยดูแล คอร์เนลิสส่งคนราว 20 คนไปยังเกาะใกล้เคียงโดยแสร้งให้ไปหาน้ำจืดแต่มีแผนจะทิ้งคนเหล่านี้ให้ตาย[3] ก่อนตนเองจะก่อกบฏแล้วสังหารหมู่ผู้ที่ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจไปกว่าร้อยคน[4][5] ผู้หญิงบางส่วนถูกเก็บไว้เป็นทาสทางเพศ ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นหญิงงามนาม ลูเครเชีย ยันส์ ซึ่งสงวนไว้ให้คอร์เนลิสคนเดียว[6]
ขณะเดียวกันกลุ่มที่ถูกส่งไปค้นพบน้ำจืดอย่างไม่คาดฝัน และทราบเรื่องที่คอร์เนลิสก่อกบฏและฆ่าผู้คน กลุ่มคนเหล่านี้นำโดยวีบบี เฮย์สจึงตัดสินใจปราบคอร์เนลิส[7] ทั้งสองฝ่ายสู้รบกันหลายครั้งจนกระทั่งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1629 เปลเซิร์ตกลับมาและทราบเรื่องที่เกิดขึ้น เขาทำการสอบสวนและประหารชีวิตคอร์เนลิสและพวกอีกหกคน กลายเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ถูกประหารชีวิตตามกฎหมายในออสเตรเลีย[8] ส่วนพวกของคอร์เนลิสอีกสองคนที่ทำผิดเล็กน้อยถูกปล่อยทิ้งในออสเตรเลียแผ่นดินใหญ่ กลายเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่อาศัยในออสเตรเลียอย่างถาวร[9] จากผู้โดยสารกว่า 300 คน มีเพียง 122 คนที่รอดชีวิตจนถึงท่าเรือเมืองปัตตาเวีย[10]
เหตุการณ์เรือ บาตาเวีย ถือเป็นหนึ่งในเรื่องสยองขวัญที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์การเดินเรือ และเป็นหัวข้อทางประวัติศาสตร์ที่มีการตีพิมพ์หลายครั้งนับตั้งแต่ครั้งแรกในค.ศ. 1647 บาตาเวีย เป็นอีกหนึ่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับชาวยุโรปที่ติดต่อทวีปออสเตรเลีย นอกเหนือจากเรื่องการส่งนักโทษอังกฤษมาคุมขังที่นี่ สิ่งเกี่ยวข้องกับ บาตาเวีย อย่างท้ายเรือและโครงกระดูกผู้เสียชีวิตถูกเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์ในเมืองฟรีแมนเทิล รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย[11] ขณะที่แบบจำลอง บาตาเวีย ถูกจอดเทียบท่าอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในเมืองเลลีสตัด ประเทศเนเธอร์แลนด์[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Batavia". Department of Maritime Archaeology Online Databases. Western Australian Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ธันวาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2007.
- ↑ Harris, Eleri (August 26, 2011). "Treasure Trove: The Batavia". ABC Local. สืบค้นเมื่อ January 8, 2022.
- ↑ "Batavia's Graveyard". Houtman Albrolhos. Perth: VOC Historical Society. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2009.
- ↑ "The Batavia Mutiny". Leben (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2009-01-01. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.
- ↑ Dash 2002, p. 138.
- ↑ Batavia (1629): giving voice to the voiceless – Symposium (PDF) (booklet). Nedlands: University of Western Australia. 2017-10-07. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-20. สืบค้นเมื่อ 2020-03-14.
- ↑ Godard, Philippe (1993). The first and last voyage of the Batavia. Perth: Abrolhos. OCLC 69060946. ISBN 0-646-10519-1.
- ↑ "Batavia's History". Western Australian Museum. Government of Western Australia. สืบค้นเมื่อ 19 November 2015.
- ↑ Leavesley, James H. (2003). "The 'Batavia', an apothecary, his mutiny and its vengeance" (PDF). Vesalius. IX (2): 22–24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-13. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
- ↑ Ariese, Csilla. (2012). Databases of the people aboard the VOC ships Batavia (1629) & Zeewijk (1725) : an analysis of the potential for finding the Dutch castaways' human remains in Australia. Australian National Centre of Excellence for Maritime Archaeology. Fremantle, W.A.: Australian National Centre of Excellence for Maritime Archaeology. p. 5. ISBN 9781876465070. OCLC 811789103.
- ↑ "Batavia Gallery". Western Australian Museum. สืบค้นเมื่อ January 8, 2022.
- ↑ "Shipyard". Batavialand. สืบค้นเมื่อ January 8, 2022.