บันไดเสียงเมเจอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บันไดเสียงเมเจอร์ที่เริ่มด้วยคีย์ขาว

บันไดเสียงเมเจอร์ (อังกฤษ: major scale) หรือ บันไดเสียงไอโอเนียน (อังกฤษ: Ionian scale) เป็นบันไดเสียงหนึ่งที่ใช้กันมากที่สุด โดยเฉพาะดนตรีตะวันตก เป็นส่วนหนึ่งของบันไดเสียงไดอาโทนิก สร้างขึ้นจากโน้ต 7 ตัว เหมือนกับบันไดเสียงดนตรีส่วนใหญ่ โน้ตตัวที่แปดเป็นโน้ตตัวที่ซ้ำกับตัวที่หนึ่ง แต่มีความถี่เป็นสองเท่า หรือเรียกว่าออกเทฟที่สูงกว่าของโน้ตเดียวกัน (มาจากภาษาละติน "octavus" แปลว่า ลำดับที่แปด)

บันไดเสียงเมเจอร์ที่เขียนง่ายที่สุดคือ ซีเมเจอร์ ซึ่งเป็นบันไดเสียงเมเจอร์ที่ไม่มีชาร์ปหรือแฟลต

 {
\override Score.TimeSignature #'stencil = ##f
\relative c' { 
  \clef treble \time 7/4
  c4 d e f g a b c

} }

บันไดเสียงเมเจอร์มีความสำคัญในดนตรียุโรป โดยเฉพาะในเพลงสมัยนิยม

โครงสร้าง[แก้]

รูปแบบขั้นบันไดเต็มเสียงและครึ่งเสียงของบันไดเสียงเมเจอร์

บันไดเสียงเมเจอร์เป็นบันไดเสียงไดอาโทนิก ลำดับของขั้นคู่ระหว่างโน้ตในบันไดเสียงเมเจอร์มีดังนี้

  • เต็ม เต็ม ครึ่ง เต็ม เต็ม เต็ม ครึ่ง

โดยที่ "เต็ม" หมายถึง เต็มเสียง (เส้นโค้งรูปตัวยูสีแดงดังรูป) และ "ครึ่ง" หมายถึง ครึ่งเสียง (เส้นหักเหลี่ยมสีแดงดังรูป)

บันไดเสียงเมเจอร์อาจมองได้เป็นกลุ่มโน้ตของเตตระคอร์ด 2 กลุ่ม โดยที่ตัวสุดท้ายของกลุ่มแรกห่างจากตัวแรกของกลุ่มที่สอง 1 เสียงเต็ม แต่ละเตตระคอร์ดจะประกอบไปด้วย 2 เสียงเต็ม แล้วตามด้วย 1 เสียงครึ่ง ดังนี้

  • เต็ม เต็ม ครึ่ง

ลำดับขั้นของบันไดเสียง[แก้]

บันไดเสียงซีเมเจอร์

  • โน้ตตัวที่ 1 เรียกว่า โทนิก
  • โน้ตตัวที่ 2 เรียกว่า ซุปเปอร์โทนิก
  • โน้ตตัวที่ 3 เรียกว่า มีเดียนต์
  • โน้ตตัวที่ 4 เรียกว่า ซับโดมิแนนต์
  • โน้ตตัวที่ 5 เรียกว่า โดมิแนนต์
  • โน้ตตัวที่ 6 เรียกว่า ซับมีเดียนต์
  • โน้ตตัวที่ 7 เรียกว่า ลีดดิงโทน
  • โน้ตตัวที่ 8 เรียกว่า โทนิก

ดูเพิ่ม[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:บันไดเสียง