บัตเตอร์นัตสควอช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บัตเตอร์นัท สควอช)
บัตเตอร์นัตสควอช
บัตเตอร์นัตสควอชสุก
ชนิดCucurbita moschata
ต้นกำเนิดลูกผสม'กูสเนก สควอช' × 'ฮับบาร์ด สควอช'
ผู้ปรับปรุงพันธุ์ชาร์ล เลกเก็ตต์
ต้นกำเนิดปี 1940 เมืองสโตว รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
บัตเตอร์นัตสควอชผ่าตามยาว แสดงให้เห็นเมล็ด
ฟักทองบัตเตอร์นัต (ชื่อออสเตรเลีย)

บัตเตอร์นัตสควอช (Cucurbita moschata) หรือที่ชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์รู้จักกันในชื่อ ฟักทองบัตเตอร์นัต หรือ แกรมมา[1] เป็นฟักทองเทศที่เติบโตเป็นเถา รสชาติหวาน มัน คล้าย ๆ กับฟักทอง มีสีเหลืองอ่อนและส้ม โดยที่แกนเมล็ดอยู่ด้านล่างของผล เมื่อผ่าออกมาแล้ว จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีส้มเข้มขึ้นและจะมีรสหวานขึ้น เป็นแหล่งของไฟเบอร์, วิตามินซี, แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ

ถึงแม้ว่าโดยแท้จริงแล้วบัตเตอร์สควอชจะเป็นผลไม้ แต่ก็มักนำมาใช้แทนผักโดยกระบวนการต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง เช่น อบ, โซเต (ผัด), ปิ้ง, ปูว์เร ส่วนจำพวกที่นำมาทำเป็นซุปหรือบด มักทำในหม้ออบ (casserole), ขนมปัง, มัฟฟิน และพาย

ประวัติ[แก้]

ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในยุคนั้น รู้จักกันในชื่อ บัตเตอร์นัตวัลธัม ที่มาจากวัลธัม แมสซาชูเซตส์ ถูกผสมขึ้นโดยโรเบิร์ต อี. ยัง[2][3] ส่วนโดโรธี เลกเกตต์ ได้นำบัตเตอร์นัตวัลธัม มาพัฒนาต่อกับสามีคนล่าสุด ชาร์ล เลกเกตต์ในช่วงปี 1940 ณ เมืองสโตว รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา และต่อมาได้นำไปเสนอที่ Waltham Field Station[4] เธอยังได้บอกที่มาของชื่อไว้ด้วยว่า "ละมุนดั่งเนย หวานเหมือนถั่ว"[5]

การนำมาปรุงอาหาร[แก้]

หนึ่งในวิธีปรุงที่ใช้กันมากที่สุดคือการอบ ก่อนอบ ก็จะผ่าบัตเตอร์สควอชตามยาว (ในภาพ) ทาด้วยน้ำมันบาง ๆ หรือวางบนน้ำที่เทลงไปในกระทะเล็กน้อย นำด้านที่ผ่าคว่ำลงไปบนถาด และอบเป็นเวลา 45 นาทีหรือจนกว่าจะนุ่ม เมื่ออบแล้ว สามารถนำมาปรุงอาหารในแบบอื่น ๆ ได้อีกหลายวิธี[6]

บัตเตอร์นัตสควอช (สด)
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน188 กิโลจูล (45 กิโลแคลอรี)
11.69 g
ใยอาหาร2 g
0.1 g
1 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(67%)
532 μg
(39%)
4226 μg
ไทอามีน (บี1)
(9%)
0.1 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(2%)
0.02 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(8%)
1.2 มก.
(8%)
0.4 มก.
วิตามินบี6
(12%)
0.154 มก.
โฟเลต (บี9)
(7%)
27 μg
วิตามินซี
(25%)
21 มก.
วิตามินอี
(10%)
1.44 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(5%)
48 มก.
เหล็ก
(5%)
0.7 มก.
แมกนีเซียม
(10%)
34 มก.
แมงกานีส
(10%)
0.202 มก.
ฟอสฟอรัส
(5%)
33 มก.
โพแทสเซียม
(7%)
352 มก.
สังกะสี
(2%)
0.15 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

หากนำมาทำเป็นผลไม้ ก็จะนำมาปอกเปลือก หักกิ่ง และคว้านเมล็ดออก ซึ่งไม่ค่อยนำมารับประทานในรูปแบบนี้เท่าใดนัก[7] อย่างไรก็ดี เมล็ดนั้นยังใช้ได้อีก ไม่ว่าจะดิบหรืออบแล้ว และเปลือกก็ยังใช้ได้เมื่ออบแล้ว

ออสเตรเลีย[แก้]

ในออสเตรเลีย บัตเตอร์สควอชนั้นถือว่าเป็นฟักทอง และสามารถใช้แทนกับฟักทองชนิดอื่น ๆ ได้

แอฟริกาใต้[แก้]

ในแอฟริกาใต้ บัตเตอร์สควอชมักนำมาทำเป็นซุปหรือนำไปย่างทั้งผล บัตเตอร์สควอชย่างมักจะปรุงด้วยเครื่องเทศ เช่น จันทร์เทศและซินนามอน หรือยัดไส้ (เช่น ปวยเล้งและเฟตา) ก่อนจะห่อฟอยล์แล้วย่าง

บัตเตอร์สควอชย่างมักจะถูกเสิร์ฟเป็นเครื่องเคียงกับเบรส (braais, บาร์บีคิว) และเสิร์ฟเป็นซุปเป็นจานหลัก

นิวซีแลนด์[แก้]

บัตเตอร์ัทสควอชถูกนำเข้ามาในนิวซีแลนด์ในปี 1950 โดย พี่น้องอาเธอร์และเดวิด แฮร์ริสันที่เป็นคนเพาะปลูกต้นไม้และชาวสวนในตลาดของ โอตากิ นิวซีแลนด์[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Commercial production of pumpkins and grammas". Department of Agriculture and Fisheries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-06. สืบค้นเมื่อ 29 June 2016.
  2. Massachusetts Department of Agriculture Farm & Market Report, Vol. 78, No. 10, October 2001
  3. "Obituaries: Robert E. Young". The Campus Chronicle. 21 September 2001. สืบค้นเมื่อ 16 November 2014.
  4. "A Familiar Squash with Surprising Origins". Apple Country Living. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-26. สืบค้นเมื่อ 15 September 2013.
  5. "History of Cucurbita Moschata (Butternut Squash)". tropical-fresh.com. สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.
  6. "Butternut Squash". Traditional-Foods.com. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2012.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  7. "Butternut Squash". Veg Box Recipes. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 15 September 2013.