ข้ามไปเนื้อหา

บัญญัติตะวันตก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาตำราของโลกตะวันตก” (Great Books of the Western World) เป็นความพยายามในการรวบรวมบัญญัติตะวันตกเข้าเป็นชุดเดียวกันที่มีด้วยกันทั้งหมด 60 เล่ม

บัญญัติตะวันตก (อังกฤษ: Western canon) เป็นคำที่หมายถึงตำราที่ถือว่าเป็น “บัญญัติ” หรือ “แม่แบบ” ของวรรณกรรมตะวันตก และที่กว้างกว่านั้นก็จะรวมทั้งศิลปะที่มีอิทธิพลในการเป็นพื้นฐานในการวิวัฒนาการของรูปแบบของวัฒนธรรมตะวันตก งานเหล่านี้เป็นประมวลงานที่ถือว่ามี “คุณค่าอันประมาณมิได้ทางด้านศิลปะ” บัญญัติดังกล่าวมีความสำคัญต่อทฤษฎี “การศึกษาชั่วอมตะ” (Educational perennialism) และ การวิวัฒนาการของ “วัฒนธรรมระดับสูง

แม้ว่าบัญญัติตะวันตกเดิมจะถือกันว่าเป็นสิ่งสำคัญ แต่กลายมาเป็นหัวข้อที่สร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในทางปฏิบัติการโต้แย้งและความพยายามที่จะให้คำนิยามของบัญญัติมักจะลงเอยด้วยรายชื่อหนังสือประเภทต่างๆ ที่รวมทั้ง: วรรณคดีที่รวมทั้ง กวีนิพนธ์, นวนิยาย และ บทละคร, งานเขียนอัตชีวประวัติและจดหมาย, ปรัชญา และประวัติศาสตร์ และหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์อีกสองสามเล่มที่ถือว่ามีความสำคัญ

ตัวอย่าง

[แก้]

ตัวอย่างของรายชื่อฉบับย่อของบัญญัติตะวันตกที่ผู้เลือกเห็นว่าเป็นตำราที่สำคัญที่สุดของบัญญัติก็ได้แก่:

นอกจากนั้นรายชื่อหนังสือที่ควรอ่านของมหาวิทยาลัยก็ยังเป็นแหล่งที่ใช้เป็นแนวบัญญัติตะวันตกได้ด้วย:

รายชื่อตำราที่ยาวกว่าก็ได้แก่:

ที่มา

[แก้]

กระบวนการรวบรวมรายชื่อตำรา—นิยามขอบเขตของบัญญัติ—เป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด ความพยายามครั้งสำคัญที่ควรเป็นที่ทราบในโลกของผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดก็ได้แก่โครงการ “มหาตำราของโลกตะวันตก” โครงการนี้ทำกันขึ้นราวครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ขยายออกมาจากหลักสูตรของมหาวิทยาลัยชิคาโก อธิการบดีของมหาวิทยาลัยโรเบิร์ต ฮัทชินส และผู้ร่วมงาน มอร์ติเมอร์ แอดเลอร์ได้สร้างโครงการที่รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ควรอ่าน, หนังสือ และ แผนการจัดรายการหนังสือสำหรับสโมสรนักอ่านให้แก่สาธารณชนขึ้น

ความพยายามก่อนหน้านั้น “ฮาร์วาร์ดคลาสสิก” (ค.ศ. 1909) เป็นผลงานของอธิการบดีของมหาวิทยาลัยชาร์ลส์ ดับเบิลยู. อีเลียตของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ใช้ปรัชญาเดียวกับทอมัส คาร์ลีลย์ที่ว่า:

... มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือประมวลตำราทอมัส คาร์ลีลย์

ข้อโต้แย้ง

[แก้]

ความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาและสถานะของบัญญัติตะวันตกเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งทางการเมืองกันอย่างรุนแรงมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา บัญญัติตะวันตกได้รับการโจมตีว่าเป็นหลักสูตรที่เขียนขึ้นส่วนใหญ่โดย “ชายผิวขาวชาวตะวันตกที่หาชีวิตไม่แล้ว” ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้แทนของแนวคิดของประชากรกลุ่มอื่นๆ ในสังคมร่วมสมัยรอบโลก แต่แอลแลน บลูมคัดค้านอย่างรุนแรงในหนังสือ “The Closing of the American Mind” (อังกฤษ: “การปิดหูปิดตาของชาวอเมริกัน”) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1987 นักเขียนเช่นศาสตราจารย์แฮโรลด์ บลูมแห่งมหาวิทยาลัยเยลก็เช่นกัน ที่ให้เหตุผลสนับสนุนการมีบัญญัติตะวันตกอย่างแข็งขัน โดยทั่วไปแล้วบัญญัติดังกล่าวก็ยังคงเป็นแนวคิดโดยทั่วไปของสถาบันการศึกษาเกือบทุกสถาบัน แต่กระนั้นการโต้เถียงถึงคุณค่าและผลสะท้อนของบัญญัติตะวันตกก็คงยังดำเนินต่อไป

ผู้สนับสนุนบัญญัติกล่าวว่าผู้ค้านมีเหตุผลทางการเมืองแฝงอยู่ และการวัดคุณภาพของงานที่ถือว่าเป็นตัวแทนของบัญญัติตะวันตกเป็นการวัดคุณค่าทางสุนทรียภาพมากกว่าที่จะเป็นคุณค่าทางการเมือง ฉะนั้นการค้านบัญญัติตะวันตกทางด้านการเมืองจึงเป็นการค้านที่ผิดประเด็น

ประเด็นหลักของผู้ค้านบัญญัติวรรณคดีคือปัญหาที่ว่าผู้ใดควรจะมีอำนาจในการเลือกว่าหนังสือเล่มใดมีค่าพอที่จะควรอ่านหรือหรือหนังสือเล่มใดมีคุณค่าไม่เพียงพอแก่การอ่าน

ที่มาของคำว่า “ตะวันตก” ที่หมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์เริ่มใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1800 ก่อหน้านั้นชนส่วนใหญ่กล่าวถึงชาติ, ภาษา, บุคคล หรือ ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ต่างๆ แต่จะไม่มีความคิดเกี่ยวกับชาติ “ตะวันตก” เช่นที่ใช้กันในปัจจุบัน แผนที่ที่ใช้กันก็เป็นแผนที่ที่หยาบ ไม่ตรงต่อความเป็นจริง และ ไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายก่อนคริสต์ทศวรรษ 1800 ฉะนั้นการนิยามความแตกต่างทางภูมิภาคและการเมืองจึงเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำ มีคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะมีแผนที่ที่มีคุณภาพ และยิ่งน้อยไปกว่านั้นก็คือผู้ที่ได้มีโอกาสพบปะกับผู้ที่อาศัยอยู่ในดินแดนอันห่างไกล ปรัชญาหรือแนวคิดตะวันตกที่เราทราบกันในปัจจุบันจึงเป็นปรัชญาที่รูปแบบของความคิดที่มาจากคริสต์ทศวรรษ 1800 ถึง 1900 ที่มีรากเหง้าส่วนใหญ่แล้วมาจากยุโรป ความหมายของปรัชญาหรือแนวคิดตะวันตกที่เราทราบเป็นปรัชญาที่มีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมกรีก-โรมัน และ จูเดโอ-คริสเตียน, เรอเนสซองซ์, ยุคเรืองปัญญา และ การแสวงหาอาณานิคม ฉะนั้นคำว่า “แนวคิดตะวันตก” บางครั้งจึงเป็นสิ่งที่มิได้ช่วยให้กระจ่างขึ้นเท่าใดนักหรือกำกวม เพราะอาจจะเป็นการตีความหมายของธรรมเนียมนิยมต่างๆ, กลุ่มการเมืองต่างๆ, กลุ่มศาสนาต่างๆ และ นักเขียนแต่ละคน อย่างกว้างขวางและแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีบ้างที่แนวต่างๆ ดังกล่างก็อาจจะมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอยู่บ้าง

งาน

[แก้]

งานที่มักจะถือกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของบัญญัติตะวันตกรวมงานนวนิยาย และมหากาพย์, กวีนิพนธ์, ดนตรี, บทละคร และงานวรรณคดีในรูปแบบอื่นของวัฒนธรรมตะวันตก (และเมื่อไม่นานมานี้ก็รวมงานที่ไม่ใช่งานของวัฒนธรรมตะวันตกด้วย) นอกจากนั้นก็ยังรวมงานสารคดีโดยเฉพาะงานทางด้านศาสนา, เทพวิทยา, วิทยาศาสตร์, ปรัชญา, เศรษฐกิจ, การเมือง และ ประวัติศาสตร์

งานเขียนที่กล่าวถึงบัญญัติตะวันตกที่เป็นทั้งงานสนับสนุนและงานคัดค้านก็ได้แก่:

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]