บักกวย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บักกวย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: กุหลาบ
วงศ์: กุหลาบ
สกุล: บักกวย
(Dum.Cours.) C.K.Schneid., 1906
สปีชีส์: Pseudocydonia sinensis
ชื่อทวินาม
Pseudocydonia sinensis
(Dum.Cours.) C.K.Schneid., 1906
ชื่อพ้อง[1][2]
  • Chaenomeles sinensis (Thouin) Koehne
  • Cydonia sinensis Thouin
  • Pyrus cathayensis Hemsl.
  • Pyrus sinensis (Thouin) Spreng.

บักกวย (จีน: 木瓜, เพ็งอิม: bhag8 guê1, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pseudocydonia sinensis) เป็นพืชสายพันธุ์เดียวในสกุล Pseudocydonia[1] วงศ์กุหลาบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน มณฑลซานตง เหอเป่ย์ ส่านซี หูเป่ย์ อานฮุย เจียงซู เจ้อเจียง เจียงซี ฝูเจี้ยน กวางตุ้ง กว่างซี กุ้ยโจว และ อื่น ๆ[3] ดอกไม้สีชมพูอ่อนห้ากลีบบานในฤดูใบไม้ผลิ ผลสุกในฤดูใบไม้ร่วงเป็นสีเหลืองเข้มรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีกลิ่นหอมแรง อาจนำมาต้มหรือจุ่มในสารละลายน้ำตาลเพื่อการบริโภค บักกวยเป็นไม้ประดับที่พบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออก และเนื้อไม้ยังใช้ทำเป็นเครื่องเรือนได้อีกด้วย

ชื่อเรียก[แก้]

ชื่อพืชชนิดนี้ "บักกวย" มาจากภาษาจีนคำว่า 木瓜 โดยอ่านแบบภาษาแต้จิ๋ว บ้างก็เรียกเพี้ยนเป็น "บะก้วย" ส่วนจีนกลางอ่านว่า มู่กวา (mù guā) อย่างไรก็ตามคำว่า 木瓜 นี้ยังหมายถึงพืชชนิดอื่น เช่น มะละกอ หรือ โบเกะ ได้ด้วย เพื่อแยกแยะ ในภาษาจีนจึงมักเรียกพืชชนิดนี้ว่า 光皮木瓜 (กวางผีมู่กวา) และเรียกมะละกอว่า 番木瓜 (ฟานมู่กวา) แต่ในภาษาพูดโดยทั่วไปก็ยังคงเรียกทั้งคู่ว่า 木瓜 เฉย ๆ

ในภาษาไทยถิ่นเหนือมีคำว่า "บะก้วยเต้ด" แต่นั่นหมายถึงมะละกอ ไม่ได้หมายถึงพืชชนิดนี้[4]

ลักษณะ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Pseudocydonia sinensis". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 29 December 2017.
  2. "Pseudocydonia sinensis (Dum.Cours.) C.K.Schneid". Plants of the World Online. Kew Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-11-18.
  3. eFloras. "Chaenomeles sinensis". Flora of China. Missouri Botanical Garden, St. Louis, MO & Harvard University Herbaria, Cambridge, MA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-05. สืบค้นเมื่อ 2019-11-18.
  4. บะก้วยเต้ด คืออะไรมาดูกัน - ภาษาเหนือ