บริโภคนิยม
บริโภคนิยม (อังกฤษ: consumerism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจที่ดลใจคนจำนวนมาก อย่างการครอบครองสินค้าและใช้บริการเกินกว่าสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตหรือการแสดงสถานะแบบดั้งเดิม สิ่งนี้เกิดขึ้นในยุโรปตะวันตกก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมและแพร่หลายไปทั่วในราว ค.ศ. 1900 ในทางเศรษฐศาสตร์ บริโภคนิยมหมายถึงนโยบายที่เน้นการบริโภค มีการคำนึงถึงการเลือกอย่างเสรีของผู้บริโภคที่ควรแจ้งให้ผู้ผลิตทราบอย่างชัดเจนว่าจะผลิตอะไรและผลิตอย่างไร ด้วยเหตุนี้จึงมีอิทธิพลต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจของสังคมด้วย
บริโภคนิยมไดรับคำวิจารณ์จากทั้งบุคคลที่เลือกวิธีอื่นในการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจ (เช่น เลือกใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย หรือการใช้ชีวิตช้า ๆ) และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่มีต่อโลก ผู้เชี่ยวชาญมักยืนยันว่าการบริโภคนิยมมีข้อจำกัดทางกายภาพ[1] เช่น การเติบโตที่จำเป็นและการบริโภคมากเกินไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า นี่อาจรวมถึงผลกระทบโดยตรง เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปหรือของเสียจำนวนมากจากสินค้าใช้แล้วทิ้ง และผลกระทบสำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในทำนองเดียวกัน การวิจัยและการวิพากษ์วิจารณ์บางส่วนมุ่งเน้นไปที่ผลทางสังคมวิทยาของบริโภคนิยม เช่น การเสริมสร้างอุปสรรคทางชนชั้นและการสร้างความไม่เท่าเทียมกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Theory of the Leisure Class Summary (ภาษาอังกฤษ).