บ้านปู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
ประเภทพลังงานครบวงจร
ISINTH0148010R15 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมพลังงาน
รูปแบบบริษัทมหาชน SET:BANPU
ก่อนหน้าบริษัท เหมืองบ้านปู จำกัด (2526-2532)
ก่อตั้ง16 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 (40 ปี)
สำนักงานใหญ่อาคารธนภูมิ ชั้น 26-28, 1550 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร [1]
ผลิตภัณฑ์ถ่านหิน ก๊าซ ไฟฟ้า และพลังงานหมุนเวียน
เว็บไซต์http://www.banpu.com

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: BANPU PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:BANPU)[2] เป็นบริษัทดำเนินธุรกิจถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ ธุรกิจไฟฟ้า และเทคโนโลยีพลังงาน ทั้งในและต่างประเทศมากว่า 30 ปี ในด้านการลงทุน สำรวจ พัฒนา และดำเนินการผลิตถ่านหินประเภทให้ความร้อน (Thermal Coal) ตลอดจนถ่านหินสำหรับอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก (Coking Coal) มีความเชี่ยวชาญทางด้านเหมืองถ่านหินแบบเปิดและเหมืองใต้ดิน บริษัทยังมีการพัฒนา Smart Energy Solution

ปัจจุบันบริษัทฯ มีฐานธุรกิจใน 9 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา นาย ชนินท์ ว่องกุศลกิจ เป็น ประธานกรรมการ นาง สมฤดี ชัยมงคล เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในการจัดอันดับ Forbes Global 2000 ประจำปี 2555 บ้านปูได้รับการจัดอันดับให้เป็น บริษัท มหาชนที่1707-ใหญ่ที่สุดในโลก[3]

"บ้านปู" เป็นผู้รับผิดชอบต่อการปล่อย แก๊สเรือนกระจก 0.11% ของอุตสาหกรรมทั่วโลกตั้งแต่ปี 2531 ถึง 2558 และเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนทำให้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มากที่สุดซึ่ง[4] มี "ความเสี่ยงต่อสุขภาพการดำรงชีวิตความมั่นคงทางอาหาร กับปริมาณความต้องการทางความมั่นคงของมนุษย์และการเติบโตทางเศรษฐกิจ”[5]

ประวัติ[แก้]

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2526 ภายใต้ชื่อ บริษัท เหมืองบ้านปู จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท โดยบุคคลในตระกูล ว่องกุศลกิจและเอื้ออภิญญกุล มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าทำ สัญญาเช่าช่วงการทำเหมืองถ่านหินที่เหมืองบ้านปู (BP-1) อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงาน

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2532 บริษัทฯ ได้รับอนุมัติให้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2536 ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)”

ต่อมาบริษัทฯ ได้ขยายการทำเหมืองถ่านหินเพิ่มเติมทั้งใน ประเทศไทยและในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อดำเนินการผลิต และจำหน่ายถ่านหินทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ นอกจากธุรกิจผลิตและจำหน่ายถ่านหินแล้ว บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจ ด้วยการรับจ้างขุดขนดินและถ่านหินให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สัญญาได้สิ้นสุดลงเมื่อเดือนกันยายน 2544) การผลิตและจำหน่ายแร่อุตสาหกรรม การให้บริการท่าเรือ (ซึ่งต่อมาบริษัทฯ ได้จำหน่ายธุรกิจท่าเรือและธุรกิจแร่) และการลงทุนในธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า และไอน้ำ

ปัจจุบันบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจถ่านหิน ธุรกิจไฟฟ้า และธุรกิจพลังงานทดแทน โดยมีการลงทุน ในประเทศไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศมองโกเลีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

การประกอบธุรกิจ[แก้]

ปัจจุบันบริษัทฯ กำหนดกลยุทธ์การลงทุนเป็นแบบ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

  • ธุรกิจต้นน้ำ

ผลิตและจัดจำหน่ายถ่านหิน โดยมีแหล่งผลิตอยู่ในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศออสเตรเลีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน

แก๊สธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน (Shale Gas) มีแหล่งผลิตอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ในแหล่ง Marcellus Shale รัฐเพนซิลเวเนีย

  • ธุรกิจกลางน้ำ

Coal Trading หรือ การนำถ่านหินที่มีคุณภาพค่าความร้อนต่างกันมาผสมกัน ให้ได้คุณสมบัติใหม่และจัดจำหน่ายตรงตามความต้องการของลูกค้า

  • ธุรกิจปลายน้ำ

ธุรกิจไฟฟ้า ได้แก่ โรงไฟฟ้า BLCP โรงไฟฟ้าหงสาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (CHP) 3 แห่งในสาธารณรัฐประชาชนจีน (โจวผิง เจิ้งติ้ง และหลวนหนาน) และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในจีนและญี่ปุ่น

ข้อมูลการเงินของบริษัท[6]

ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2559 จำนวน (ล้านบาท)
สินทรัพย์รวม 249,849.89
รายได้รวม 85,092.29 
กำไรสุทธิ 1,677.12
กำไรต่อหุ้น (บาท) 0.46

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[แก้]

ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 408,674,273 8.08%
2 บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด 288,309,528 5.70%
3 บริษัท ทีเอ็มอี แคปิตอล จำกัด 124,032,000 2.45%
4 นายอิสระ ว่องกุศลกิจ 118,508,880 2.34%
5 สำนักงานประกันสังคม 108,893,000 2.15%

แหล่งถ่านหิน[แก้]

  • เหมืองถ่านหินในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
    1. อินโดมินโค-บอนตัง
    2. ทรูบาอินโด
    3. บารินโต
    4. โจ-ร่ง
    5. คิทาดิน-เอ็มบาลุต
    6. คิทาดิน-ทันดุงมายัง
  • เหมืองถ่านหินประเทศออสเตรเลีย
  • เหมืองถ่านหินในสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่ เหมืองเกาเหอ และเหมืองเฮ้อปี้

อ้างอิง[แก้]

  1. รายละเอียดบริษัท/หลักทรัพย์เซ็ทเทรดดอตคอม
  2. สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  3. "Forbes Global 2000". สืบค้นเมื่อ 31 October 2020.
  4. "Top 100 producers and their cumulative greenhouse gas emissions from 1988-2015". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  5. "IPCC, 2018: Summary for Policymakers" (PDF) (Global Warming of 1.5°C. An IPCC Special Report on the impacts of global warming of 1.5°C above pre-industrial levels and related global greenhouse gas emission pathways, in the context of strengthening the global response to the threat of climate change, sustainable development, and efforts to eradicate poverty). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-23. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน แบบรายงาน56-1 บ้านปู จำกัด (มหาชน) ประจำปี :2555

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]