สรภัญญะ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ส่วนหนึ่งของ | |
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมาย | |
นิพพาน | |
พระรัตนตรัย | |
หลักปฏิบัติ | |
ศีล · สมาธิ · ปัญญา สมถะ · วิปัสสนา บทสวดมนต์ | |
คัมภีร์ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก | |
หลักธรรม | |
ไตรลักษณ์ · อริยสัจ 4 · มรรค 8 · ปฏิจจสมุปบาท · มงคล 38 | |
นิกาย | |
เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน | |
สังคม | |
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน | |
การจาริกแสวงบุญ | |
สังเวชนียสถาน · การแสวงบุญในพุทธภูมิ | |
ดูเพิ่มเติม | |
คำศัพท์ หมวดหมู่ศาสนาพุทธ |
สรภัญญะ (คำอ่านภาษาไทย: /สะระพันยะ/ หรือ /สอระพันยะ/) คือ ทำนองสำหรับสวดฉันท์[1] เป็นทำนองแบบสังโยค คือ สวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์ มักใช้สวดบูชาพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา
การสวดฉันท์ทำนองสรภัญญะมีมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนหน้านั้นนิยมสวดฉันท์ภาษาบาลี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และผู้สวดส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ ทำนองสรภัญญะไม่แพร่หลายนัก ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ป.ธ.8 องคมนตรีและเจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชกาลที่ 5 แปลบทสรรเสริญคุณต่าง ๆ เป็นฉันท์ภาษาไทย เรียก "คำนมัสการคุณานุคุณ" มี 5 ตอน คือ บทสรรเสริญพระพุทธคุณ บทสรรเสริญพระธรรมคุณ บทสรรเสริญพระสังฆคุณ บทสรรเสริญมาตาปิตุคุณ และบทสรรเสริญอาจาริยคุณตามลำดับ บทประพันธ์นี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ใช้สวดกันโดยทั่วไป และเนื่องจากบาทแรกเริ่มว่า "องค์ใดพระสัมพุทธ" จึงมักเรียว่า "บทสวดองค์ใดพระสัมพุทธ"
นอกจากบทสรรเสริญพระรัตนตรัยแล้ว ทำนองสรภัญญะยังใช้สวดคาถาบทอื่นอีก เช่น บทแปลคาถาพาหุงซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเริ่มว่า "ปางเมื่อพระองค์ปรมพุทธ"
ดูเพิ่ม[แก้]
- พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ผู้ประพันธ์บทสวดองค์ใดพระสัมพุทธฯ บทสวดทำนองสรภัญญะที่เป็นรู้จักมากที่สุดในปัจจุบัน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ระบบสืบค้นตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. ราชบัณฑิตยสถาน. เรียกข้อมูลเมื่อ 14-6-52
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิซอร์ซมี บทสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ