รามเกียรติ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์บนผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

รามเกียรติ์ เป็นวรรณกรรมที่มีเค้าโครงมาจากเรื่องรามายณะซึ่งเป็นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวอินเดียได้นำวัฒนธรรมและศาสนามาด้วย ทำให้รามายณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาค กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้นจนกลายเป็นวรรณคดีประจำชาติไป ดังปรากฏในหลายชาติ เช่น ไทย ลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนมีวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีประจำชาติทั้งสิ้น

“รามเกียรติ์” มีเค้าโครงจากวรรณคดีอินเดียคือมหากาพย์รามายณะที่ ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ฮินดู

รามเกียรติ์ในประเทศไทย[แก้]

สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ของไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ

รามเกียรติ์ไทย มีต้นตอจากรามเกียรติ์อินเดีย โดยสรุปแล้ว รามเกียรติ์ไทยได้รับโดยตรงจากรามายณะฉบับวาลมิกิจากอินเดียเหนือ ตามข้อมูลกระแสหลักของทางการไทยใช้ในการเรียนการสอนทั่วประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้

แต่หลักฐานหลายด้านจากอินเดียบ่งชัดว่ารามเกียรติ์ไทยมีต้นตอจากรามายณะฉบับ “ทมิฬ” อินเดียใต้ แต่ผ่านกัมพูชา เรื่องนี้เป็นที่รับรู้ในหมู่นักค้นคว้าสมัยก่อน และนักวิชาการบางคนสมัยปัจจุบันซึ่งรวมแล้วมีไม่มากนัก นอกจากนั้นทางการในระบบการศึกษาไทยยังใช้ข้อมูลชุดเดิมและกีดกันข้อมูลใหม่

1. มหากาพย์รามายณะของฤๅษีวาลมิกิ ซึ่งอยู่อินเดียเหนือ เป็นรากเหง้าดั้งเดิมที่รับรู้แพร่หลายทั่วโลก

2. “ทมิฬ” อินเดียใต้ รับมหากาพย์รามายณะของวาลมิกิไปแต่งเติมตามความเชื่อของคนอินเดียใต้ (ซึ่งต่างจากอินเดียเหนือ) โดยกวีชาวทมิฬด้วยการเพิ่มประเพณีสีสันสนุกสนานโลดโผนตามคติทมิฬ

3. บ้านเมืองในอุษาคเนย์โบราณใกล้ชิดวัฒนธรรม “ทมิฬ” อินเดียใต้ ผ่านการค้าระยะไกลทางทะเลสมุทรกับสุวรรณภูมิ จึงรับรามายณะฉบับ “ทมิฬ” อินเดียใต้คล้ายคลึงกัน แล้วต่างดัดแปลงแต่งเติมตัดต่อตามต้องการของท้องถิ่นตน พร้อมกันนั้นมีการแลกเปลี่ยนกันเองด้วย รามเกียรติ์ไทยก็มีที่มาอย่างเดียวกับบ้านเมืองอุษาคเนย์อื่นๆ คือ มีต้นตอจาก “ทมิฬ” อินเดียใต้ โดยเข้าถึงกัมพูชาก่อน แล้วตกทอดถึงไทยในสมัยหลัง

มีสิ่งบ่งชี้ว่ารามเกียรติ์ของไทยเกี่ยวข้องกับรามายณะฉบับอินเดียใต้ ดังเห็นจากชื่อตัวละคร, ชื่อสถานที่ และเรื่องราวเฉพาะบางตอนในรามเกียรติ์ของไทย ที่ต่างไปจากรามายณะฉบับวาลมิกิ (จากบทความเรื่อง Thai Rãmakien : Its Close Link with South India by Chirapat Prapandvidya พิมพ์ในหนังสือ 65 ปีโบราณคดี โดยสมาคมนักศึกษาเก่าคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2564 หน้า 31-74 แปลเก็บความและอธิบายความเพิ่มเติมโดย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ พิมพ์ในมติชน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม 2564 หน้า 13)

1. รามเกียรติ์ของไทย พระราชนิพนธ์ในแผ่นดิน ร.1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คงโครงเรื่องเดิมของรามายณะฉบับวาลมิกิเอาไว้ แต่มีรายละเอียดแตกต่างออกไปมากมาย

2. ยกย่องพระศิวะเป็นเทพสูงสุด แสดงให้เห็นว่ารามเกียรติ์ของไทยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอินเดียใต้ที่นับถือพระศิวะในฐานะเดียวกันนี้มาอย่างยาวนานจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

3. หนุมานในรามเกียรติ์ของไทยเกิดจากน้ำกามของพระศิวะที่ฤๅษี 7 ตนรวบรวมจากยอดใบไม้, การมีตรีเป็นอาวุธ, มีขนสีขาว แสดงให้เห็นถึงความเอนเอียงไปทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบบไศวนิกาย ในอินเดียใต้

4. ชื่อตัวละครและสถานที่ในรามเกียรติ์ของไทย มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาทมิฬ ในอินเดียใต้

5. รายละเอียดต่างๆ ในรามเกียรติ์ของไทย แสดงให้เห็นว่าถูกสร้างขึ้นจากคำถ่ายทอดของผู้มีถิ่นกำเนิดหรือสืบทอดเชื้อสายมาจากอินเดียใต้ สอดคล้องกับกลุ่มพราหมณ์ในไทยที่มีถิ่นกำเนิดมาจากทางตอนใต้ของอินเดีย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่น โดยได้ทรงเลือกมาเป็นตอนๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้ฉบับของอินเดีย (รามายณะ) มาพระราชนิพนธ์ ใช้ชื่อว่า เขมรมันชอบเคลม เคลมมั่วไปหมด จนวิกิพีเดียไม่น่าเชื่อถือแล้ว เพราะสามารถแก้ไขเพื่อเข้าข้างตัวเองได้ และไอ้เขมรนรกก็ชอบเข้ามาแก้ด้วยสิ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Thai Ramayana (abridged) as written by King Rama I, ISBN 974-7390-18-3
  • The story of Ramakian - From the Mural Paintings along the Galleries of the Temple of the Emerald Buddha, ISBN 974-7588-35-8

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]