น้ำเชื่อมอะกาเว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำเชื่อมอะกาเว

น้ำเชื่อมอะกาเว (อังกฤษ: agave syrup) หรือ น้ำหวานอะกาเว (agave nectar) เป็นสารให้ความหวานที่ผลิตจากอะกาเวหลายสายพันธุ์ เช่น Agave tequilana[1][2] และ Agave salmiana น้ำเชื่อมอะกาเวมีความหวานกว่าและมีแนวโน้มว่าจะมีความหนืดน้อยกว่าน้ำผึ้ง น้ำเชื่อมอะกาเวส่วนใหญ่มาจากเม็กซิโกและแอฟริกาใต้

การผลิต[แก้]

การผลิตน้ำเชื่อมอะกาเวจาก Agave tequilana เริ่มจากการตัดใบต้นอะกาเวที่ปลูกมานาน 7–14 ปี และสกัดน้ำหวานจากแกนต้นที่เรียกว่า piña[3] จากนั้นน้ำหวานจะถูกกรองและให้ความร้อนเพื่อสลายฟรักแทนที่เป็นพอลิแซ็กคาไรด์สำคัญให้กลายเป็นน้ำตาลชั้นเดียว ก่อนจะถูกทำให้เข้มข้นจนกลายเป็นของเหลวที่หนืดน้อยกว่าน้ำผึ้ง มีสีหลากหลายตั้งแต่น้ำตาลอ่อนถึงเข้มขึ้นอยู่กับระดับการผลิต[4]

การผลิตน้ำเชื่อมอะกาเวจาก Agave salmiana แตกต่างจากชนิด A. tequilana เมื่อต้นเจริญเติบโตจะสร้างก้านดอกที่เรียกว่า quiote[5] ก้านดอกนี้จะถูกตัดก่อนจะเจริญเต็มที่ ทำให้เกิดรูตรงกลางต้นซึ่งมีของเหลวเรียกว่า aguamiel อยู่ภายใน ผู้ผลิตจะเก็บของเหลวนี้ทุกวัน ก่อนจะนำไปให้ความร้อนเพื่อสลายสารเชิงซ้อนเป็นน้ำตาลฟรักโทส กลูโคสและซูโครส[4] และเพื่อป้องกันการหมักจนกลายเป็นปุลเก

ส่วนประกอบ[แก้]

ส่วนประกอบคาร์โบไฮเดรตในน้ำเชื่อมอะกาเวแตกต่างไปตามชนิดอะกาเว[4] ชนิด A. tequilana มีปริมาณฟรักโทส 56%–60% กลูโคส 20% และซูโครสปริมาณเล็กน้อย[6] ขณะที่ชนิด A. salmiana มีซูโครสเป็นน้ำตาลหลัก[4]

การใช้[แก้]

น้ำเชื่อมอะกาเว A. tequilana มีความหวานกว่าน้ำตาล 1.4–1.6 เท่า[7] และอาจใช้แทนน้ำตาลในสูตรอาหารได้ นอกจากนี้ผู้เป็นวีกันยังใช้น้ำเชื่อมอะกาเวแทนน้ำผึ้งเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์จากพืช[8] อย่างไรก็ตามน้ำเชื่อมอะกาเว A. tequilana ไม่เหมาะสำหรับผู้มีภาวะไม่ทนต่อฟรักโทส[9]

คุณค่าทางโภชนาการ[แก้]

น้ำเชื่อมอะกาเว (สารให้ความหวาน)
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน1,297 กิโลจูล (310 กิโลแคลอรี)
76.4 g
น้ำตาล68.0 g
ใยอาหาร0.2 g
0.45 g
0.1 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(10%)
0.12 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(13%)
0.16 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(5%)
0.69 มก.
วิตามินบี6
(18%)
0.23 มก.
โฟเลต (บี9)
(8%)
30 μg
วิตามินซี
(20%)
17 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(0%)
1 มก.
เหล็ก
(1%)
0.1 มก.
แมกนีเซียม
(0%)
1 มก.
ฟอสฟอรัส
(0%)
1 มก.
โพแทสเซียม
(0%)
4 มก.
โซเดียม
(0%)
4 มก.
สังกะสี
(0%)
0.01 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ22.9 g

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่

อ้างอิง[แก้]

  1. Hocman, Karen (August 2009). "Agave Nectar a.k.a. Agave Syrup". The Nibble.
  2. Gary M. Mohr, Jr. (3 Oct 1999). "Blue Agave and Its Importance in the Tequila Industry". Ethnobotanical Leaflets. สืบค้นเมื่อ 2010-01-04.
  3. Julie R. Thomson (4 May 2017). "So THAT'S Where Tequila Comes From". Huffington Post Canada. สืบค้นเมื่อ 18 March 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Mellado-Mojica, E; López, M. G (2015). "Identification, classification, and discrimination of agave syrups from natural sweeteners by infrared spectroscopy and HPAEC-PAD". Food Chemistry. 167: 349–57. doi:10.1016/j.foodchem.2014.06.111. PMID 25148997.
  5. "Monocarpic Behavior in Agaves". J. C. Raulston Arboretum, North Carolina State University. มิถุนายน 19, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 10, 2010. สืบค้นเมื่อ มกราคม 4, 2010.
  6. Ralf Patzold; Hans Bruckner (2005). "Mass Spectrometric Detection and Formation of D-Amino Acids in Processed Plant Saps, Syrups, and Fruit Juice Concentrates". J Agric Food Chem. 53 (25): 9722–9729. doi:10.1021/jf051433u. PMID 16332121.
  7. Johannes, Laura (October 27, 2009). "Looking at Health Claims of Agave Nectar". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-01-04.
  8. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-01.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  9. "Fructose intolerance: Which foods to avoid?". Mayo Clinic. 29 November 2016. สืบค้นเมื่อ 18 February 2018.