น้ำพุเตรวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำพุเตรวี
น้ำพุเตรวียามค่ำ

น้ำพุเตรวี (อิตาลี: Fontana di Trevi) เป็นน้ำพุที่ตั้งอยู่ที่เขตเตรวีในกรุงโรมในประเทศอิตาลี เป็นน้ำพุที่มีความสูง 25.9 เมตร (85 ฟุต) และกว้าง 19.8 เมตร (65 ฟุต) และน้ำพุแบบบาโรกที่ใหญ่ที่สุดในกรุงโรม

ประวัติก่อน ค.ศ. 1629 ของสะพานส่งน้ำและที่ตั้งของน้ำพุ[แก้]

น้ำพุเตรวีตั้งอยู่ตรงทางสามแพร่ง (tre vie)[1] ที่เป็นจุดจบ[2] ของสะพานส่งน้ำแวร์จิเน (Acqua Vergine) “สมัยใหม่”, สะพานส่งน้ำเวอร์โก (Aqua Virgo) และสะพานส่งน้ำของโรมันโบราณ ในปี 19 ก่อนคริสต์ศักราชมีตำนานที่ว่าเจ้าหน้าที่โรมันพบแหล่งน้ำสะอาดราว 13 กิโลเมตรจากตัวเมืองด้วยความช่วยเหลือของสาวพรหมจารี (ภาพนี้ปรากฏอยู่ด้านหน้าของน้ำพุปัจจุบัน) แต่เมื่อสร้างสะพานส่งน้ำขึ้นสะพานก็ยาวถึง 22 กิโลเมตร สะพานส่งน้ำ “สะพานส่งน้ำเวอร์โก” นี้ส่งน้ำมายังโรงอาบน้ำของมาร์คัส วิพซานิอัส อกริพพา และใช้เป็นสะพานส่งน้ำสำหรับเมืองโรมเป็นเวลากว่าสี่ร้อยปี[3] การเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวเมืองโรมเกิดขึ้นเมื่อชนกอธที่ล้อมกรุงโรมระหว่างปี ค.ศ. 537 ถึงปี ค.ศ. 538 ทำลายสะพานส่งน้ำ โรมันยุคกลางจึงต้องหันมาใช้น้ำจากบ่อและจากแม่น้ำไทเบอร์ซึ่งใช้เป็นท่อระบายน้ำโสโครกไปด้วย

ประเพณีโรมันคือการสร้างน้ำพุอันสง่างามตรงปลายสุดของสะพานส่งน้ำมารื้อฟื้นกันอีกครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในปี ค.ศ. 1453 สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ก็ทรงซ่อมสะพานส่งน้ำแวร์จิเนเสร็จและทรงสร้างอ่างน้ำพุง่ายๆ ที่ออกแบบโดยสถาปนิกมนุษย์นิยมลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติเพื่อเป็นการฉลองน้ำที่มาถึง[4]

น้ำพุปัจจุบัน[แก้]

การว่าจ้าง, การก่อสร้าง และ การออกแบบ[แก้]

“น้ำพุเตรวี” จากด้านซ้าย

ในปี ค.ศ. 1629 สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 ก็ทรงพบว่าน้ำพุเดิมไม่ใหญ่โตพอ พระองค์จึงทรงให้จานโลเรนโซ แบร์นินีออกแบบน้ำพุใหม่ แต่เมื่อเออร์บันสิ้นพระชนม์โครงการก็ระงับไป สิ่งที่แบร์นินีทำคือย้ายที่ตั้งของน้ำพุไปทางอีกด้านหนึ่งของจตุรัสให้หันไปทางวังคิรินาล (Quirinal Palace) แม้ว่าโครงการของแบร์นินีจะเป็นการรื้อทิ้งสำหรับน้ำพุซาลวิ แต่ก็ยังมีร่องรอยของแบร์นินีในน้ำพุที่สร้างใหม่ ร่างที่ออกแบบโดยเปียโตร ดา คอร์โทนาก็ยังคงรักษาไว้ที่อัลแบร์ตินาในเวียนนาและอีกหลายแบบที่เขียนกันในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่ไม่ได้ลงชื่อ และโครงการที่เชื่อกันว่าเป็นของนิโคลา มิเคตติ[5] อีกแบบหนึ่งเชื่อว่าออกโดยเฟอร์ดินานโด ฟูกา[6] and a French design by Edme Bouchardon.[7]

ระหว่างสมัยบาโรกก็มีการแข่งขันออกแบบสิ่งก่อสร้างต่างๆ กันขนานใหญ่ที่รวมทั้งน้ำพุและแม้แต่บันไดสเปน ในปี ค.ศ.1730 สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 12 ก็ทรงจัดการแข่งขันออกแบบที่นิโคลา ซาลวิเดิมแพ้แก่อเลสซานโดร กาลิเลอิ — แต่ประชาชนโรมก็ประท้วงเพราะกาลิเลอิเป็นชาวฟลอเรนซ ซาลวิจึงกลับมาได้รับสัญญาจ้างแทนที่[8] การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1732 และเสร็จในปี ค.ศ. 1762 นานหลังจากพระสันตะปาปาคลีเมนต์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว เมื่อประติมากรรมโอเชียนัส (เทพเจ้าแห่งน้ำ) โดยปิเอโตร บรัคชิ (Pietro Bracci) ได้รับการติดตั้งในช่องกลางน้ำพุ

ซาลวิเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1751 เมื่อน้ำพุสร้างไปได้เพียงครึ่งหนึ่ง แต่ก่อนที่จะเสียชีวิตซาลวิก็จงใจที่จะซ่อนป้ายช่างตัดผมที่ไม่ต้องตาโดยการซ่อนอยู่ข้างหลังแจกันใหญ่ที่เรียกว่า “asso di coppe”

น้ำพุเตรวีสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1762 โดยโจวานนิ เปาโล ปานนินิ (Giovanni Paolo Pannini) ผู้สร้าง “ทริเวีย” สาวพรหมจารีแทนที่อุปมานิทัศน์ของอกริพพาที่วางไว้แต่เดิม

การบูรณปฏิสังขรณ์[แก้]

น้ำพุเตรวีได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในปี ค.ศ. 1998 โดยการทำความสะอาดงานหินและสร้างระบบปั๊มน้ำใหม่

ในแต่ละวัน มีผู้โยนเหรียญลงไปในน้ำพุเตรวีราว 3,000 ยูโร โดยการยืนหันหลังแล้วโยนเหรียญข้ามศีรษะตนเองลงไป ซึ่งเงินจำนวนนี้นำไปใช้ในการบำรุงซูเปอร์มาร์เก็ตสำหรับผู้ยากจนในกรุงโรม แต่ก็ยังมีผู้พยายามขโมยเงินในอ่างน้ำพุอยู่เสมอ[9] การโยนเหรียญลงในน้ำพุนี้เป็นความเชื่อตั้งแต่ยุคโรมันโบราณที่ว่าหากใครทำเช่นนี้แล้วจะได้กลับมาเยือนกรุงโรมอีก[10]

ในกลางปี ค.ศ. 2014 ได้มีการบูรณะน้ำพุเตรวีอีกครั้ง โดยเป็นการระดมเงินบริจาคเพื่อการนี้จากบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไป เนื่องจากทางการไม่มีงบประมาณเพียงพอ กำหนดเสร็จในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 2015[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Though other etymologies have been suggested, this is the straightforward modern etymology adopted by Pinto 1986 and others.
  2. The technical Italian term for such a "terminal fountain" is a mostra ("display"): Peter J. Aicher, "Terminal Display Fountains ("Mostre") and the Aqueducts of Ancient Rome" Phoenix 47.4 (Winter 1993:339-352).
  3. Pintochs. I and II.
  4. Hanns Gross, Rome in the Age of Enlightenment: the Post-Tridentine syndrome and the ancien régime. (Cambridge University Press) 1990:28.
  5. John A. Pinto, "An Early Project by Nicola Michetti for the Trevi Fountain" The Burlington Magazine 119 No. 897 (December 1977:853-857).
  6. Pinto, John (December 1983). "An Early Project by Ferdinando Fuga for the Trevi Fountain in Rome". The Burlington Magazine. 125: 746–749, 751. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  7. Pinto 1986. Bouchardon's drawing is conserved in the Musée Vivènal, Compiègne.
  8. Gross, Hanns (1990). Rome in the Age of Enlightenment: the Post-Tridentine syndrome and the ancien regime. New York: Cambridge University Press. p. 28. ISBN 0521372119.
  9. http://news.bbc.co.uk/2/hi/europe/6188052.stm BBC News. Trevi coins to fund food for poor.
  10. 10.0 10.1 "ทันโลก". ไทยพีบีเอส. 30 August 2014. สืบค้นเมื่อ 3 September 2014.[ลิงก์เสีย]

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ น้ำพุเตรวี