นโยบายต่างประเทศของอิหร่าน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
นโยบายต่างประเทศของอิหร่าน มีการผันแปรนับตั้งแต่มีการจัดตั้งการปกครองขึ้นมา โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็นสองช่วง เริ่มจากรัฐบาลปาห์ลาวีและรัฐบาลก่อนการปฏิวัติและอีกช่วงคือ หลังจากการปฏิวัติปี 1357
นโยบายต่างประเทศอิหร่านหลังจากการปฏิวัติส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับค่านิยมของอิสลามและเปลี่ยนตามแนวทางอิสลาม ช่วงปีแรกๆหลังจากการปฏิวัติ ในช่วงสงครามได้ทวีความรุนแรงยิ่งเตหะรานมีความแข็งกร้าวมากขึ้นจนอิหร่านถูกโดดเดี่ยวของอิหร่านในการเผชิญหน้ากับอิรัก โดยพันธมิตรส่วนใหญ่ถอยห่างออกไป
ก่อนการ ปฏิวัติอิสลามอิหร่าน
[แก้]ก่อนที่จะมีการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน,อิหร่านได้กำหนดแนวทางการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงในภูมิภาคนี้ไว้กับการเป็นพันธมิตรกับตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและซาอุดีอาระเบียมีบทบาทในกรอบยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมิตรภาพที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก
หลังจาก การปฏิวัติอิสลามอิหร่าน
[แก้]อิหร่านหลังจากการปฏิวัติและการจัดตั้งสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ได้เปลี่ยนนโยบายด้านความมั่นคงที่เป็นอิสระและพยายามกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางของตนเองไม่อยู่ภายใต้ขั้วอำนาจตะวันออกและขั้วอำนาจตะวันตก โดยเน้นการให้ความร่วมมือกับรัฐบาลต่างๆแถบตะวันออกกลาง ตามลำดับความสำคัญเพื่อกำหนดศักยภาพด้านความมั่นคงในภูมิภาคนี้
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่น การยึดสถานทูตอเมริกาในปี 1358, สงครามอิหร่านกับอิรัก,การยิงเครื่องบินโดยสารอิหร่านโดยอเมริกาในปี1367,เรื่องราวของ ซัลมาน รุชดี ,การโจมตีของผู้ก่อการร้ายมิโคนอส,และการลอบวางระเบิดในเอเมีย และโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน คือสาเหตุที่สำคัญที่สุดด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอิหร่านหลังการปฏิวัติในปี 1357 ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์กับประเทศของ สหรัฐอเมริกา และ อิสราเอล จะเป็นอุปสรรคที่สุดในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอิหร่านที่เคยมีมา แต่ความสัมพันธ์ของอิหร่านกับกลุ่มประเทศอิสลาม,ที่ตะวันออกกลางและประเทศเพื่อนบ้านมีการผันแปรอยู่ตลอด การหยุดชะงักชั่วคราวความสัมพันธ์กับซาอุดิอาระเบียหลังจากเหตุการณ์ฮัจญ์ในปี1366 , การขัดแย้งกับประเทศอาหรับเอมิเรตส์ในการเป็นเจ้าของสามเกาะGreater and Lesser Tunbs ,และเกาะอบูมูซา ความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่กับ บาห์เรน ในการใส่ร้ายของบาห์เรนว่าอิหร่านให้การสนับสนุนกลุ่มชีอะฮ์ที่ไม่พอใจต่อประเทศ, การตัดความสัมพันธ์กับอียิปต์ในการสนับสนุนของอิหร่านต่อการกระทำของคอลิด อิสลามบุรี, ความสัมพันธ์ฮึมครึมกับ คูเวต เนื่องจากสงครามอิหร่านกับอิรัก,ความสัมพันธ์ที่ฮึมครึมกับจอแดน, การประท้วงต่อต้านพฤติกรรมการปราบปรามของรัฐบาลเยเมนกับชีอะฮ์ในเยเมน ซึ่งในที่สุดจบด้วยการขัดแย้งในเยเมน
อิหร่านมองรัสเซียจีนซีเรีย และเวเนซุเอลาเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มต่างๆ เช่น ฮิซบุลเลาะห์ ,ฮามาส, และขบวนการต่อสู้เฮาษี
หลังจากการล่มสลายของตอลิบานและพรรคบาธของอิรักซึ่งเป็นสองศัตรูอันตรายต่อสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน อิหร่านสามารถขยายความสัมพันธ์เข้าสู่ประเทศทั้งสองเนื่องจากช่องว่างต่างๆของศัตรู และในระยะยาวก็จะเป็นผู้ชนะในที่สุดเหนือการรุกคืบของทหารอเมริกาในประเทศอัฟกานิสถานและอิรัก ด้วยเหตุผลที่ว่า หลังจากเวลาผ่านไปกองกำลังต่างชาติจำเป็นที่จะต้องออกจากประเทศนั้นๆ แต่ว่าอิหร่านเท่านั้นที่จะอยู่เคียงข้างกับประเทศต่างๆเหล่านั้น และสามารถมีอิทพลในประเทศเหล่านั้นได้
ด้วยการบริหารรัฐบาลชุดที่เก้าของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านภายใต้การเป็นผู้นำของ มะฮ์มูด อะฮ์มะดีนิญาด ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญกับนโยบายต่างประเทศของอิหร่าน การเปลี่ยนเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติสูงสุด จาก ฮาซันรูฮานี เป็น อาลีลอเลยอนี และจากนั้นเป็นซาอีด ญะลีลี และการโยกย้ายตำแหน่งของทูตอิหร่านในหลายประเทศเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และเช่นเดียวกันการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลต่อแนวโน้มความสัมพันธ์กับประเทศละติน อเมริกาและเอเซียตะวันออกแทนประเทศต่างๆของยุโรป
หลังจากที่เกิดเหตุการอาหรับสปริงขึ้นในต้นปีของ 2011 และการลดลงของโครงสร้างหรือการล้มล้างรัฐบาลเผด็จการส่วนใหญ่ที่ได้รับการช่วยเหลือจากอเมริกาในประเทศเหล่านั้น อิหร่านพยายามที่จะใช้โอกาศนี้ในการใช้ประโยชน์และเสริมสร้างความแข็งแกร่งกับผู้ที่ช่วยเหลือและผู้สนับสนุนในเอเซียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ ปัจจุบัน อิหร่านประสบความสำเร็จตามเป้าหมายในระดับหนึ่ง ในการลุกขึ้นต่อสู้ของประชาชน
นโยบายหลักด้านต่างประเทศของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
[แก้]ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางทฤษฏีในกฏหมายของ สาธารณรัฐอิสลาม นโยบายหลักด้านต่างประเทศของอิหร่านขึ้นอยู่กับหลักการเหล่านี้
- เน้นและดำเนินการทางการเมืองในการวางแผนและกำหนดนโยบายอย่างอิสระ
- ให้ความสำคัญกับประชาชนและการขับเคลื่อนของรัฐบาลในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- อิสรภาพทางด้านความสัมพันธ์ทางการเมืองต่างประเทศและความสัมพันธ์เทางเศรษฐกิจต่างประเทศของอิหร่าน
- การต่อสู้กับอิสราเอลและป้องขบวนการเคลื่อนไหวของชาวปาเลสไตน์
- ให้ความสำคัญกับความยุติธรรมทางการเมืองในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
- ระยะห่างเชิงกลยุทธ์จากผลประโยชน์ของอำนาจทางการเมืองที่สำคัญ
- ต่อสู้กับกฎหมายที่ แบ่งแยก veto ในองค์การสหประชาชาติ
- อัตลักษณ์อำนาจทางการเมืองในอิหร่านเป็นอุดมการณ์และสรุปก็คือการเมืองต่างประเทศของอิหร่านก็เป็นอุดมการณ์
เจ้าหน้าที่ทางการทูตในอิหร่าน
[แก้]แหล่งอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง
[แก้]- รายการต่างประเทศ embassies ในอิหร่าน
- รายการของ embassies ในอิหร่าน