นิวแมติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิวแมติก (อังกฤษ: Pneumatics) เป็นสาขาวิชาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและประยุกต์การใช้อากาศอัดให้เครื่องกลขับเคลื่อน

คำว่า นิวเมติก มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ คำว่า “Pneuma” หมายถึง ก๊าชที่มองไม่เห็น ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่า ระบบนิวแมติกจะหมายถึง ระบบที่ใช้อากาศอัดและส่งไปตามท่อทาง อากาศอัดดังกล่าวคือตัวกลางในการส่งถ่ายกำลังของไหลให้เป็นพลังงานกล จากนั้นจึงใช้พลังงานกลดังกล่าวไปใช้งาน เช่น การทำให้กระบอกสูบลมหรือมอเตอร์ลมทำงาน และตัวอย่างของการนำพลังงานดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ งานบรรจุหีบห่อสินค้า งานขนถ่ายวัสดุ เครื่องมือกลที่ใช้พลังงานลมในการขับเคลื่อน การจับยึดเพื่อเจาะชิ้นงาน และการประทับตราลงบนตัวชิ้นงาน เป็นต้น

การนำอากาศอัดมาประยุกต์ใช้งานนั้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อก่อให้เกิดการทำงานอย่างอัตโนมัติ (Automation) และก่อให้เกิดการประหยัดแรงงานมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากระบบนิวแมติกมีจุดเด่นหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิก (Hydraulic) และอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยระบบกลไกหรือระบบไฟฟ้า ซึ่งข้อดีของระบบนิวเมติก ได้แก่

  • โครงสร้างอุปกรณ์ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  • ค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำ
  • ง่ายและสะดวกในการบำรุงรักษาอุปกรณ์

ตัวอย่างการนำเอาระบบนิวแมติกไปใช้ประโยชน์ในโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ กลไกในการจับยึดของเครื่องประกอบชิ้นส่วนในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถที่จะนำพลังงานจากอากาศอัดหรือระบบนิวเมติกมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างสะดวก โดยการติดตั้งกระบอกลมนิวแมติกเพื่อทำหน้าที่จับยึดชิ้นส่วนที่ต้องการ เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]