นิพนธ์ เที่ยงธรรม
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
นิพนธ์ เที่ยงธรรม | |
---|---|
เกิด | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 |
นามปากกา | จุฬามณี เฟื่องนคร ชอนตะวัน |
อาชีพ | นักเขียน |
ช่วงปีที่ทำงาน | พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน |
นิพนธ์ เที่ยงธรรม เป็นนักเขียนชาวไทย โดยใช้นามปากกา จุฬามณี เฟื่องนคร และ ชอนตะวัน โดยผลงานที่มีชื่อเสียงที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็บบทโทรทัศน์ ทั้งชิงชัง ทางททบ.5 และนวนิยายชุด สุดแค้นแสนรัก กรงกรรม ทุ่งเสน่หา และวาสนารัก ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำนวนิยายมาดัดแปลงเป็นบทละครโทรทัศน์จนสร้างชื่อเสียงให้กับนวนิยายและจังหวัดนครสวรรค์ที่เป็นสถานที่ดำเนินเรืองกลับมามีชื่อเสียงและได้การรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อมาช่วย[1][2]
ประวัติ[แก้]
นิพนธ์ เที่ยงธรรม เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 เป็นบุตรของนายปรีชา เที่ยงธรรม และนางคิมหัน เที่ยงธรรม (สกุลเดิม กล้าเขตวิทย์) มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะมนุษยศาสตร์ สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง[3] โดยเริ่มงานเขียนและได้เข้าร่วมงานกับนิตยสาร ขายหัวเราะ ขวัญเรือน หนังสือพิมพ์สยามรัฐ นิตยสารหญิงไทย โดยหลังจากนำนวนิยายเรื่อง ชิงชัง ส่งเข้าประกวดรางวัลทมยันตีอะวอร์ดครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2549 [4] ได้เข้ารอบและและได้นำไปดัดแปลงเป็นบทละครโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด ออกฉายทางททบ.5[5] ในขณะที่นวนิยายเรื่อง กรงกรรม ได้สร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์จากการถูกไปดัดแปลงเป็นบทละครโทรทัศน์ทางไทยทีวีสีช่อง3[6][7]
ผลงาน[แก้]
- ชิงชัง (2550)
- องค์การบริหารส่วนหัวใจ (2550)
- แจกันดอกหญ้า (2550)
- สะบายดี...หัวใจ (2551)
- ไม่ต้องรักเท่าฟ้า (2551)
- แสงดาว ไอดิน อินเดีย (2552)
- หัวใจไม่ใช้เส้นขนาน (2552)
- รักเร่เสน่หา (2553)
- กามเทพปั้นรัก (2553)
- เจ้าสาวไร่ส้ม (2553)
- ตะเกียงกลางพายุ (2553)
- สุดแค้นแสนรัก (2553)
- ราตรีนี้มีรักแท้ (2554)
- ดอกรักริมธาร (2554)
- อรุณสวัสดิ์หัวใจ (2554)
- อลวนถนนหัวใจ (2554)
- อยากให้พระอาทิตย์ตกดินตอนสามทุ่มครึ่ง (2554)
- กุหลาบซ่อนกลิ่น (2554)
- ราชนาวีที่รัก (2555)
- พระอาทิตย์ขึ้นในคืนหนาว (2555)
- ม่านพรหม (2555)
- ลิขิตรักในสายลม (2556)
- ในสวนศิลป์ (2556)
- น้ำผึ้งบ้านไพร (2556)
- ทุ่งเสน่หา (2558)
- วาสนารัก (2558)
- กรงกรรม (2560)[8]
- ระบำบุญ
- บุษบาตาคลี (2565)
- ฉันทนาท่าตะโก
รางวัลเกียรติยศ[แก้]
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มอบปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ปีการศึกษา 2561[9]
2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบรางวัลชมเชย ในการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2561 ประเภทหนังสือนวนิยาย กรงกรรม [10]
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มอบโล่เชิดชูเกียรติ แด่คุณนิพนธ์ เที่ยงธรรม รางวัล ธนบุรีศรีนพมาศ ประจำปี 2562 สาขามนุษย์และสังคมศาสตร์ ด้านภาษาและวรรณกรรม ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี[11]
4. นายอำเภอชุมแสง นายกำพล ศิริรัตตนนท์ นายศรชัย อธิปฏิเวชช นายกเทศมนตรีเมืองชุมแสง พตอ.นิทัศน์ จิตตวิทยานุกูล ผกก.สภ.ชุมแสง และชาวชุมแสง มอบโล่เชิดชูเกียรติ แก่คุณนิพนธ์ เที่ยงธรรม (จุฬามณี ผู้ประพันธ์นิยาย กรงกรรม) ในฐานะที่เป็นผู้ทำให้ชุมแสงสาดแสงขึ้นมาอีกครั้ง (ปี 2562)[ต้องการอ้างอิง]
5. ชมรมสมาพันธ์สื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (ก่อตั้งปี พ.ศ. 2530) ร่วมกับ มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมไทย มอบรางวัล ต้นแบบคุณค่าของสังคมแห่งปี งานเพรส อวอร์ด ประจำปี 2562 มอบรางวัล เณศไอยรา ให้คุณนิพนธ์ เที่ยงธรรม ผู้เขียนบทประพันธ์เรื่อง กรงกรรม ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รางวัลบทประพันธ์ยอดเยี่ยม[ต้องการอ้างอิง]
6. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มอบรางวัลประชาบดี 2562 ประเภทสื่อสร้างสรรค์ สื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือเล่ม กรงกรรม และ สุดแค้นแสนรัก [12]
7. สำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มอบรางวัล “ศิลปินแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา” สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2563[13]
8. มหาวิทยาลัยนเรศวร มอบโล่รางวัล "รัตนมณีศรีนเรศวร" เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านวรรณศิลป์ ดนตรีและศิลปะการแสดง ประจำปี 2564
อ้างอิง[แก้]
- ↑ https://www.facebook.com/pr.railway/posts/2634399466574908
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
- ↑ http://www.praphansarn.com/home/content/456
- ↑ http://www.praphansarn.com/home/content/456
- ↑ https://www.komchadluek.net/news/ent/24185
- ↑ https://www.facebook.com/pr.railway/posts/2634399466574908
- ↑ https://www.facebook.com/pr.railway/posts/2634399466574908
- ↑ https://www.komchadluek.net/news/ent/369069
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
- ↑ https://www.matichon.co.th/education/news_852948
- ↑ https://www.facebook.com/culturensru/posts/1314869555353623
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-22. สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
- ↑ http://www.nsru.ac.th/th/event/1095
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |