นิก อับดุล อาซิซ นิก มัต
นิก อับดุล อาซิซ นิก มัต | |
---|---|
เมินเตอรีเบอซาร์แห่งรัฐกลันตันคนที่ 17 | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม ค.ศ. 1990 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 | |
กษัตริย์ | สุลต่านอิสมาอิล เปตรา สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 |
รอง | อะฮ์มัด ยากบ |
ก่อนหน้า | โมฮาเม็ด ยากบ |
ถัดไป | อะฮ์มัด ยากบ |
ผู้นำทางจิตวิญญาณพรรคอิสลามแห่งมาเลเซียคนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1991 – 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 | |
ก่อนหน้า | ยูซฟ ราวา |
ถัดไป | ฮารน ดีน |
สมาชิกรัฐสภามาเลเซีย สำหรับเปิงกาลันเจอปา | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1974 – 1986 | |
ก่อนหน้า | เขตการเลือกตั้งใหม่ |
ถัดไป | นิก อับดุลละฮ์ อาร์ชัด |
สมาชิกรัฐสภามาเลเซีย สำหรับกลันตันฮีลีร์ | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1967 – 1974 | |
ก่อนหน้า | อะฮ์มัด อับดุลละฮ์ |
ถัดไป | ยุบเขตการเลือกตั้ง |
สมาชิกสมัชชารัฐกลันตัน สำหรับแม่แบบ:Constlk | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1995 – 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 | |
ก่อนหน้า | เขตการเลือกตั้งใหม่ |
ถัดไป | อะฮ์มัด ฟาตัน มะฮ์มูด |
สมาชิกสมัชชารัฐกลันตัน สำหรับแม่แบบ:Constlk | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1986 – 1995 | |
ก่อนหน้า | วัน มามัต วัน ยูซฟ |
ถัดไป | ยุบเขตการเลือกตั้ง |
หัวหน้าฝ่ายอุละมาอ์พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1971 – 1995 | |
กรรมาธิการพรรคอิสลามแห่งมาเลเซียรัฐกลันตัน | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1978 – 2013 | |
ถัดไป | อะฮ์มัด ยากบ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | นิก อับดุล อาซิซ บิน นิก มัต 10 มกราคม ค.ศ. 1931 กัมปุงปูเลาเมอลากา, โกตาบารู, รัฐกลันตัน, บริติชมาลายา (ปัจจุบันคือประเทศมาเลเซีย) |
เสียชีวิต | 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 กัมปุงปูเลาเมอลากา, โกตาบารู, รัฐกลันตัน, ประเทศมาเลเซีย | (84 ปี)
ที่ไว้ศพ | ตานะฮ์เปอร์กูบูรันปูเลาเมอลากา, โกตาบารู, รัฐกลันตัน, ประเทศมาเลเซีย |
พรรคการเมือง | พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (PAS) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พรรคพันธมิตร (1972-1973) แนวร่วมแห่งชาติ (BN) (1973-1978) อังกาตันเปอร์ปาดูวันอุมมะฮ์ (APU) (1990-1996) แนวร่วมทางเลือก (BA) (1999-2004) พันธมิตรประชาชน (PR) (2008-2015) |
คู่สมรส | ตวน ซาบารียะฮ์ ตวน อิซฮัก (แต่งงาน ค.ศ. 1963-2015, เขาเสียชีวิต) |
บุตร | นิก ไอนี นิก โอมาร์ นิก อัดลี นิก อับดุล ราฮิม นิก โมฮามัด อับดุฮ์ นิก อาดีละฮ์ นิก โมฮามัด อัซรี นิก อามานี นิก อามาลีนา นิก อัซมาอ์ ซัลซาบีลา |
บุพการี | นิก มัต ราจา บันจาร์ อามีนะฮ์ อับดุล มาจิด |
ญาติ | ตวน อิบราฮิม ตวน มัน (หลานชาย) นิก มูฮัมมัด ซาวาวี ซัลเละฮ์ (หลานชาย) อะฮ์มัด ดูซูกี อับดุล รานี (หลานชาย) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ดารุลอุลูมเดโอบันด์ |
นิก อับดุล อาซิซ บิน นิก มัต (มลายู: Nik Abdul Aziz bin Nik Mat, نئ عبد العزيز بن نئ مت; 10 มกราคม ค.ศ. 1931 – 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015) เป็นนักการเมืองและผู้สอนศาสนาอิสลามชาวมาเลเซีย เขาเคยดำรงตำแหน่งเมินเตอรีเบอซาร์แห่งรัฐกลันตันใน ค.ศ. 1990 ถึง 2013 และ มูร์ชีดุลอัม (ผู้นำทางจิตวิญญาณ) พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (PAS) ใน ค.ศ. 1991 จนเสียชีวิตใน ค.ศ. 2015
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]นิก อับดุล อาซิซเกิดในโกตาบารูใน ค.ศ. 1931 โดยเป็นลูกคนที่สองจากทั้งหมด 5 คน เขาถูกเลี้ยงดูโดยพ่อ (ตกกูรา) ที่ทำอาชีพช่างตีเหล็ก[1] นิก อาซิซเริ่มเรียนอิสลามศึกษาที่ปอเนาะในรัฐกลันตันและรัฐตรังกานู[2] เขาไปศึกษาต่อที่ดารุลอุลูมเดโอบันด์ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียเป็นเวลา 5 ปี โดยจบศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาอาหรับศึกษา (Arabic Studies) และศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขานิติศาสตร์อิสลามจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ประเทศอียิปต์ ตอนที่กำลังศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เขาเป็นหนึ่งในพยานและพลเมืองที่มีชีวิตในช่วงความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล[3]
หลังกลับมาจากอียิปต์ นิก อาซิซเริ่มทำงานเป็นครูในโรงเรียนสอนศาสนาหลายแห่งในรัฐกลันตัน ซึ่งรวมถึงปอเนาะของพ่อเขาด้วย จากนั้นจึงเริ่มสอนในมัสยิดและปอเนาะหลายแห่งในรัฐกลันตันและรัฐอื่น ๆ ทำให้เขาได้สมญานามนำหน้าว่า "ตกกูรู"[2]
อาชีพการเมือง
[แก้]นิก อาซิซเข้าร่วมพรรคอิสลามแห่งมาเลเซียใน ค.ศ. 1967 เขาชนะที่นั่งในกลันตันฮีลีร์ในการเลือกตั้งปีเดียวกัน และดำรงตำแหน่งนั้น (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเปิงกาลันเจอปา) จนถึง ค.ศ. 1986[2] PAS แพ้การเลือกตั้งในรัฐกลันตันใน ค.ศ. 1978 ทำให้เขาตั้งคำถามถึงความเป็นผู้นำของอัซรี มูดาในฐานะกรรมาธิการ PAS ท้ายที่สุด อัซรีจึงถูกบังคับลาออก[3]
หลังออกจากการเมืองสหพันธรัฐ นิก อาซิซได้ที่นั่งในสภารัฐกลันตันในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1986 ต่อมาในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1990 เขาได้ควบคุมรัฐกลันตันจากพรรคแนวร่วมแห่งชาติ เนื่องจากเป็นหัวหน้าพรรคในรัฐ ทำให้นิก อาซิซกลายเป็นเมินเตอรีเบอซาร์แห่งรัฐกลันตัน[2] เขาสืบทอดตำแหน่งผู้นำทางจิตวิญญาณ PAS ต่อจากยูซฟ ราวาใน ค.ศ. 1991
รัฐบาลของนิก อาซิซได้รับเลือกใหม่ 4 ครั้ง (ค.ศ. 1995, 1999, 2004, 2008) จนกระทั่งเขาเกษียณใน ค.ศ. 2013 ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 การปกครองของเขาในรัฐกลันตันมักมีความขัดแย้งกับบทบาทของอิสลามในประเทศมาเลเซียสมัยนายกรัฐมนตรีมาฮาดีร์ โมฮามัด เขาปฏิเสธการเมืองส่วนกลางอย่างเปิดเผย ซึ่งต่างจาก UMNO ที่เป็นพรรครัฐบาลแบ่งแยกเชื้อชาติ[4]
นิก อาซิซเรียกเสียงสนับสนุนจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในมาเลเซียและมีบทบาทสำคัญในช่วงที่พรรค PAS ได้รับความนิยมจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมมากขึ้น[5][6][7]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 นิก อาซิซกล่าวต่อสาธารณชนว่า ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ เขาไม่ยินยอมความร่วมมือระหว่างองค์การมลายูรวมแห่งชาติ (UMNO) กับพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (PAS)[8] อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2019 เมื่อ PAS และ UMNO ลงนามกฎบัตรพันธมิตรอย่างเป็นทางการ ประธาน PAS อับดุล ฮาดี อาวังอ้างว่านิก อาซิซได้ยอมรับความร่วมมือไปแล้วในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่[9]
ปัญหา
[แก้]มุมมองในหลักการ
[แก้]มุมมองหลักการอิสลามของนิก อาซิซสร้างเสียงวิจารณ์บางส่วน การสนับสนุนกฎหมายชะรีอะฮ์แก่ชาวมาเลเซียที่นับถือศาสนาอิสลามของเขาก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์[ต้องการอ้างอิง] เพราะเขากล่าวแนะว่าผู้หญิงจะมีโอกาสถูกขมขืนน้อยลงถ้าพวกเธอเลิกใช้ลิปสติกและน้ำหอม และแบนเกมสนุกเกอร์เป็นเวลา 15 ปี[10] มีการบันทึกตอนที่เขาเคยพูดว่าผู้หญิงที่แต่งตัวทันสมัยและเซ็กซี่สมควรถูกขมขืนด้วย[11]
ปัญหา "อัลลอฮ์"
[แก้]ใน ค.ศ. 2012 เคยมีปัญหาว่ามีคัมภัร์ไบเบิลนิกายโรมันคาทอลิกใช้คำว่า "พระเจ้า" ในภาษาอาหรับ (อัลลอฮ์) ลงในคัมภีร์ของตน เดิมที นิก อาซิซกล่าวว่าผู้ไม่ใช่มุสลิมใช้คำว่า "อัลลอฮ์" ได้เพราะต้นกำเนิดของคำมาจากยุคก่อนศาสนาอิสลาม ปัญหานี้สร้างความปั่นป่วนในสังคมมุสลิม และพรรค PAS เกือบถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม เพื่อที่จะรักษาความเป็นเอกภาพใน PAS นิก อาซิซจึงต้องถอนคำพูดนี้และไม่ยอมรับให้ผู้ไม่ใช่มุสลิมใช้คำว่า "อัลลอฮ์"[12]
ลูกชายถูกกุมขัง
[แก้]นิก อาดิล ลูกชายของเขาถูกจับกุมตามพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในใน ค.ศ. 2001 ในข้อกล่าวหาทำกิจกรรมที่เป็นการก่อการร้าย เช่นวางแผนทำญิฮาด, ครอบครองอาวุธ และเป็นสมาชิกกุมปูลันมูจาฮีดินมาเลเซีย (KMM) กลุ่มลัทธิอิสลามหัวรุนแรง[13][14][15][16] ลูกชายถูกปล่อยตัวหลังถูกกุมขังเป็นเวลา 5 ปีโดยไม่มีการไต่สวน[17]
เกษียณและเสียชีวิต
[แก้]ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2013 PAS ได้ที่นั่งส่วนใหญ่ในรัฐบาลรัฐกลันตันอีกครั้ง นิก อาซิซประกาศเกษียณตนเองจากตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรีรัฐกลันตัน ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1990 และอะฮ์มัด ยากบ อดีตรองนายกรัฐมนตรีของนิก อาซิซ ดำรงตำแห่งนี้ต่อ ตลอดสองปีถัดมา นิก อาซิซป่วยจากมะเร็งต่อมลูกหมาก และเสียชีวิตในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 (84 ปี) เวลา 21:40 นาฬิกา ตามเวลามาตรฐานมาเลเซีย (UTC+08:00) ที่บ้านของเขาในกัมปุงปูเลาเมอลากา โกตาบารู ในวันถัดมา มีผู้มาละหมาดศพที่มัสยิดตกกูรูมากกว่า 10,000 คน[18] การเสียชีวิตของเขาส่งผลต่อที่นั่งสภารัฐกลันตันในการเลือกตั้งที่เจิมปากาใน ค.ศ. 2015[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Zulkifli Sulong (3 July 2010). "Meet Nik Aziz's brother, the teacher with a dream". Harakah. สืบค้นเมื่อ 4 July 2010.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Menteri Besar Kelantan, Parti Islam Semalaysia (PAS), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2011, สืบค้นเมื่อ 13 June 2010
- ↑ 3.0 3.1 Abdul Razak Ahmad (8 May 2007). "76 and frail, yet he's still the one they want". New Straits Times. New Straits Times Press.
- ↑ Shazwan Mustafa Kamal (9 June 2010). "Nik Aziz says 'no way' to PAS-Umno unity talks". The Malaysian Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2010. สืบค้นเมื่อ 13 June 2010.
- ↑ Wong, Chin Huat (27 August 2009). "Can PAS manage victory?". The Nut Graph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-11-18.
- ↑ Shazwan Mustafa Kamal (10 June 2010). "PAS succession plan not an issue, says Nik Aziz". The Malaysian Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2010. สืบค้นเมื่อ 13 June 2010.
- ↑ Zubaidah Abu Bakar (8 June 2010). "Pas fishing for non-Malay votes". New Straits Times.
- ↑ "Tiada Penyatuan PAS-UMNO selagi saya hidup (There will no no cooperation between PAS and UMNO as long as I am alive" (ภาษามาเลย์). Harakah Daily. 29 May 2013. สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
- ↑ Nurul, Azwa Aris (14 September 2019). "PAS spiritual adviser Nik Aziz had agreed on cooperation, says Hadi". Free Malaysia Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2019. สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
- ↑ "Cleric: Women's Sexy Clothing Distracting Muslim Men From Sleep, Prayers". Fox News. 13 January 2015.
- ↑ Sira Habibu. "Video clip of Nik Aziz goes viral", The Star Online, 25 October 2012. Retrieved on 25 October 2012.
- ↑ The Star. "Nik Aziz makes about-turn on ‘Allah’ use", Kota Bahru, 15 Januari 2013. Retrieved on 26 February 2013.
- ↑ Kumpulan Mujahidin Malaysia (KMM) GlobalSecurity.org
- ↑ Wong, Chun Wai; Charles, Lourdes (2 January 2003). "Nik Aziz's son named in report". The Star (Malaysia).
- ↑ Kumpulan Mujahidin Malaysia เก็บถาวร 2008-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Novelguide.com
- ↑ Background Information on Other Terrorist Groups US Department of State
- ↑ MacIntyre, Ian; Zulklifli, C.A. (19 October 2006). "Nik Aziz's son freed with 10 others". The Star (Malaysia).
- ↑ Lim Sue Goan (14 February 2014). "Pakatan sans Anwar, Nik Aziz". Sin Chew Jit Poh. สืบค้นเมื่อ 11 March 2015.
- ↑ "PAS spiritual leader Nik Aziz dies, by-election looms". Malay Mail. 13 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.