นิกายกากยวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิกายการ์จูปะ (ทิเบต: བཀའ་བརྒྱུད་, ไวลี: bka'-brgyud, พินอินทิเบต: Gagyü) เป็นนิกายสำคํญนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาในทิเบต มีที่มาจากอาจารย์มาร์ปะ โชคี โลโด และ อาจารย์ ทุงโป ญาลจอร์ ซึ่งเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนานิกายตันตระในอินเดียและเนปาล ศิษย์ที่สืบทอดความรู้และนำมาเผยแพร่ในทิเบตคือมิลาเรปะ คำสอนของนิกายนี้มีทั้งสายสมาธิและสายการฝึกฝนทางปรัชญา

นิกายย่อย[แก้]

นิกายการ์จูแบ่งย่อยได้อีกเป็น 4 นิกายคือ

  1. การ์จูริเริ่มโดย ซางยูดรักปะ ซอนดู ดักปะ
  2. บารอมการ์จูริเริ่มโดย บารอมทรมาวังจุก ผู้สร้างวัดบารอม
  3. ฟักดูการ์จู ริเริ่มโดย ฟักโม ทรูปะ ดอร์เจ กยัลโป นิกายนี้แตกย่อยได้อีกเป็น 8 นิกายแต่เหลือในปัจจุบันเพียง 3 นิกายคือ นิกายดรุกปะ นิกายดริกุง การ์จูและซังปะการ์จู ส่วนนิกายที่เหลือถูกลืนเข้ากับนิกายอื่น
  4. กรรมะการ์จู ริเริ่มโดย ดุสุม เค็มปะ นิกายนี้มีการสืบทอดตำแหน่งผู้นำโดยการกลับชาติมาเกิด

คำสอน[แก้]

นิกายการ์จูมีหลักปฏิบัติเฉพาะนิกายคือ โยคะทั้ง 6 ของนาโรปะ จักรสัมภวะ มหากาล มหามุทรา ความแตกต่างของแต่ละนิกายย่อยอยู่ที่วิธีการสอนของอาจารย์ การศึกษาของพระสงฆ์ในนิกายนี้ เน้นเรื่องปัญญาบารมี มาธยมิก การรับรู้ที่ถูกต้อง พระวินัย และปรากฏการณ์วิทยา

อ้างอิง[แก้]

  • ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. [ม.ป.ท.] : ศูนย์ไทยธิเบต, 2538.