นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์
นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ | |
---|---|
![]() | |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 15 สิงหาคม 2548 – 14 สิงหาคม 2556 | |
ก่อนหน้า | ตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ |
อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล | |
ดำรงตำแหน่ง 12 มิถุนายน 2543 – 14 สิงหาคม 2548 | |
ก่อนหน้า | วินิจ โชติสว่าง |
ถัดไป | ยุบตำแหน่ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ 13 มีนาคม พ.ศ. 2490 ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อาชีพ | ข้าราชการ |
รองศาสตราจารย์ นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (2 สมัย) อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ที่ดำรงตำแหน่งเป็นคนสุดท้ายก่อนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง ในปี พ.ศ. 2548
รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและยกฐานะสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล[1] สู่การเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง ตลอดจนการนำ "ราชมงคล" สู่ความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ
ประวัติ[แก้]
รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2490ปริญญาเอก Ph.D.(Technology Management) จาก Technology University of the Philippines สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (พ.ศ. 2543)
สำเร็จการศึกษาสูงสุดระดับ- ปริญญาโท M.Sc.(Electrical Engineering) จาก Macquarie University ประเทศออสเตรเลีย (พ.ศ. 2520)
- ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2513)
- ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนอำนวยศิลป์ กรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งที่สำคัญ[แก้]
รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำแผนกอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับการแต่งตั้งให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานเรื่อยมา จนดำรงตำแหน่งสำคัญๆ หลายตำแหน่งอาทิ รองคณบดี ผู้อำนวยการสถานีวิทยุราชมงคล รองอธิการบดี และอธิการบดี
รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทั้งในสถาบัน และภายนอกสถาบันหลายตำแหน่ง อาทิ
- นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)[2]
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- นายกสมาคมระดับภูมิภาค เพื่อพัฒนาครูอาชีวศึกษา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Regional Association for Vocational Teacher Education in East and Southeast Asia: RAVTE)[3]
- อธิการบดีมหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (2 สมัย)[4]
- ประธานคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- นายกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
- คณะกรรมการการอุดมศึกษา
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2548)[5]
- รองอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
รางวัล[แก้]
- รางวัลเหมราช บุคคลต้นแบบแห่งปี สาขาผู้นำทางวิชาการและการศึกษา ประจำปี 2559[6]
- รางวัล คนดี ศรีอำนวยศิลป์ ประจำปี 2559[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2555 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2550 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2541 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ กระทบไหล่...อธิการบดีที่ชาว มทร.รู้จักดีจาก คมชัดลึก สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2561
- ↑ "คณะกรรมการสภาสถาบัน – สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 | Institute of Vocational education Northern Region 2". ivenr2.ac.th.
- ↑ ""นำยุทธ"นั่งนายกสมาคมพัฒนาครูอาชีวะ". dailynews. 2017-04-11.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (จำนวน ๙ ราย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (นายนำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ แทน นายวินิจ โชติสว่าง ซึ่งครบวาระ)
- ↑ รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ รับรางวัลเหมราช บุคคลต้นแบบแห่งปี
- ↑ บธ (2016-06-17). "รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี มทร.ล้านนา ได้รับการพิจารณาเข้ารับรางวัล คนดี ศรีอำนวยศิลป์". คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๔๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔๘๖, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
ก่อนหน้า | นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
รศ.ดร.วินิจ โชติสว่าง | ![]() |
![]() อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (12 มิถุนายน พ.ศ. 2543 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 12 มิถุนายน พ.ศ. 2547 - 18 มกราคม พ.ศ. 2548) |
![]() |
แยกออกเป็น 9 มหาวิทยาลัย |
- | ![]() |
![]() อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556) |
![]() |
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ |
ชัยยง เอื้อวิริยานุกูล | ![]() |
![]() อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560) |
![]() |
ผศ.ประพัฒน์ เชื้อไทย |
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลจากจังหวัดเชียงราย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
- รองศาสตราจารย์
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิศวกรชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์