ข้ามไปเนื้อหา

นาโอมิ โอซากะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาโอมิ โอซากะ
Naomi Osaka smiling during her match against Azarenka in the 2020 US Open.
โอซากะ ในยูเอสโอเพน 2020
ชื่อจริง大坂 なおみ
ประเทศ (กีฬา)ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ถิ่นพำนักเบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
วันเกิด (1997-10-16) ตุลาคม 16, 1997 (27 ปี)
เขตชูโอ นครโอซากะ จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น
ส่วนสูง1.80 เมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว)
เทิร์นโปรกันยายน ค.ศ. 2013
การเล่นมือขวา (two-handed backhand)
ผู้ฝึกสอนวิม ฟิสเซตต์ (2020–)
เงินรางวัล19,735,032 ดอลลาร์สหรัฐ
เว็บไซต์ทางการnaomiosaka.com
เดี่ยว
สถิติอาชีพ245–134 (64.6%)
รายการอาชีพที่ชนะ7
อันดับสูงสุดNo. 1 (28 มกราคม ค.ศ. 2019)
อันดับปัจจุบันNo. 2 (22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021)
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว
ออสเตรเลียนโอเพนW (2019, 2021)
เฟรนช์โอเพน3R (2016, 2018, 2019)
วิมเบิลดัน3R (2017, 2018)
ยูเอสโอเพนW (2018, 2020)
การแข่งขันอื่น ๆ
Tour FinalsRR (2018, 2019)
คู่
สถิติอาชีพ2–14 (12.5%)
รายการอาชีพที่ชนะ0
อันดับสูงสุดNo. 324 (3 เมษายน ค.ศ. 2017)
ผลแกรนด์สแลมคู่
ออสเตรเลียนโอเพน1R (2017)
เฟรนช์โอเพน2R (2016)
วิมเบิลดัน1R (2017)
ยูเอสโอเพน1R (2016, 2017)
การแข่งขันแบบทีม
Fed CupWG II PO (2018)
Hopman CupRR (2018)
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 9 มีนาคม ค.ศ. 2021

นาโอมิ โอซากะ (อังกฤษ: Naomi Osaka; ญี่ปุ่น: 大坂 なおみโรมาจิŌsaka Naomi เกิดวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1997)[1] เป็นนักเทนนิสอาชีพหญิงชาวญี่ปุ่น[2] มือวางอันดับ 2 ของโลกคนปัจจุบัน และ เคยขึ้นสู่ตำแหน่งมือวางอันดับ 1 ใน ค.ศ. 2019 โดยโอซากะถือเป็นผู้เล่นชาวเอเชียคนแรกที่สามารถครองตำแหน่งมือวางอันดับ 1 ของโลกได้[3] เธอเป็นเจ้าของตำแหน่งชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมในประเภทหญิงเดี่ยวจำนวน 4 สมัย ได้แก่ ออสเตรเลียนโอเพน 2 สมัย (ค.ศ. 2019 และ 2021) และ ยูเอสโอเพน 2 สมัย (ค.ศ. 2018 และ 2020)[4]

โอซากะเกิดที่ประเทศญี่ปุ่นโดยคุณพ่อของเธอเป็นชาวเฮติและคุณแม่เป็นชาวญี่ปุ่น โอซากะเติบโตและใช้ชีวิตที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่อายุ 3 ขวบเธอเริ่มโด่งดังในวงการเทนนิสหญิงเมื่ออายุ 16 ปี เมื่อเธอเอาชนะอดีตแชมป์ยูเอสโอเพน ซาแมนธา สโตเซอร์ ผู้เล่นออสเตรเลีย ในรายการเปิดตัวของเธอที่ WTA Tour ที่ Stanford Classic ปี 2014 สองปีต่อมา เธอเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศครั้งแรกในรายการที่ 2016 Pan Pacific Open ที่ประเทศญี่ปุ่นและขึ้นสู่มือวาง 50 อันดับแรกของโลกของการจัดอันดับของ WTA โอซากะคว้าตำแหน่งชนะเลิศรายการแรกอย่างเป็นทางการในปี 2018 ในรายการที่ อินเดียนเวลส์ สหรัฐอเมริกา ต่อมาในปีนั้น เธอเอาชนะแชมป์แกรนด์สแลม 23 สมัย เซเรนา วิลเลียมส์[5] ผู้เล่นระดับตำนานในรอบชิงชนะเลิศยูเอสโอเพนและทำสถิติเป็นนักเทนนิสชาวญี่ปุ่นคนแรกในประวัติศาสตร์ที่คว้าตำแหน่งชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมได้ และ เธอสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมได้ 4 ปีติดต่อกันนับจากนั้น (ค.ศ. 2018 - 2021)

โอซากะเป็นหนึ่งในนักกีฬาที่ทำรายได้มากที่สุดในโลก โดยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 8 ในบรรดานักกีฬาทั่วโลกที่มีรายได้สูงที่สุดในปี 2020 และ เธอยังเป็นนักกีฬาหญิงที่ทำรายได้สูงสุดในปีนั้น โอซากะได้รับการยอมรับอย่างมากในฐานะนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนนอกสนาม โดยได้แสดงการสนับสนุนขบวนการ Black Lives Matter[6] เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในนักกีฬาแห่งปีของ Sports Illustrated ประจำปี 2020 และ ยังได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในรายชื่อ 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกของนิตยสารไทม์ทั้งในปี 2019[7] และ 2020[8] นอกจากนี้ เธอยังได้รับรางวัลนักกีฬาหญิงแห่งปี (Laureus World Sportswoman) ในปี 2021 โอซากะมีรูปแบบการเล่นที่ดุดันด้วยลูกเสิร์ฟอันทรงพลังที่สามารถทำความเร็วได้ถึง 201 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง) และ ยังมีการตีที่หนักหน่วงในทุกพื้นที่ของสนาม

ประวัติในช่วงต้น

[แก้]

นาโอมิ โอซากะ เกิดในเขตชูโอ นครโอซากะ จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นลูกสาวของ ทามากิ โอซากะ และ ลีโอนาร์ด ฟรองซัวส์ แม่ของเธอมาจากฮกไกโด และพ่อของเธอมาจากเฮติ เธอมีพี่สาวชื่อมารีซึ่งเคยเป็นนักเทนนิสอาชีพเช่นกัน เธอและพี่สาวใช้นามสกุลของแม่ด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติเนื่องจากครอบครัวอาศัยอยู่ในญี่ปุ่น พ่อและแม่ของโอซากะพบกันตอนที่พ่อของเธอไปเที่ยวฮกไกโดขณะที่เขาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยนิวยอร์ก[9][10]

เมื่อโอซากะอายุได้ 3 ขวบ ครอบครัวของเธอได้ย้ายจากญี่ปุ่นมาอยู่ที่วัลเลย์สตรีม นิวยอร์ก บนเกาะลองเพื่ออาศัยอยู่กับปู่และย่าของเธอ พ่อของโอซากะได้รับแรงบันดาลใจให้สอนลูกสาวเล่นเทนนิสด้วยการดู วีนัส วิลเลียมส์ แข่งขันในรายการเฟรนช์โอเพนปี 1999 เขาพยายามเลียนแบบวิธีที่ Richard Williams (พ่อของวิลเลียมส์) ฝึกฝนลูกสาวของเขาให้กลายเป็นสองผู้เล่นที่เก่งที่สุดในโลก แม้จะไม่เคยเล่นกีฬานี้มาก่อน เขาเริ่มสอนนาโอมิและมารีเมื่อพวกเขาตั้งรกรากอยู่ในสหรัฐอเมริกา ในปี 2006 ครอบครัวของโอซากะย้ายไปฟลอริดาเมื่อนาโอมิอายุประมาณ 9 ขวบ เพื่อที่พวกเขาจะได้มีโอกาสฝึกฝนมากขึ้น โอซากะได้เข้าฝึกที่สถาบัน "Harold Solomon Tennis Academy"[11]

แม้ว่าโอซากะจะเติบโตที่สหรัฐอเมริกา แต่แม่ของเธอตัดสินใจให้เธอและพี่สาวลงแข่งขันในนามทีมชาติญี่ปุ่น โดยแม่ของเธอกล่าวว่า "ฉันได้ตัดสินใจเรื่องนี้มาตั้งแต่ที่ทั้งคู่ยังเด็ก ฉันเป็นคนญี่ปุ่นและลูกสาวทั้งสองก้มีเลือดความเป็นญี่ปุ่นอยู่ในตัว" และ โอซากะก็รู้สึกมาตลอดว่าเธอคือคนญี่ปุ่น โดยสมาคมเทนนิสแห่งสหรัฐอเมริกา (USTA) เคยเสนอโอกาสใหโอซากะเข้ารับการฝึกฝนที่ศูนย์ฝึกแห่งชาติในโบคาเรตัน และ เสนอโอกาสให้เธอเป็นนักเทนนิสอาชีพในนามทีมชาติสหรัฐอเมริกาเมื่อเธออายุ 16 ปี แต่เธอปฏิเสธ[12] นอกจากนี้เธอก็ยังไม่ลืมเชื้อสายเฮติของคุณพ่อ ซึ่งบ่อยครั้งเวลาได้ยินคนพูดว่าเธอเป็นนักเทนนิสชาวญี่ปุ่น เธอก็จะต้องรีบพูดเสริมต่อว่าเธอเป็นลูกครึ่งเฮติ-ญี่ปุ่น

ประวัติการเล่นอาชีพ

[แก้]

   รายการแรกที่เธอลงแข่งขันคือ การแข่งขันดับเบิลยูทีเอ แบงค์ ออฟ เวสต์ คลาสสิค เมื่อปี 2014 โดยลงเล่นตั้งแต่รอบคัดเลือกจนสามารถผ่านเข้าสู่รอบเมน ดรอว์ (รอบแรก) และ เพียงแค่รายการแรกที่ลงแข่ง เธอก็สามารถสร้างชื่อเสียงได้ทันทีโดยการเอาชนะ ซาแมนธา สโตเซอร์ ซึ่งเป็นถึงแชมป์แกรนด์สแลม ยูเอสโอเพนปี 2011 ได้ในรอบนี้

   จากนั้นเริ่มต้นปี 2016 เธอลงแข่งขันรายการแกรนด์สแลมแรกในชีวิตในรายการออสเตรเลียนโอเพน และ สามารถผ่านเข้าถึงรอบที่สาม ก่อนที่จะแพ้ให้กับ วิคตอเรีย อซาเรนกา ต่อมา ในช่วงเทศกาลคอร์ตดิน เธอสามารถผ่านเข้าถึงรอบที่สามในแกรนด์สแลมเฟรนช์โอเพน

   ในปี 2017 ชื่อเสียงเธอเริ่มโด่งดังยิ่งขึ้นในรายการยูเอสโอเพน โอซากะ ในวัย 19 ปี สามารถเอาชนะ แองเจลิค เคอร์เบอร์ แชมป์เก่าจากเยอรมนีได้ในรอบแรก ก่อนจะต้องหยุดเส้นทางที่รอบสาม เมื่อพ่ายต่อ คาเอีย คาเนปิ 1-2 เซต

ต่อมาในปี 2018 เธอสามารถก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดในอาชีพนักเทนนิสของเธอในวัยเพียง 20 ปี เธอได้พบกับนักเทนนิสผู้เป็นต้นแบบในวัยเด็กของเธออย่าง เซเรนา วิลเลียมส์ โดยการพบกันครั้งนี้ เธอมี ซาสช่า บายิน อดีตโค้ชของเซรีน่ามาเป็นติวเตอร์ให้กับเธออีกด้วยและเธอก็สามารถเอาชนะ อดีตแชมป์แกรนด์ สแลม 23 สมัย ไปได้อย่างเหนือความคาดหมายพร้อมทั้งสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักเทนนิสชาวญี่ปุ่นคนแรกที่คว้าตำแหน่งชนะเลิศในรายการแกรนด์สแลมได้

โอซากะยังคงทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมอย่างต่อเนื่องในปี 2019 โดยในปีนี้เธอสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศแกรนด์สแลมได้อีกหนึ่งรายการ ในการแข่งขันออสเตรเลียนโอเพนในเดือนมกราคมโดยเอาชนะ เพทรา วิโทวา ได้ในรอบชิงชนะเลิศ[13] และเธอยังสามารถขึ้นสู่ตำแหน่งมือวางอันดับ 1 ของโลกได้เป็นครั้งแรกในอาชีพในปีนี้และทำสถิติเป็นผู้เล่นชาวเอเชียคนแรกที่สามารถครองตำแหน่งมือวางอันดับ 1 ได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Naomi Osaka: WTA Tennis". WTA. สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.
  2. Rothenberg, Ben. "U.S. Open Tennis Final: Naomi Osaka Defeats Serena Williams" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-08.
  3. "Stats: Naomi Osaka is Asia's first World no.1". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2019-01-26.
  4. "Naomi Osaka | Player Stats & More – WTA Official". Women's Tennis Association (ภาษาอังกฤษ).
  5. "Osaka beats angry Williams to win US Open". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
  6. McDonald, Soraya Nadia (2020-09-13). "Naomi Osaka made sure Black lives mattered at the US Open". The Undefeated (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. "Naomi Osaka: The 100 Most Influential People of 2019". TIME (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  8. www.eurosport.com https://www.eurosport.com/geoblocking.shtml. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  9. Larmer, Brook (2018-08-23). "Naomi Osaka's Breakthrough Game". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
  10. "Japanese, Haitian, and now a Grand Slam winner: Naomi Osaka's historic journey to the U.S. Open". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
  11. "Naomi Osaka: Japanese Firepower". www.tennisviewmag.com.
  12. Perrotta, Tom (2018-09-12). "Naomi Osaka: The Tennis Star Who Was Overlooked by Everyone". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
  13. Ganguly, Sudipto (2019-01-27). "Osaka edges Kvitova to claim Australian Open crown". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.