นางฟ้าทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางฟ้าทะเล
นางฟ้าทะเลชนิด Clione limacina
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Gastropoda
ไม่ได้จัดลำดับ: clade Heterobranchia
clade Euthyneura
clade Euopisthobranchia
clade Gymnosomata
วงศ์
ดูในเนื้อหา

นางฟ้าทะเล (อังกฤษ: Sea angel) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสคา จัดเป็นหอยฝาเดี่ยวจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในชั้น Gymnosomata

นางฟ้าทะเล ถือเป็นหอยฝาเดี่ยวที่ไม่มีเปลือก นางฟ้าทะเลมีลำตัวใส มองเห็นจุดสีส้มอยู่ทั้งหมดสามจุด โดยสองจุดแรกจะแยกออกจากกันไม่ชัดเจน เนื่องจากอยู่บริเวณหัวที่มีหนวดสั้น ๆ สองข้างด้านบน ซึ่งจุดดังกล่าวเป็นอวัยวะที่เรียกว่า "ถุงตะขอ" (Hook sac) และ "หลอดบุคคัล" (Buccal bulb) ซึ่งเป็นส่วนที่เปรียบได้กับปาก มีส่วนที่เป็นฟันอยู่ในนั้น จุดที่สามของลำตัว มีขนาดใหญ่กว่า เป็นส่วนที่ใช้สำหรับย่อยอาหาร และส่วนที่เป็นจุดเด่น คือ อวัยวะที่เป็นระยางค์เล็ก ๆ คล้ายปีก ที่ชื่อชื่อเรียกว่า "พาราโพเดีย" (Parapodia) อยู่สองข้าง ใช้สำหรับกระพือขึ้นลงเคลื่อนไหวในน้ำเป็นจังหวะ ดูแล้วคล้ายกับนางฟ้าในนิทาน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ

เปลือกของนางฟ้าทะเล ลดรูปลงไป จะพบได้ก็ต่อเมื่อยังเป็นระยะวัยอ่อนอยู่ ระยางค์สองข้างนั้นเปลี่ยนมาจากส่วนที่เป็นเท้าเพื่อใช้ในการว่ายน้ำ

นางฟ้าทะเล จะพบในบริเวณที่เป็นน้ำเย็นจัดแถบขั้วโลกเท่านั้น ทั้งขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ นางฟ้าทะเลกินหอยฝาเดียวที่มีเปลือกแต่ว่ายน้ำได้เช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า "ผีเสื้อทะเล" (Sea butterfly) การกินอาหารของนางฟ้าทะเลเป็นไปอย่างน่าสนใจ เพราะจู่โจมเข้าใส่อย่างรวดเร็วมาก ผิดกับสภาพการดำรงชีวิตปกติที่ดูเชื่องช้า นางฟ้าทะเลมีรายงานว่าสามารถมีชีวิตได้ด้วยการกินอาหารเพียงครั้งเดียว สามารถอดอาหารได้นานถึงเกือบหนึ่งปี (365 วัน) เพราะสามารถเก็บสำรองพลังงานจำนวนมากไว้ในตัว เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีอัตราการเผาผลาญพลังงานที่ต่ำมาก เนื่องจากอาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ[1]

การจำแนก[แก้]

ในปี ค.ศ. 2005 ได้มีการจำแนกตามหลักการอนุกรมวิธานนางฟ้าทะเล ไว้ดังนี้

โดยที่มีชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ Clione limacina ที่พบในขั้วโลกเหนือ และ C. antartica พบในขั้วโลกใต้ ทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยชนิดที่พบในขั้วโลกเหนือจะมีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปก็จะมีขนาดเฉลี่ย 1-2.5 เซนติเมตร ส่วนชนิดที่พบในขั้วโลกใต้มีความยาวถึง 5 เซนติเมตร[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 หน้า 142-143, นางฟ้าทะเล (Sea Angel) โดย ดร.วรเทพ มุธุวรรณ. "คลินิกสัตว์ทะเล" นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 35 ปีที่ 3 พฤษภาคม 2013
  2. Bouchet P., Rocroi J.-P., Frýda J., Hausdorf B., Ponder W., Valdés Á. & Warén A. (2005). "Classification and nomenclator of gastropod families". Malacologia: International Journal of Malacology. Hackenheim, Germany: ConchBooks. 47 (1–2): 1–397. ISBN 3925919724. ISSN 0076-2997.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]