แอมโบรสแห่งมิลาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบุญแอมโบรสแห่งมิลาน
มุขนายกและนักปราชญ์แห่งคริสตจักร
เกิดราว ค.ศ. 337 ถึง ค.ศ. 340
เทรียร์ จักรวรรดิโรมัน
เสียชีวิต4 เมษายน ค.ศ. 397
มิลาน จักรวรรดิโรมัน
นิกายโรมันคาทอลิก

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

ลูเทอแรน
วันฉลอง7 ธันวาคม
สัญลักษณ์รังผึ้ง, เด็ก, แซ่, กระดูก
องค์อุปถัมภ์คนเลี้ยงผึ้ง, ผึ้ง, คนทำเทียน, สัตว์เลี้ยง, การศึกษา, เมืองมิลาน, ประเทศอิตาลี, นักเรียน, ขึ้ผึ้ง

นักบุญแอมโบรสแห่งมิลาน (อังกฤษ: Ambrose of Milan; ละติน: Ambrosius; อิตาลี: Ambrogio) (ราว ค.ศ. 337 ถึง ค.ศ. 340-344 เมษายน ค.ศ. 397) เป็นบาทหลวงชาวโรมันดำรงตำแหน่งบิชอปแห่งมิลาน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในคริสตจักรในคริสต์ศตวรรษที่ 4 นักบุญแอมโบรสเป็นหนึ่งในสี่คนแรกของนักปราชญ์แห่งคริสตจักร

ประวัติ[แก้]

ชีวิติเบื้องต้น[แก้]

แอมโบรสเกิดในครอบครัวคริสตชน ระหว่างปึ ค.ศ. 337 ถึง ค.ศ. 340 - 344 และเติบโตขึ้นที่เมืองเทรียร์ จักรวรรดิโรมัน เป็นลูกของเจ้าหน้าที่ของจังหวัดแกลเลีย นาร์โบเนนซิส (Gallia Narbonensis)[1] มารดาของแอมโบรสเป็นสตรีผู้มีปัญญาและมีมีศรัทธาศาสนาแรงกล้า เล่ากันว่าเมื่อแอมโบรสยังเป็นทารกนอนในเปลก็มึฝูงผึ้งมาเกาะหน้า ก่อนจะบินไปผึ้งก็ทิ้งน้ำผึ้งไว้หยดหนึ่ง บิดาของแอมโบรสถือว่าเป็นสัญลักษณ์ว่าเมื่อแอมโบรสโตขึ้นก็จะเป็นผู้มีฝีปากดี ฉะนั้นรูปของแอมโบรสจึงมักมีผึ้งหรือรังผึ้งเป็นสัญลักษณ์

พ่อของแอมโบรสเสียชีวิตตั้งแต่แอมโบรสยังเป็นเด็ก เมี่อโตขึ้นมาแอมโบรสก็มีอาชีพตามพ่อ หลังจากที่ได้รับการศึกษาที่กรุงโรม ทางวรรณกรรม นิติศาสตร์ และวาทศิลป์ แม่ทัพแอนิเชียส โพรบัส (Anicius Probus) มอบตำแหน่งในสภาให้แต่ต่อมาราวปึ ค.ศ. 372 ก็แต่งตั้งแอมโบรสให้เป็นผู้ปกครองลีกูเรีย และเอมิเลียซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่มิลานซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองหลวงที่สองรองจากโรม[1] แอมโบรสเป็นนักปกครองที่ดีและไม่นานก็เป็นที่นิยม[ต้องการอ้างอิง]

บิชอปแห่งมิลาน[แก้]

มุขมณฑลมิลานขณะนั้นมึความเขัดแย้งกันระหว่างผู้สนับสนุนแนวคิดตรีเอกภาพ และผู้สนับสนุนลัทธิเอเรียส เมื่ออ็อกเซ็นเทียส บิชอปแห่งมิลานถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 374 ผู้สนับสนุนลัทธิเอเรียสก็ท้าทายการตั้งบิชอปคนใหม่ แอมโบรสจึงเดินทางไปที่มหาวิหารมิลานซึ่งเป็นที่เลือกตั้งเพื่อจะไปควบคุมสถานะการณ์เพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น ขณะที่แอมโบรสกำลังปราศัยอยู่ก็ถูกขัดจังหวะโดยเสียงตะโกนจากที่ประชุมกันต่อ ๆ กันไปให้ “แอมโบรสเป็นบิชอป” แอมโบรสจึงถูกเลือกให้เป็นบิชอปโดยที่ประชุม

แอมโบรสเองสนับสนุนความเชื่อเรื่องตรีเอกภาพ แต่ก็ยอมรับลัทธิเอเรียสเพราะมีความเข้าใจในทฤษฏีทางเทววิทยาของลัทธิเอเรียส ตอนแรกแอมโบรสก็ไม่ยอมรับตำแหน่งเป็นบิชอปเพราะไม่รู้สึกว่าพร้อม แอมโบรสเองไม่เคยรับบัพติศมาและไม่มีการศึกษาทางเทววิทยามาก่อน[1] พอได้รับแต่งตั้งแอมโบรสก็หนีไปซ่อนที่บ้านเพื่อนร่วมงาน แต่เมื่อเพื่อนได้รับจดหมายจากจักรพรรดิโรมันชื่นชมในการแต่งตั้งแอมโบรสเป็นบิชอปก็จำต้องให้แอมโบรสมอบตัว ไม่ถึงอาทิตย์หลังจากนั้นแอมโบรสก็รับบัพติศมา รับศีลอนุกรม และรับตำแหน่งเป็นบิชอปแห่งมิลาน

พอเป็นบิชอป แอมโบรสก็บำเพ็ญตัวอย่างนักบวช โดยยกเงินให้คนยากจน, ยกที่ดินทั้งหมดให้คนอื่น เหลือบางส่วนให้นักบุญมาร์เซลลินา (St Marcellina) น้องสาว และมอบการดูแลครอบครัวให้น้องชาย บิชอปแอมโบรสมีงานเขียนมากมายรวมทั้งศาสตรนิพนธ์ชื่อ “ความดีของความตาย” (The Goodness Of Death)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Attwater, Donald and Catherine Rachel John. The Penguin Dictionary of Saints. 3rd edition. New York: Penguin Books, 1993. ISBN 0-14-051312-4.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

“นักบุญแอมโบรสแห่งมิลาน” โดยฟรันซิสโก ซูร์บาราน