นักดนตรีตาบอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพนักบุญเซซีลีอาโดยกุยโด เรนี ค.ศ. 1606

นักดนตรีตาบอด เป็นนักร้องหรือนักบรรเลง หรือในบางกรณีเป็นนักร้อง-ผู้ร้องร่วม ที่ตาบอดโดยนิตินัย

แหล่งที่มา[แก้]

ในอดีต นักดนตรีตาบอดหลายคน รวมทั้งนักดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดบางคน ได้แสดงโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการสอนอย่างเป็นทางการ เนื่องจากการสอนดังกล่าวอาศัยโน้ตดนตรีที่เขียนสำหรับคนที่มองเห็นได้อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีแหล่งข้อมูลจำนวนมากสำหรับนักดนตรีตาบอดที่ต้องการเรียนรู้ทฤษฎีดนตรีตะวันตกและโน้ตคลาสสิก ทั้งนี้ หลุยส์ เบรลล์ ชายผู้สร้างอักษรเบรลล์สำหรับคนตาบอด ได้สร้างระบบโน้ตคลาสสิกสำหรับคนตาบอดที่เรียกว่าดนตรีอักษรเบรลล์ ระบบนี้ช่วยให้คนตาบอดสามารถอ่านและเขียนเพลงได้อย่างที่ตาเห็น ซึ่งการเก็บรวบรวมโน้ตดนตรีอักษรเบรลล์ที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ที่หอสมุดรัฐสภา ในวอชิงตัน ดี.ซี.[1] ส่วนนอกสหรัฐ การเก็บรวบรวมโน้ตดนตรีอักษรเบรลล์ที่ใหญ่ที่สุดจะได้รับการเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติเพื่อคนตาบอดในประเทศอังกฤษ[2]

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตทำให้เป็นไปได้ในทางทฤษฎีสำหรับนักดนตรีตาบอดที่จะมีอิสระมากขึ้นในการแต่งและเรียนดนตรี อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ โปรแกรมส่วนใหญ่ใช้ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ซึ่งยากสำหรับคนตาบอดในการนำทาง และได้มีความคืบหน้าในการสร้างส่วนต่อประสานสำหรับอ่านหน้าจอสำหรับคนตาบอดโดยเฉพาะสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์[3]

ปัจจุบันนี้ยังมีองค์การหลายแห่งที่อุทิศให้กับการสนับสนุนนักดนตรีตาบอด ซึ่งศูนย์แหล่งข้อมูลแห่งชาติเพื่อนักดนตรีตาบอดและเครือข่ายการศึกษาดนตรีสำหรับผู้พิการทางสายตา ได้อุทิศตนเพื่อการศึกษาดนตรีสำหรับคนตาบอด

อ้างอิง[แก้]

  1. Taesch, Richard. "Quick Facts – Braille Music, Music Technology". National Resource Center for Blind Musicians. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
  2. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2005. สืบค้นเมื่อ 2005-06-17.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. [1] เก็บถาวร 24 กันยายน 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน