ปีนักษัตร
ปีนักษัตร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 生肖 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | shēngxiào | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 属相 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 屬相 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | shǔxiàng | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ปีนักษัตร หรือ นักขัต เป็นรูปแบบการจำแนกประเภทดั้งเดิมตามปฏิทินจีนที่กำหนดสัตว์และคุณลักษณะที่มีชื่อเสียงของมันในแต่ละปีในรอบสิบสองปีวนซ้ำ[1] ในวัฒนธรรมจีนดั้งเดิม ปีนักษัตรเป็นสิ่งสำคัญมากและเป็นผลสะท้อนของปรัชญาและวัฒนธรรมจีน[2] ชาวจีนถือว่าบุคลิกภาพสัมพันธ์กับราศีของตน[3] ปีนักษัตรมีต้นกำเนิดจากจีน และปีนักษัตรรูปแบบอื่น ๆ ยังคงได้รับความนิยมในประเทศแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่ง เช่น ญี่ปุ่น,[4] เกาหลีใต้,[5] เวียดนาม,[5] สิงคโปร์, เนปาล, ภูฏาน, กัมพูชา และไทย[6]
สำหรับวันแรกตามปีนักษัตร สองสำนักคิดในดวงจีนระบุวันเริ่มต้นต่างกัน คือ ปีใหม่จีนหรือวันเริ่มต้นใบไม้ผลิ
โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าตั้งแต่ก่อนยุคราชวงศ์ฉิน (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ) ก็มีปรากฏรูปปีนักษัตรแล้ว โดยใช้สัตว์ประเภทต่าง ๆ เป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ อันได้แก่[7]
- ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง(มังกรฟ้าราชวงศ์ โจว-ฉิน มังกรมีขายาว 5 เล็บ ลำตัวคล้ายกวางมีปีก)(นางพญางูขาว-งูใหญ่-นาค) มะเส็ง (งูเล็ก) มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ และ กุน
สัตว์ประจำปีนักษัตร
[แก้]ปีนักษัตรจะมีสัตว์ประจำปี อันเป็นความหมายของชื่อปีนั้น ๆ มีดังนี้
- ปีกุน สุกร ไทย
- ปีเถาะ กระต่าย เวียดนาม
- ปีฉลู วัว เวียดนามถือเป็นปีควาย
- ปีมะโรง มังกร ไทย
- ปีมะแม แพะ ญี่ปุ่น
- สันนิษฐาน ที่มาของที่มาของปีนักษัตร เช่น ปีมังกร ฉลู มะเมีย (ม้า) มะแม (แพะ) ระกา (ไก่) จอ (สุนัข, หมา) เป็น ปีหมู ปีจอ ปีฉลู ปีกระต่าย ปีแพะ ปีม้า ปีระกา เป็น 6 นักษัตร สัตว์เลี้ยงชาวจีน หรืออีกนัยสำคัญคือ สัตว์ที่อาศัยบกทั้งหมด (12 ราศี) (หมายเหตุ: นาค อยู่ในน้ำ วังบาดาล) จีนคิดค้นปีนักษัตร สมัยราชวงศ์โจวเป็นอย่างน้อย เกือบ 3 พันปี มีหลักฐานอยู่ที่ไต้หวัน
อักษรจีน | อักษรภาคภิภพ | ภาษาจีนกลาง | ภาษาจีนแคะ[8] | แคะ | ภาษาเขมร | ชื่อนักษัตร | ภาษาไทย | ภาษาบาลี | ภาษาลาว | ล้านนา | ไทลื้อ | ไทใหญ่ | เวียดนาม |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
鼠 | 子 (จื่อ/zǐ) | สู่ | ฉู่ | ชู่ | ជូត | ชวด | หนู | มุสิก | ໃຈ້ ใจ้ | ไจ้ ᨧᩱ᩶ | ᦺᦈᧉ ไจ้ | เจ้อ-อี | Tí ตี๊
chuột จวด |
牛 | 丑 (โฉ่ว/chǒu) | หนิว | แหง่ว | แหงว | ឆ្លូវ | ฉลู | วัว | อุสุภ, อุสภ | ເປົ້າ เป้า | เป้า ᨸᩮᩢ᩶ᩣ | ᦔᧁᧉ เป้า | เป้า | Sửu สืว trâu เจิว |
虎 | 寅 (อิ๋น/yín) | หู่ | ฝู่ | ฟู่ | ខាល | ขาล | เสือ | พยาฆร, พยัฆะ
วยาฆร, พยคฆ |
ຍີ່ ยี่ | ยี ᨿᩦ | ᦍᦲ ยี | ยี | Dần เสิ่น
hổ โห |
兔 | 卯 (หม่าว/mǎo) | ทู่ | ถู้ | ถู้ | ថោះ | เถาะ | กระต่าย | สะสะ, สัศ | ເໝົ້າ เหม้า | เหม้า ᩉ᩠ᨾᩮᩢ᩶ᩣ | ᦖᧁᧉ เหม้า | เหม้า | Mạo
หม่าว mèo แหม่ว |
龍/龙 | 辰 (เฉิน/chén) | หลง | หลุง | หลุง
ลหยุง |
រោង | มะโรง | งูใหญ่ | มังกร,นาค
สงกา |
สี | สี ᩈᩦ | สี | สี | Thìn ถิ่น
rồng หร่ง |
蛇 | 巳 (ซื่อ/sì) | เสอ | สา | สา | ម្សាញ់ | มะเส็ง | งูเล็ก | สัป,สปปก | ไส้,ไซ้ | ไส้ ᩈᩱ᩶ | ไส้ | เส้อ-อื | Tị ติ
rắn รั้น |
馬/马 | 午 (อู่/wǔ) | หม่า | มา | มา | មមី | มะเมีย | ม้า | ดรงค,อัสส,อัสดร | สะง้า
ซะง้า |
สง้า ᩈ᩠ᨦ᩶᩻ᩣ | สะงะ | สีงะ | Ngọ
เหงาะ ngựa เหงือะ |
羊 | 未 (เว่ย/wèi) | หยาง | หยอง | หยอง | មមែ | มะแม | แพะ | เอฬกะ,อัชฉะ | เม็ด | เม็ด ᨾᩮᩢ᩠ᨯ | เม็ด | โมด | Mùi หมู่ย dê เซ |
猴 | 申 (เซิน/shēn) | โหว | แห็ว | แห็ว | វក | วอก | ลิง | มกฎะ,กปิ | สัน | สัน ᩈᩢ᩠ᨶ | แสน | สัน | Thân เทิน
khỉ ขี |
雞/鸡 | 酉 (โหย่ว/yǒu) | จี | แก/ไก | แก | រកា | ระกา | ไก่ | กุกกุฎ, กุกกุฏ | เฮ้า,เร้า | เร้า ᩁᩮᩢ᩶ᩣ | เล้า | เฮ้า | Dậu เส่อว gà ก่า |
狗 | 戌 (ซวี/xū) | โก่ว | แกว | แก้ว | ច | จอ | หมา | โสณ, สุนัข | เส็ด | เส็ด ᩈᩮᩢ᩠ᨯ | เส็ด | เม็ด | Tuất ต๊วด chó จ๊อ |
豬/猪 | 亥 (ฮ่าย/hài) | จู | จู | จู | កុរ | กุน | หมู | สุกร, วราห | ไก้,ไก๊ | ใค้ ᨣᩲ᩶ | ใก๊ | เก้อ-อื | Hợi เห่ย
lợn เหลิ่น |
ตำนาน
[แก้]ตำนานเรื่องเล่าในสมัยปีใหม่แรกของจีนที่จากพระถังซำจั๋ง
(วันชิวอิก หรือวันที่ 1 เดือนอ้ายของจีน) สัตว์ทั้งหลายต่างมาชุมนุมหน้าวังหลวงของฮ่องเต้สวรรค์
ฮ่องเต้ประกาศให้สัตว์ 12 ชนิด ที่มาถึงก่อนวัน
(วันชิวยี่ หรือวันที่ 2 เดือนอ้าย)
ดังนั้นสัตว์ 12 ชนิด ได้รับแต่งตั้งเป็นองครักษ์
ใน 1 วัน สัตว์ 1 ชนิดอยู่ยาม 2 ชั่วโมง
สัตว์ 12 ชนิดอยู่ยาม 24 ชั่วโมง
รวมเป็น 12 ยามเฝ้าวังหลวง
อ้างอิงและเชิงอรรถ
[แก้]- ↑ "The Chinese Zodiac". Timothy S. Y. Lam Museum of Anthropology (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-27.
- ↑ "Chinese Zodiac | Home". UW Departments Web Server. สืบค้นเมื่อ 2023-12-27.
- ↑ Gao, Jinlin; Joh, Yoon-kyoung (2019-04-30). "Chinese Zodiac Culture and the Rhetorical Construction of A Shu B, C" (PDF). Lanaguage Research (ภาษาอังกฤษ). Seoul National University. 55 (1): 2. doi:10.30961/lr.2019.55.1.55. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ Jan 6, 2024.
- ↑ Abe, Namiko. "The Twelve Japanese Zodiac Signs". ThoughtCo (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-14. สืบค้นเมื่อ 2019-07-16.
- ↑ 5.0 5.1 "Chinese Zodiac and Chinese Year Animals". astroica.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-07-16.
- ↑ "Animals of the Thai Zodiac and the Twelve Year Cycle". Thaizer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2011-09-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-14. สืบค้นเมื่อ 2019-07-16.
- ↑ หน้าจุดประกาย 2 วัฒนธรรม, ส่งท้ายปีลิง 'ลิง' ในวัฒนธรรมของชาวจีน โดย ดนุพล ศิริตรานนท์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 30 ฉบับที่ 10345: วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560
- ↑ คำอ่านเป็นภาษาฮากกา (จีนแคะ) สำเนียง ฉิมฮาก(แคะลึก) จาก hakkapeople.com [1] เก็บถาวร 2010-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน