นอร์ทรอป พี-61 แบล็กวิโดว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พี-61 แบล็กวิโดว์
เครื่องบินพี-61เอของฝูงบินเครื่องบินขับไล่ตอนกลางคืนที่ 419
หน้าที่ เครื่องบินขับไล่กลางคืน
ประเทศผู้ผลิต  สหรัฐ
ผู้ผลิต นอร์ทรอป
เที่ยวบินแรก 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1942
เริ่มใช้ 1944
ปลดระวาง 1954
ผู้ใช้หลัก กองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ
กองทัพอากาศสหรัฐ
จำนวนที่ถูกผลิต 706
ค่าใช้จ่ายต่อลำ
US$190,000[1]
รุ่น นอร์ทรอป เอฟ-15 รีพอร์เตอร์

นอร์ทรอป พี-61 แบล็กวิโดว์ เป็นชื่อที่ถูกตั้งมาจากแมงมุมสายพันธุ์อเมริกัน เป็นเครื่องบินรบเชิงปฏิบัติการรุ่นแรกของสหรัฐที่ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องบินขับไล่กลางคืนและเครื่องบินลำแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เรดาร์[2][3] พี-61 นั้นมีลูกเรือสามคน ได้แก่ นักบิน พลปืน และผู้ควบคุมเรดาร์ มันได้ถูกติดตั้งอาวุธด้วยปืนใหญ่ที่ยิงไปขนาดหน้าด้วยขนาด 20 มม.(.79 นิ้ว) ฮิสปาโน เอ็ม2 ทั้งสี่กระบอกที่ติดตั้งอยู่ในด้านล่างของลำตัวเครื่องบิน และปืนกลเอ็ม 2 บราวนิงด้วยกระสุนขนาด .50 นิ้ว(12.7 มม.)ทั้งสี่กระบอกที่ติดตั้งอยู่ในป้อมปืนด้านหลังที่ควบคุมจากระยะไกล

มันเป็นโลหะทั้งหมด เครื่องยนต์สองเครื่อง ลำตัวแบบคู่ ที่ถูกออกแบบคิดค้นขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[4] ได้รับการทดสอบบินครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 กับการผลิตเครื่องบินครั้งแรกที่ถูกยกเลิกออกจากสายการผลิตในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943 เครื่องบินลำสุดท้ายได้ถูกปลดประจำการในปี ค.ศ. 1954

แม้ว่าจะไม่ได้ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก แบล็กวิโดว์ได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพคือ เครื่องบินขับไล่ตอนกลางคืน โดยฝูงบินแห่งกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐในเขตสงครามยุโรป เขตสงครามแปซิฟิก เขตสงครามจีน พม่า อินเดีย และเขตสงครามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มันได้ถูกแทนที่เครื่องบินขับไล่ตอนกลางคืนที่ถูกออกแบบโดยบริติซก่อนหน้านี้ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้รวมเข้ากับเรดาร์เมื่อพร้อมใช้งาน ภายหลังสงคราม พี-61-ที่ถูกออกแบบขึ้นมาใหม่เป็น เอฟ-61 ประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐในฐานะที่เป็นเครื่องบินสกัดกั้นทั้งกลางวัน/กลางคืน ที่บินได้ระยะยาว และรับมือได้ทุกสภาพอากาศสำหรับกองบัญชาการป้องกันทางอากาศจนกระทั่งปี ค.ศ. 1948 และกองทัพอากาศที่ 5 จนกระทั่งปี ค.ศ. 1950

เมื่อคืนวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 พี-61บีของฝูงบินเครื่องบินขับไล่ตอนกลางคืนที่ 548 ที่มีฉายาว่า เลดี้ในความมืด ได้มีชื่อเสียงอย่างไม่เป็นทางการกับชัยชนะทางอากาศครั้งสุดท้ายของฝ่ายสัมพันธมิตรก่อนวันชัยเหนือญี่ปุ่น[5] พี-61ยังได้ถูกดัดแปลงเพื่อสร้างเอฟ-15 รีพอร์เตอร์ เครื่องบินถ่ายภาพการลาดตระเวนสำหรับกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐและต่อมาก็ถูกใช้งานโดยกองทัพอากาศสหรัฐ[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Knaack, M.S. Post-World War II Fighters, 1945–1973. Washington, D.C.: Office of Air Force History, 1988. ISBN 0-16-002147-2.
  2. Wilson 1998, p. 142.
  3. Parker, Dana T. Building Victory: Aircraft Manufacturing in the Los Angeles Area in World War II, p. 93, Cypress, CA, 2013. ISBN 978-0-9897906-0-4.
  4. Parker, Dana T. Building Victory: Aircraft Manufacturing in the Los Angeles Area in World War II, pp. 93–7, Cypress, CA, 2013. ISBN 978-0-9897906-0-4.
  5. Pape (1991).
  6. Johnson 1976, pp. 30–44.