นกนางแอ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นกอีแอ่น)
นกนางแอ่น
นกนางแอ่นตะโพกแดง (Cecropis daurica)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Hirundinidae
Rafinesque, 1825
สกุล[1]

นกนางแอ่น หรือ นกอีแอ่น[2] หรือ จัดอยู่ในประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก จัดเป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Hirundinidae ซึ่งมักมีความสับสนกับนกแอ่น ซึ่งเป็นนกที่มีลักษณะคล้ายกัน สามารถสร้างรังจากน้ำลาย แต่จัดอยู่ในอีกวงศ์

พฤติกรรมนกนางแอ่น[แก้]

  • การออกหากินและกลับรังเป็นเวลา เช่น เวลากลับรัง มักได้แก่ 11.30 14.00 17.30 หรือ 18.30 แล้วแต่ท้องถิ่น หรือฤดูกาล
  • บินในที่มืดได้คล่องแคล่ว แม่นยำ จากการส่งเสียงสะท้อนนำทาง (Echolocation)
  • รักเดียวใจเดียว จะครองคู่กันไปตลอด
  • เป็นสัตว์สังคม ดำรงชีวิตแบบรวมหมู่ เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ มีจ่าฝูงด้วย
  • บินด้วยความเร็วสูง 89-100 กม./ชม.
  • อายุทั่วไป 6-7 ปี อายุ 3 ปีจะสร้างรังได้ดีที่สุด
  • จะผสมพันธุ์กันในที่อยู่อาศัย ทำรังปีละ 3 รอบ ออกไข่รอบละ 2 ฟอง
  • วันที่มีแดดจ้า จะหากินไกล วันฟ้ามืดฝนตกจะบินใกล้ ฝนตกหนักจะไม่ออกหากิน

อาหารของนกนางแอ่น[แก้]

  1. นกนางแอ่นจะบินโฉบเฉี่ยวกินสัตว์จำพวกแมลงที่บินอยู่ในอากาศ โดยใช้จะงอยปาก
  2. แมลงที่กิน ได้แก่ มดที่มีปีก แมงเม่า แมงปอ ด้วงปีกแข็ง มวน เพลี้ย ยุง แมลงวัน แมลงบนผิวน้ำ แมลงตามพุ่มไม้
  3. นกนางแอ่น 1 ตัว จะกินแมลงได้ 1 - 2 กรัม หรือ แมลงประมาณ 27 - 32 ตัว

ศัตรูของนกนางแอ่น[แก้]

  • มนุษย์
  • นกเค้าแมว
  • งูเหลือม งูหลาม งูเห่าไทย งูเขียวหางไหม้
  • ตุ๊กแก
  • แมลงสาบ
  • ลิง
  • ค้างคาว
  • ตะกวด ตัวเงินตัวทอง
  • นกเหยี่ยว
  • นกอินทรี นกกา

ความเชื่อ[แก้]

ตามความเชื่อของชาวม้ง ในตอนใต้ของจีน เชื่อว่านกนางแอ่นเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมงคล และคู่นกนางแอ่นจะซื่อสัตย์ต่อกันไปจนวันตาย นำซึ่งความสุขมาสู่ชีวิตสมรสและชีวิตครอบครัว การมาถึงของนกนางแอ่นเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงฤดูกาลไถหว่าน โดยจะยินยอมให้นกนางแอ่นเข้ามาทำรังที่เพดานบ้านของตนได้ตามสบาย[3]

รายชื่อสายพันธุ์[แก้]

วงศ์นี้มี 89 ชนิด ใน 21 สกุล[4]

ภาพ สกุล สายพันธุ์
นกนางแอ่นแม่น้ำ Hartlaub, 1861
Psalidoprocne Cabanis, 1850
Neophedina Roberts, 1922
Phedinopsis Wolters, 1971
Phedina Bonaparte, 1855
Riparia Forster,T, 1817
Tachycineta Cabanis, 1850
Atticora Gould, 1842
Pygochelidon Baird, SF, 1971
Alopochelidon Ridgway, 1903
Orochelidon Ridgway, 1903
Stelgidopteryx Baird, SF, 1858
Progne Boie, F, 1826
Pseudhirundo Roberts, 1922
Cheramoeca Cabanis, 1850
Ptyonoprogne Reichenbach, 1850
Hirundo Linnaeus, 1758
Delichon Moore, F, 1854
Cecropis Boie, F, 1826
Atronanus De Silva, 2018
Petrochelidon Cabanis, 1850

อ้างอิง[แก้]

  1. "Hirundinidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  2. บรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร์. ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2514, หน้า 67
  3. "สารคดีชุดแดนพิศวง 26 3/4AE?O?OA1 2558 ตอน Wild China อลังการ แผ่นดินมังกร". นาว 26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-12-11.
  4. Gill, Frank; Donsker, David; Rasmussen, Pamela, บ.ก. (กรกฎาคม 2564). "Swallows". IOC World Bird List Version 11.2. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]