นกมุดน้ำ
นกมุดน้ำ | |
---|---|
นกมุดน้ำที่ยังไม่โตเต็มวัย | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | สัตว์ปีก |
อันดับ: | Passeriformes |
วงศ์: | Cinclidae |
สกุล: | Cinclus |
สปีชีส์: | pallasii |
ชื่อทวินาม | |
Cinclus pallasii Temminck, 1820 | |
![]() | |
ช่วงการแพร่กระจายพันธุ์ |
นกมุดน้ำ (อังกฤษ: The brown dipper หรือ Pallas's dipper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinclus pallasii) เป็นชนิดเดียวในวงศ์นกมุดน้ำ (Cinclidae) ที่พบในประเทศไทยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ นกมุดน้ำเป็นนกน้ำที่มีเสียงร้องไพเราะ มีถิ่นอาศัยใกล้ธารน้ำไหลที่สะอาดใสในแถบต้นน้ำบริเวณระดับกลางถึงล่างของเทือกเขา มีหางสั้น ขนสีน้ำตาลเข้มทั่วทั้งตัว มีพฤติกรรมชอบกระโดดลงไปในลำธาร ว่ายน้ำและดำน้ำเพื่อจับเหยื่อเหมือนนกทะเล และมักพบว่าใช้ชีวิตไม่ห่างจากน้ำโดยตลอด[2]
อนุกรมวิธาน[แก้]
นกมุดน้ำได้รับการอธิบายโดยนักสัตววิทยาชาวดัตช์ Coenraad Jacob Temminck ในปีพ.ศ. 2363 และตั้งชื่อทวินามว่า Cinclus pallasii[3] ถิ่นกำเนิด (Type Locality) คือไซบีเรียตะวันออก[4] ชื่อเฉพาะ "pallasii" ได้รับการตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ Peter Simon Pallas นักธรรมชาติวิทยาชาวปรัสเซีย (ค.ศ.1741-1811)[5] วงศ์นกมุดน้ำมีถิ่นอาศัยใกล้แหล่งน้ำ มี 1 สกุลคือ Cinclus และ 5 ชนิดทั่วโลก (Cinclus cinclus, Cinclus pallasii, Cinclus mexicanus, Cinclus leucocephalus, Cinclus schulzii) แต่พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย (C. pallasii) และจากการศึกษาทางพันธุกรรมระดับโมเลกุลของนกสกุลนกมุดน้ำ 5 ชนิดแสดงให้เห็นว่า นกมุดน้ำ (C. pallasii) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมากที่สุดกับนกมุดน้ำคอขาว (Cinclus cinclus) ที่อาศัยในยูเรเชีย[6]
ชนิดย่อย[แก้]
- Cinclus pallasii pallasii Temminck, 1820 – พบในเทือกเขาในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ (ไซบีเรียตะวันออก ถึงหมู่เกาะซาคาริน และคูริล), ญี่ปุ่น, จีนตอนกลางและตะวันออก รวมถึงเกาะไต้หวัน, เวียดนามตอนเหนือ ชนิดย่อยนี้อาจพบได้ในไทยตอนเหนือ[7]
- Cinclus pallasii dorjei Kinnear, 1937 – อาศัยในเทือกเขาในสิกขิมตะวันออก อัสสัม จีน (แถบทิเบตตะวันออก) พม่าตอนเหนือ และอาจพบได้ในไทยตอนเหนือ[8]
- Cinclus pallasii tenuirostris Bonaparte, 1850 – พบได้ที่แถบเทือกเขาในเอเชียกลางและแถบเทือกเขาหิมาลัย[9]
การแพร่กระจายพันธุ์และถิ่นที่อยู่[แก้]
พบในเทือกเขาทางตะวันออกของเขตชีวภาพพาลีอาร์กติก
ลักษณะทางชีววิทยาและพฤติกรรม[แก้]
ลำตัวป้อม ยาวประมาณ 22 ซม. น้ำหนัก 87 กรัม ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นกมุดน้ำ[10] ขนลำตัวสีน้ำตาลเข้มล้วน หลังและอกสีอ่อนกว่าเล็กน้อย ปากค่อนข้างใหญ่และยาว วงรอบตาขาว ขณะหลับตาเห็นหนังปิดตาขาวชัดเจน[11] หางมีลักษณะคล้ายกางเขนดงที่มีหางงอกระดกขึ้น
นกวัยรุ่น มีขนลำตัวเทาแกมน้ำตาล มีลายเกล็ดสีดำกระจาย ปีกมีลายขาวจาง ๆ[2]
พฤติกรรมและนิเวศวิทยา[แก้]
อาศัยและหากินในแหล่งน้ำที่ไหลแรงและคุณภาพดี พบได้ตามน้ำตกหรือลำธารขนาดใหญ่ ที่ระดับความสูง 200-1,000 เมตร มักพบโดดเดี่ยว โดยการยืนเกาะตามแก่งหินข้างลำธารที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี[2][12]
นกมุดน้ำกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์จำพวกแมลง ตัวหนอน หรือไข่ปลาที่เกาะตามก้อนหิน โดยอาหารโปรดคือแมลงน้ำ นกมุดน้ำนี้สามารถมุดลงไปใต้น้ำ ใช้ปีกและขาพุ้ยน้ำ ให้เคลื่อนที่ไปตามทิศทางที่ต้องการ จากนั้นใช้ปากคาบเหยื่อ แล้วโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเพื่อกลืนอาหารและดำลงไปหาเหยื่อต่อไป จึงเป็นที่มาของชื่อนกมุดน้ำ[12] การว่ายน้ำและดำน้ำเพื่อจับเหยื่อนี้คล้ายพฤติกรรมของนกทะเล[2] ในช่วงพักผ่อนจะเกาะตามก้อนหินเพื่อตากแดดให้ขนแห้ง มักร้องเสียง "จี๊ด ๆ" เป็นจังหวะ[2]
ในประเทศไทย[แก้]
ยังไม่พบรายงานการวางไข่ของนกมุดน้ำในประเทศไทย สันนิษฐานว่านกมุดน้ำเป็นนกอพยพมายังประเทศไทยในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หรือในฤดูหนาว และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[12]
นกมุดน้ำเป็นนกประจำถิ่นในประเทศไทยที่พบได้ยากมาก[13] [14]
มีรายงานการพบเพียงครั้งเดียวในช่วงเดือนธันวาคม 2543 บริเวณคลองวังเจ้า อุทยานแห่งชาติคลองเจ้า รอยต่อจังหวัดตากและกำแพงเพชร[15] และนกมุดน้ำนี้เป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่สามารถบ่งชี้สภาพของแหล่งน้ำได้ เนื่องจากสามารถพบได้เฉพาะลำธารที่มีคุณภาพดีมากและมีการรบกวนน้อย[12]
บริเวณอื่นที่อาจพบนกมุดน้ำในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณอ่างกาหลวง[16]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ แม่แบบ:Url=https://www.iucnredlist.org/details/22708160/0
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 นกมุดน้ำ. eBird. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
- ↑ Temminck, Coenraad Jacob (1820). Manuel d'ornithologie, ou, Tableau systématique des oiseaux qui se trouvent en Europe (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. Part 1 (2nd ed.). Paris: H. Cousin. p. 177.
- ↑ Mayr, Ernst; Greenway, James C. Jr, บ.ก. (1960). Check-list of Birds of the World. Vol. Volume 9. Cambridge, Massachusetts: Museum of Comparative Zoology. p. 378.
{{cite book}}
:|volume=
has extra text (help) - ↑ Jobling, J.A. (2019). del Hoyo, J.; Elliott, A.; Sargatal, J.; Christie, D.A.; de Juana, E. (บ.ก.). "Key to Scientific Names in Ornithology". Handbook of the Birds of the World Alive. Lynx Edicions. สืบค้นเมื่อ 9 February 2019.
- ↑ Voelker, Gary (2002). "Molecular phylogenetics and the historical biogeography of dippers (Cinclus)". Ibis. 144 (4): 577–584. doi:10.1046/j.1474-919X.2002.00084.x.
- ↑ Brown Dipper (nominate) Avibase. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
- ↑ Brown Dipper (dorjei). Avibase. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
- ↑ Brown Dipper (Indian). Avibase. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
- ↑ Brown Dipper Cinclus pallasii Temminck, 1820. Avibase. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
- ↑ นกมุดน้ำ. พิพิธภัณธรรมชาติวิทยา อพวช. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 เฉลยเผยโฉมหน้า เจ้าสัตว์ประหลาดรอบตัว. พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. RAMA9 MUSEUM สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
- ↑ นกมุดน้ำ Brown Dipper.ภาพถ่ายและรายชื่อนกทุกชนิดที่พบในประเทศไทย. 3 มกราคม 2562.
- ↑ นกมุดน้ำ Brown Dipper Bird of Thailand: Siam Avifauna. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
- ↑ Brown Dipper ( Cinclus pallasii (Temminck, 1820) ) Birds of the Lower Northern Thailand. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
- ↑ ธนัญพนธ์ เทศขำ. พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ดอยอินทนนท์ สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.