นกพิราบนักเดินทาง
Passenger pigeon ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 5.33–0Ma Zanclean-Holocene[1] | |
---|---|
Live female in 1898, kept in the aviary of C. O. Whitman | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์ปีก Aves |
อันดับ: | Columbiformes Columbiformes |
วงศ์: | วงศ์นกพิราบและนกเขา Columbidae Swainson, 1827 |
สกุล: | †Ectopistes Ectopistes (Linnaeus, 1766) |
สปีชีส์: | †Ectopistes migratorius |
ชื่อทวินาม | |
†Ectopistes migratorius (Linnaeus, 1766) | |
Distribution map, with former range in orange and breeding zone in red | |
ชื่อพ้อง | |
|
นกพิราบนักเดินทาง (อังกฤษ: passenger pigeon, Ectopistes migratorius) เป็นสปีชีส์ของนกพิราบหนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เคยอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อสามัญและชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสปีชีส์นี้อธิบายถึงนิสัยการอพยพของมัน
นกพิราบนักเดินทางมีลักษณะทางเพศที่แตกต่างกันทั้งในด้านขนาดและสีสัน ตัวผู้มีความยาวประมาณ 390-410 มม.[4] ลำตัวส่วนบนมีเป็นสีเทาเป็นหลัก ส่วนล่างมีสีเทาที่อ่อนกว่า บริเวญขอมีขนสีเหลือบสัมฤทธิ์ และมีจุดสีดำบนปีก ตัวเมียมีความยาว 380-400 มม. โดยรวมมีสีที่หมองและน้ำตาลกว่าตัวผู้ ลูกนกจะมีลักษณะคล้ายกับตัวเมียแต่ขาดขนสีเหลือบที่คอ [5][4] นกพิราบนักเดินทางรับประทานผลเปลือกแข็งเป็นหลัก นอกจากนี้ยังรับประทานผลไม้และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
นกพิราบนักเดินทางอาศัยอยู่ในไม้ผลัดใบในทางภาคตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือเป็นหลัก และมีการบันทึกว่าพบในพื้นที่อื่น ๆ แต่การขยายพันธุ์ของมันมักเกิดขึ้นในบริเวณรอบเกรตเลกส์[6] นกพิราบชนิดนี้อพยพเป็นฝูงขนาดใหญ่ โดยจะเดินทางเพื่อค้นหาอาหาร ที่พักพิง และที่ผสมพันธุ์[7][8] นกพิราบนักเดินทางเคยเป็นนกที่มีจำนวนมากที่สุดในอเมริกาเหนือ โดยมีจำนวนประมาณ 3 พันล้านตัว และอาจมากถึง 5 พันล้านตัว นอกจากนี้ยังเป็นนกสี่สามารถบินได้รวดเร็วเป็นอย่างมากด้วยความเร็วถึง 100 กม./ชม[9].
นกพิราบนักเดินทางถูกล่าโดยชนพื้นเมืองอเมริกัน แต่การล่าทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากชาวยุโรปเข้ามาพักอาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 19 โดยเนื้อนกพิราบถูกค้าขายเป็นอาหารราคาถูก ส่งผลให้มีการล่าขนาดใหญ่เป็นเวลาหลายทศวรรษ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่นการลดจำนวนลงของประชากรที่สามารถสืบพันธุ์ได้ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการอนุรักษ์สายพันธุ์ และการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งทำลายแหล่งที่อยู่มาศัยของมัน ซึ่งล้วนส่งผลให้นกพิราบนักเดินทางลดจำนวนลงและสูญพันธุ์ในที่สุด ประชากรมีการลดลงอย่างช้า ๆ ระหว่างประมาณปี 1800 ถึง 1870 ตามด้วยการลดลงอย่างรวดเร็วระหว่างปี ค.ศ. 1870 ถึง 1890 และในปี ค.ศ. 1900 นกพิราบนักเดินทางป่าตัวสุดท้ายที่ได้รับการยืนยันถูกยิงในทางตอนใต้ของรัฐโอไฮโอ[2][10]
นกกลุ่มสุดท้ายที่ถูกจับมาเลี้ยงถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่มในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยบางกลุ่มมีภาพถ่ายขณะมีชีวิตอยู่ มาร์ธา ซึ่งเชื่อว่าเป็นนกพิราบนักเดินทางตัวสุดท้าย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1914 ที่สวนสัตว์ซินซินนาติ การหายไปของนกพิราบนักเดินทางเป็นตัวอย่างที่สำคัญของการสูญพันธุ์ที่เกิดจากมนุษย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "†Ectopistes Swainson 1827 (passenger pigeon)". PBDB.
- ↑ 2.0 2.1 แม่แบบ:Cite IUCN
- ↑ "Ectopistes migratorius. NatureServe Explorer 2.0". explorer.natureserve.org. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
- ↑ 4.0 4.1 Gibbs, D.; Barnes, E.; Cox, J. (2001). Pigeons and Doves: A Guide to the Pigeons and Doves of the World. Sussex: Pica Press. pp. 318–319. ISBN 978-1-873403-60-0.
- ↑ Fuller 2014, pp. 150–161
- ↑ Blockstein 2002, p. 3
- ↑ Fuller, E. (2014). The Passenger Pigeon. Princeton and Oxford: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-16295-9. pp. 30-47.
- ↑ Blockstein 2002, p. 2
- ↑ Blockstein, D. E. (2002). "Passenger Pigeon Ectopistes migratorius". ใน Poole, A.; Gill, F. (บ.ก.). Birds of North America. Philadelphia: The Birds of North America, Inc., Cornell Lab of Ornithology. p. 611. สืบค้นเมื่อ October 8, 2024.
- ↑ Henninger, W. F. (1902). "A Preliminary List of the Birds of Middle Southern Ohio". The Wilson Bulletin. 14 (3): 77–93. ISSN 0043-5643. JSTOR 4153807.