นกจาบดินอกลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกจาบดินอกลาย
P. r. dusiti จาก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประเทศไทย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: นกเกาะคอน (Passeriformes)
วงศ์: นกมุ่นรก (Pellorneidae)
สกุล: Pellorneum
สปีชีส์: ruficeps
ชื่อทวินาม
Pellorneum ruficeps
(Swainson, 1832)
ตัวอย่างเสียงร้อง ที่ Nagerhole
ภาพประกอบ นกจาบดินอกลาย
นกจาบดินอกลายในเบงกาลูรู อินเดีย ไม่มีริ้วบนท้ายทอย

นกจาบดินอกลาย (อังกฤษ: puff-throated babbler หรือ spotted babbler; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pellorneum ruficeps) เป็นนกในวงศ์นกมุ่นรก ในอันดับนกเกาะคอน ที่พบในเอเชีย โดยทั่วไปพบในป่าละเมาะและป่าดิบเขาชื้น ส่วนใหญ่ในพื้นที่ที่เป็นเนินเขา นกจาบดินอกลายหาอาหารเป็นฝูงเล็ก ๆ บนพื้นป่าที่มีเศษใบไม้ปกคลุมเพื่อหาเหยื่อ และโดยปกติจะอยู่ในที่ต่ำซึ่งพบเห็นได้ยาก นกจาบดินอกลายมีเสียงร้องที่ดังและรูปแบบเสียงแตกต่างกัน เช่น เสียงร้องตอนเช้า เสียงติดต่อกัน และเสียงเตือนภัย นกจาบดินอกลายเป็นชนิดต้นแบบ ของ สกุล Pellorneum ซึ่งในปัจจุบันอาจมีหลายเชื้อสาย

ลักษณะทางชีววิทยา[แก้]

นกจาบดินอกลาย ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาล และด้านล่างสีขาวมีริ้วสีน้ำตาลเข้มบนหน้าอกและท้อง มีขนหัวสีน้ำตาลแดง มีแถบยาวสีน้ำตาลอ่อนบนตาทั้งสองข้าง (หน้าผาก) และแก้มมีริ้วสีดำ ลำคอเป็นสีขาวและบางครั้งพองออก และเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษ (Puff-throated babbler) นกจาบดินอกลายมีขาที่แข็งแรงและใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนพื้นป่า มักจะเห็นพวกมันเดินในพงไม้เพื่อหาอาหารจำพวกแมลง พันธุ์ย่อยบางชนิดมีริ้วบนท้ายทอย (Mantle) ในขณะที่พันธุ์อื่น ๆ ไม่มีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคาบสมุทรอินเดีย[2]

การแพร่กระจายพันธุ์เป็นไปอย่างกว้างขวาง และการแตกต่างของประชากรในชนิดย่อยซึ่งมีเกือบสามสิบชนิดย่อย[3] ประชากรนกตัวอย่างที่ได้รับการขึ้นทะเบียนชื่อต้นแบบ พบในคาบสมุทรอินเดีย (ยกเว้น เทือกเขาฆาฏตะวันตก) คือ P. r. ruficeps

ชนิดย่อย[แก้]

และอื่น ๆ ได้แก่ subochraceum, insularum, indistinctum, chtonium, elbeli, acrum, oreum, dusiti, vividum, ubonense, euroum, deignani, dilloni and smithi และมีการอธิบายอีกหลายกลุ่มและประชากรจำนวนมากยากที่จะกำหนดให้เป็นชนิดย่อย โดยนกในสกุล Pellorneum นกจาบดินอกลาย นกจาบดินอกลายชนิดย่อย และนกสายพันธุ์อื่นที่รวมอยู่ในสกุลอาจถูกกำหนดชื่อใหม่[4][5][6]

การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่[แก้]

นกจาบดินอกลายเป็นพันธุ์ที่อาศัยอยู่ทั่วไปในเทือกเขาหิมาลัย และป่าของเอเชีย เช่นเดียวกับนกกินแมลง (Babbler) ส่วนใหญ่ไม่มีการอพยพ เนื่องจากมีปีกโค้งมน สั้น ซึ่งไม่เหมาะที่จะบินระยะไกล แหล่งอาศัยของนกจาบดินอกลาย คือ ไม้พุ่มและกอไผ่ และหาอาหารโดยการพลิกใบไม้เพื่อหาแมลง[2]

พฤติกรรมและนิเวศวิทยา[แก้]

นกจาบดินอกลาย ส่งเสียงเกือบตลอดเวลา เสียงร้องที่ดังและรูปแบบเสียงแตกต่างกัน เช่น เสียงร้องตอนเช้า เสียงติดต่อกัน และเสียงเตือนภัย จำนวนรูปแบบของเสียงเพิ่มขึ้นตามขนาดของนก การส่งเสียงร้องสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง

ฤดูผสมพันธุ์ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงฤดูฝน นกจาบดินอกลายสร้างรังบนพื้นดิน ที่ฐานของพุ่มไม้ และเป็นรูปทรงกลม หรือรูปโดม ทำจากใบไม้และกิ่งไม้ มีช่องทางเข้าอยู่ด้านข้าง ช่องเปิดมักชี้ลงเนินเมื่อรังอยู่บนพื้นลาดเอียง จำนวนไข่แต่ละครอกแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2 ถึง 5 ฟอง ประชากรนกจาบดินอกลายทางตอนเหนือมีแนวโน้มจำนวนไข่แต่ละครอกมากกว่า พ่อแม่นกกระโดดไปมาในพงเมื่อพวกมันเข้าและออกจากรัง ลูกนกจะเริ่มงอกขนปีกและออกจากรังประมาณ 12 ถึง 13 วันหลังจากฟักไข่[2][7][8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. แม่แบบ:Url=https://www.iucnredlist.org/details/22715859/0
  2. 2.0 2.1 2.2 Ali, Salim; S.D. Ripley (1996). Handbook of the Birds of India and Pakistan. Volume 6 (2nd ed.). New Delhi: Oxford University Press. pp. 114–122.
  3. Avibase. Puff-throated Babbler สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2563.
  4. Jønsson, Knud A.; Fjeldså, Jon (2006). "A phylogenetic supertree of oscine passerine birds (Aves: Passeri)". Zoologica Scripta. 35 (2): 149–186. doi:10.1111/j.1463-6409.2006.00221.x.
  5. Rasmussen PC; JC Anderton (2005). Birds of South Asia. The Ripley Guide. Volume 2. Washington DC and Barcelona: Smithsonian Institution & Lynx Edicions. pp. 425–426.
  6. Baker, ECS (1922). Fauna of British India, including Ceylon and Burma. Birds. Volume 1 (2nd ed.). London: Taylor and Francis. pp. 238–242.
  7. Whistler, Hugh. Popular Handbook of Indian Birds (4th ed.). London: Gurney and Jackson. pp. 53–54.
  8. Betham R M (1903). "The nest of the Yellow-browed Bulbul (Iole icterica) and the Spotted Babbler (Pellorneum ruficeps)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 15 (2): 346–347.
  9. Hume AO (1889). Oates, EW (บ.ก.). The nests and eggs of Indian Birds. Volume 1 (2nd ed.). London: R H Porter. p. 100.