นกกวัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นกกวัก
(White-breasted waterhen)
นกโตเต็มวัยในสิงคโปร์
นกร้องยามสนธยาในเมืองบังคาลอร์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: Gruiformes
วงศ์: Rallidae
สกุล: Amaurornis
Pennant, 1769
สปีชีส์: Amaurornis phoenicurus
ชื่อทวินาม
Amaurornis phoenicurus
Pennant, 1769
     approximate range
ชื่อพ้อง

Erythra phoenicura

นกกวัก[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Amaurornis phoenicurus) เป็นนกน้ำในวงศ์นกอัญชัน (Rallidae) ที่อยู่กระจายไปทั่วเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีสีเทาเข้มเหมือนกระดานชนวน ลำตัวสั้น มีใบหน้า อก และท้องขาว ขาและนิ้วยาว อาศัยอยู่ตามหนองน้ำ ระวังตัวน้อยกว่านกอัญชันชนิดอื่น ๆ จึงมักเห็นก้าวเท้าอย่างช้า ๆ ยกหางตรง ไปในหนองน้ำโล่งหรือแม้แต่ที่ระบายน้ำใกล้ ๆ ถนนที่มีรถวิ่ง มักออกหากินในช่วงฟ้าสางหรือพลบค่ำ เดินหากินบนใบพืชน้ำ เช่น บัว จอก แหน ในฤดูผสมพันธ์คือฤดูฝนหลังเริ่มฝนตก ก็จะร้องเสียงดัง "กวัก ๆ" เป็นเสียงต่ำซ้ำ ๆ[2][3] ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[4]

รายละเอียด[แก้]

Amaurornis phoenicurus

นกกวักที่โตแล้วโดยมากมีสีเทาเข้มด้านบนและข้าง ๆ มีหน้า คอ อก และท้องขาว ท้องด้านล่าง ๆ และใต้หางมีสีน้ำตาลเหลือง ข้าง ๆ ตัวจะเรียบเพื่อให้เดินผ่านต้นอ้อ ต้นกก หญ้า และพุ่มไม้ไปง่าย ๆ มีขาและนิ้วยาว หางสั้น ปากและขาเหลือง ตัวผู้ตัวเมียคล้าย ๆ กัน ตัวเมียเล็กกว่าเล็กน้อย ลูกนกมีสีจางกว่า ลูกนกที่ขนยังปุยมีสีดำเหมือนกับนกอัญชันทั้งหมด

นกจัดเป็นสปีชีส์ย่อยหลายสปีชีส์ตามที่อยู่ซึ่งกระจายไปอย่างกว้างขวาง สปีชีส์ย่อยต้นแบบ (nominate) มาจากประเทศศรีลังกาแต่มักใช้ครอบคลุมสปีชีส์ย่อย chinensis ในอินเดียแผ่นดินใหญ่และเขตรอบ ๆ โดยทางทิศตะวันตกไปจนถึงคาบสมุทรอาหรับ และทางทิศตะวันออกจนเกือบถึงญี่ปุ่น สปีชีส์ย่อยที่เหลือมาจากเกาะต่าง ๆ รวมทั้งสปีชีส์ย่อย insularis ในหมู่เกาะอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์, สปีชีส์ย่อย midnicobaricus ในหมู่เกาะนิโคบาร์ส่วนกลาง, leucocephala ในเกาะคาร์นิโคบาร์ (ในหมู่เกาะนิโคบาร์), maldivus ในหมู่เกาะมัลดีฟส์, javanicus ในเกาะชวา และ leucomelanus ในเกาะซูลาเวซีและหมู่เกาะซุนดาน้อย[5][6]

ที่อยู่และการกระจายตัว[แก้]

ที่อยู่ของนกก็คือหนองน้ำทั่วเอเชียเขตร้อนตั้งแต่ปากีสถานไปจนถึงอินโดนีเซีย มักจะอยู่ในที่ราบแต่ก็พบในเขตภูเขา เช่น ในเมืองพักร้อนไนนีตาล (नैनीताल) (1,300 เมตร) รัฐอุตตราขัณฑ์ และในเทือกเขา High Range (ഹൈറേഞ്ച്) (1,500 เมตร) รัฐเกรละ ประเทศอินเดีย[7][8] นกอัญชันขนาดใหญ่ยาว 32 เซนติเมตร นี้เป็นนกอยู่ประจำในเขตที่อยู่ของมันทั้งหมด มันอาจจะอพยพไปตั้งรกรากใหม่ในที่ใกล้ ๆ เช่น ดังที่พบในเกาะภูเขาไฟรากาตา (Rakata) ในประเทศอินโดนีเซีย[9][10] แม้โดยมากจะพบใกล้น้ำจืด แต่ก็พบใกล้น้ำกร่อยหรือแม้แต่ที่ฝั่งทะเลเมื่อไม่มีน้ำจืด เช่น ในเกาะภูเขาไฟบาร์เร็น (Barren Island) ของหมู่เกาะอันดามัน[11]

พฤติกรรมและนิเวศวิทยา[แก้]

ลูกนกมีสีขาวเพียงเล็กน้อยที่ด้านหน้า

นกมักจะเห็นเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่เมื่อค่อย ๆ หากินบนพื้นตามริมหนองน้ำแต่ก็อาจปีนป่ายขึ้นไปบนไม้เตี้ย ๆ เหมือนกัน หางมักจะยกกระตุกไปมาเมื่อเดิน ใช้ปากไซ้ตามโคลนหรือน้ำตื้น ๆ และใช้ตาเพื่องับเอาอาหาร โดยหลักกินแมลง (มีรายงานว่ากินด้วงเป็นจำนวนมาก[11]) ปลาเล็ก (ซึ่งมักล้างอย่างระมัดระวังในน้ำ) สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เมล็ดพืช เช่น Pithecolobium dulce ในสกุลมะขามเทศ[12][13] บางครั้งก็หากินในน้ำที่ลึกกว่าด้วย[14][15][16][17]

ฤดูผสมพันธุ์/ทำรังโดยหลักอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนจนถึงตุลาคม แต่ก็ต่างกันเฉพาะที่ ๆ ด้วย นกทำรังในที่แห้งบนพื้นระหว่างไม้ของหนองน้ำแล้ววางไข่ 6–7 ฟอง นกจีบกันด้วยการโค้งตัว ถูปาก และงับเบา ๆ ไข่ฟักภายในประมาณ 19 วัน[18] ทั้งตัวผู้ตัวเมียฟักไข่และดูแลลูกนก ลูกนกมักดำลงใต้น้ำเพื่อหนีสัตว์ล่า[11] มีรายงานว่า นกที่โตแล้วจะสร้างรังเพื่อพักอยู่หรือเพื่อฟักไข่ เป็นที่ ๆ ทั้งลูกนกและพ่อแม่จะมาพัก[19]

สิงคโปร์ ตุลาคม 1994

นกอัญชันมักจะซ่อนตัว แต่นกกวักกลับมักเห็นในที่โล่ง อาจส่งเสียงดังโดยเฉพาะช่วงฟ้าสางหรือพลบค่ำโดยร้องเสียงต่ำ ๆ มีรายงานว่า สปีชีส์ย่อย insularis ในหมู่เกาะอันดามันร้องเหมือนเป็ด[11]

วัฒนธรรม[แก้]

ชื่อพื้นเมืองของนกนี้มักจะตั้งตามเสียงร้อง เช่น ruak-ruak ในภาษามลายู และ korawakka (කොරවක්කා) ในภาษาสิงหล[20] แม้ชื่อที่ตั้งโดยวิธีอื่นก็สามัญเช่นกัน เช่น Dahuk (ডাহুক) ในภาษาเบงกอล (ใช้ในบังกลาเทศและอินเดียในเขตที่พูดเบงกอล) และ Dauk (ডাউক) ในภาษาอัสสัม ส่วนในรัฐโอฑิศา ถูกเรียกว่า Daahuka (ଡାହୁକ) ในภาษาโอเดีย

นักเขียนแนวธรรมชาตินิยมชาวสกอตแลนด์ เอ็ดวาร์ด แฮมิลตัน เอตเก็น พรรณนาเสียงนกอย่างขำ ๆ ว่า[21]

มันเริ่มจากร้องเสียงดังลั่นเหมือนทำให้หมีร้องโดยย่างหมีอย่างช้า ๆ เหนือกองไฟใหญ่ แล้วเปลี่ยนอย่างฉับพลันเป็นเสียงใส ๆ โดยร้องซ้ำ ๆ เหมือนกับเสียงคู ๆ ของนกเขา/นกพิราบ

คัมภีร์ศาสนาพุทธ[แก้]

คัมภีร์พุทธศาสนากล่าวถึงนกกวักไว้หลายที่รวมทั้ง

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. BirdLife International (2012). "Amaurornis phoenicurus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 2013-11-26.
  2. 2.0 2.1 "กวัก". พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. [กฺวัก] น. ชื่อนกชนิด Amaurornis phoenicurus ในวงศ์ Rallidae ลำตัวสั้น ขาและนิ้วยาว หน้าผากและลำตัวด้านล่างสีขาว อาศัยอยู่ตามหนองน้ำ เดินหากินบนใบพืชน้ำ เช่น บัว จอก แหน ในตอนเช้าหรือพลบค่ำ ร้องเสียงดัง กวัก ๆ
  3. White-breasted waterHen sound. geo nature birds. 10 สิงหาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2023.
  4. "สัตว์ป่าคุ้มครอง". โลกสีเขียว. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2015.
  5. Rasmussen, PC; Anderton, JC (2005). Birds of South Asia. The Ripley Guide. Volume 2. Smithsonian Institution & Lynx Edicions. p. 142.
  6. Abdulali, Humayun (1964). "Four new races of birds from the Andaman and Nicobar Islands". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 61 (2): 410–417.
  7. Robertson, Andrew (1990). "Some altitudinal records of birds from the High Range, Kerala". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 87 (3): 456.
  8. Smetacek, Victor (1974). "On the increasing occurrence of typically plains-birds in the Kumaon hills". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 71 (2): 299–302.
  9. Zann, R.A.; Darjono (1992). "The birds of Anak Krakatau: the assembly of an avian community". GeoJournal. 28 (2). doi:10.1007/BF00177240.
  10. Buden DW & S Retogral (2010). "Range Expansion of the White-breasted Waterhen (Amaurornis phoenicurus) into Micronesia". The Wilson Journal of Ornithology. 122 (4): 784–788. doi:10.1676/10-012.1.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Ali, Salim & S.D. Ripley (1980). Handbook of the Birds of India and Pakistan. Volume 2 (2nd ed.). New Delhi: Oxford University Press. pp. 169–172.
  12. Relton, A.; Moses, A. Alagappa; Wesley, H. Daniel (1991). "Addition to the dietary of Whitebreasted Waterhen Amaurornis phoenicurus (Pennant)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 88 (2): 282.
  13. Mason, CW (1911). Maxwell-Lefroy, H (บ.ก.). Memoirs of the Department of Agriculture in India. Volume 3. The food of birds in India. Imperial Department of Agriculture in India. p. 252.
  14. Sugathan, R; Rajan, S Alagar (1988). "Notes on feeding behaviour of Amaurornis phoenicurus at Point Calimere". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 85 (1): 191.
  15. Balachandran, S (1988). "Some observations on unusual feeding behaviour of Whitebreasted Waterhen (Amaurornis phoenicurus)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 85 (3): 615–616.
  16. Baker, E C S (1929). Fauna of British India. Birds. Volume 6 (2nd ed.). London: Taylor and Francis. pp. 23–25.
  17. Blanford, W T (1898). Fauna of British India. Birds. Volume 4. London: Taylor and Francis. pp. 173–174.
  18. Dhindsa, Manjit S.; Sandhu, P.S.; Toor, H.S. (1983). "Some observations on the breeding of the Chinese Whitebreasted Waterhen Amaurornis phoenicurus chinensis (Boddaert)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 80 (1): 213–214.
  19. Gopakumar, P.S. & P.P. Kaimal (2008). "Loss of wetland breeding habitats and population decline of White-breasted Waterhen, Amaurornis phoenicurus phoenicurus (Pennant) - A case study". ใน Sengupta, M & Dalwani, R (บ.ก.). Proceedings of Taal 2007: The 12th World Lake Conference. pp. 529–536.
  20. "Vernacular Names of the Birds of the Indian Subcontinent" (PDF). Buceros. 3 (1): 53–109. 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 เมษายน 2010. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2019.
  21. Whistler, Hugh (1949). Popular handbook of Indian Birds. Gurney and Jackson. pp. 437–438. ISBN 1-4067-4576-6.
  22. "พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 28 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 2 ข้อ 2066–2067". E-Tipitaka 3.0.7. 2018.
  23. "พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 32 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 1 ข้อ 161". E-Tipitaka 3.0.7. 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]