นกกระติ๊ดแดง
นกกระติ๊ดแดง | |
---|---|
A. amandava ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย
ด้านซ้าย - เพศผู้♂, ด้านขวา - เพศเมีย♀ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์ปีก Aves |
อันดับ: | Passeriformes Passeriformes |
วงศ์: | วงศ์นกกระติ๊ด Estrildidae |
สกุล: | Amandava Amandava (Linnaeus, 1758) |
สปีชีส์: | Amandava amandava |
ชื่อทวินาม | |
Amandava amandava (Linnaeus, 1758) | |
ชื่อพ้อง | |
|
นกกระติ๊ดแดง (อังกฤษ: red avadavat, red munia, strawberry finch; ชื่อวิทยาศาสตร์: Amandava amandava) เป็นนกขนาดเล็กในวงศ์นกกระติ๊ด นกชนิดนี้พบได้ตามทุ่งโล่งและทุ่งหญ้าในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และนิยมนำมาเลี้ยง เนื่องจากมีขนที่มีสีสันสวยงามของตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดียในช่วงฤดูมรสุม ชื่อสายพันธุ์ของ Amandava และชื่อสามัญของ Avadavat ตั้งตามเมืองอะห์มดาบาด รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองที่ส่งออกนกเหล่านี้ไปเป็นสัตว์เลี้ยงในสมัยก่อน[2][3]
อนุกรมวิธาน
[แก้]นกกระติ๊ดแดงได้รับการจำแนกอย่างเป็นทางการโดยนักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน คอล ลินเนีย ในปี ค.ศ. 1758 ในฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ของ Systema Naturae ภายใต้ชื่อทวินามว่า Frigilla amandava[4] ลินเนียได้บรรยายไว้ตามคำอธิบายใน "The Amaduvads Cock and Hen" ซึ่งได้รับการบรรยายและวาดภาพประกอบในปี ค.ศ. 1738 โดยนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษชื่อ เอเลอาซาร์ อัลบิน[5] ลินเนียได้ระบุตัวอย่างที่ตั้งชนิดดังกล่าวว่าเป็นอินเดียตะวันออก แต่ถูกจำกัดไว้เฉพาะที่โกลกาตา (แคลคัตตา) โดย อี. ซี. สจวร์ต เบเกอร์ ในปี ค.ศ. 1921[6][7] ปัจจุบันสายพันธุ์นี้ถูกจัดอยู่ในสกุล Amandava ซึ่งตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ. 1836 โดยนักสัตววิทยาชาวอังกฤษ เอ็ดเวิร์ด บลิธ[8][9]
ก่อนหน้านี้นกกระติ๊ดแดงถูกจัดอยู่ในสกุล Estrilda โดย Jean Delacour แต่การศึกษาทางด้านสัณฐานวิทยา[10] พฤติกรรม ชีวเคมี[11] และดีเอ็นเอ สนับสนุนการแยกเป็นสกุลใหม่ โดยใช้ชื่อว่า Amandava[12][13][14]
มี 3 ชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ ได้แก่[9]
- A. a. amandava (ลินเนีย, 1758) – พบในประเทศปากีสถาน, อินเดีย, เนปาล และบังกลาเทศ
- A. a. flavidiventris (วอลเลซ, 1864) – พบในประเทศเมียนมาร์, ทางใต้ของจีน, ทางตะวันตกเฉียงเหนือและภาคกลางของไทย และหมู่เกาะซุนดาน้อย
- A. a. punicea (ฮอร์สฟิลด์, 1821) – พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย, ประเทศกัมพูชา, ทางใต้ของเวียดนาม, เกาะชวา และเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
คำอธิบาย
[แก้]นกขนาดเล็กนี้สามารถระบุได้ง่ายจากหางโค้งมนสีดำและจะงอยปากที่เป็นสีแดงตามธรรมชาติ ก้นเป็นสีแดง และตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะมีสีแดงเกือบทั้งส่วนบน ยกเว้นแถบสีดำบริเวณตา ท้องส่วนล่าง และปีก มีจุดสีขาวบนลำตัวและขนปีกสีแดง ตัวผู้ที่ยังไม่ผสมพันธุ์จะมีสีคล้ำกว่าแต่มีก้นสีแดง ในขณะที่ตัวเมียจะมีสีคล้ำกว่าและมีจุดสีขาวบนขนน้อยกว่า[15][16]
การกระจายพันธุ์และถิ่นที่อยู่อาศัย
[แก้]นกกระติ๊ดแดงถูกพบส่วนใหญ่ในพื้นที่ราบ ในพื้นที่ที่มีหญ้าสูงหรือพื้นที่เกษตรกรรม และมักอยู่ใกล้แหล่งน้ำ[15] นกชนิดนี้มีชนิดย่อยที่ได้รับการตั้งชื่อไว้ 4 ชนิด ชนิดย่อยที่ได้รับชื่อเรียกว่า amandava พบได้ในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศอินเดีย, ประเทศเนปาล และประเทศปากีสถาน และชนิดย่อย flavidiventris พบได้ในบางส่วนของประเทศจีน, ประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ด้วย[6] และกลุ่มประชากรทางตะวันออกในเกาะชวาเรียกว่า punicea และในประเทศกัมพูชาเรียกว่า decouxi[17][18][7][19]
มีประชากรของนกกระติ๊บแดงที่นำเข้ามาอยู่ในหลายสถานที่ทั่วโลก ได้แก่ ตอนใต้ของประเทศสเปน,[20] ประเทศบรูไน, ประเทศฟีจี,[21] ประเทศอียิปต์,[22] ประเทศมาเลเซีย, ประเทศสหรัฐ, ประเทศบาห์เรน, จังหวัดกัวเดอลุป, ประเทศอิหร่าน, ประเทศอิตาลี, จังหวัดเรอูว์นียง, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศเม็กซิโก, ประเทศสาธารณรัฐโดมินิกัน, จังหวัดมาร์ตินีก, ประเทศโปรตุเกส, ประเทศญี่ปุ่น, เครือรัฐปวยร์โตรีโก, ประเทศสิงคโปร์ และรัฐฮาวาย[23][24][25]
พฤติกรรมและนิเวศวิทยา
[แก้]โดยทั่วไปมักพบเห็นนกชนิดนี้รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ[26] บินด้วยปีกที่กระพืออย่างรวดเร็วและลงไปยังกอหญ้าซึ่งสังเกตได้ยาก นกหนึ่งคู่จะอยู่ด้วยกันตลอดทั้งฤดูผสมพันธุ์[27] นกพวกนี้ส่งเสียงร้องเป็นทำนอง พริบ พริบ ที่มีลักษณะเฉพาะเป็นโน้ตต่ำเพียงตัวเดียว ซึ่งมักได้ยินขณะบิน เสียงร้องนี้เป็นเสียงร้องที่มีโน้ตต่ำ ๆ[28] นกในฝูงจะไซ้ขนกันเองโดยกระดิกขนหัวเพื่อเชื้อเชิญ[29] นกชนิดนี้กินเมล็ดหญ้าเป็นหลัก แต่ยังกินแมลง เช่น ปลวก เมื่อมีโอกาสด้วย[30]
พวกมันสร้างรังเป็นรูปทรงกลมจากใบหญ้า โดยปกติแล้วจะมีไข่สีขาวประมาณ 5 หรือ 6 ฟองต่อหนึ่งครอก[31]
จะงอยปากจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงในเดือนพฤษภาคมและเปลี่ยนเป็นสีเข้มในช่วงเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม จากนั้นจะงอยปากจะเปลี่ยนเป็นสีดำอย่างรวดเร็วในเดือนเมษายนและวงจรก็ดำเนินต่อไป[32] วัฏจักรตามฤดูกาลเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงความยาวของวันตามฤดูกาล[33]
มีการระบุเหาในนกที่เป็นปรสิตภายนอกอยู่ 2 สปีชีส์ (ในอันดับย่อย Ischnocera, Brueelia amandavae และในเคลด Amblycera, Myrsidea amandava)[34] และได้มีการแยกไวรัสพารามิกโซ (Paramyxoviridae) ออกจากนกที่เลี้ยงไว้ในญี่ปุ่น[35][36]
สถานะการอนุรักษ์
[แก้]แม้ว่าสถานะการอนุรักษ์ปัจจุบันของนกกระติ๊ดแดงจะอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC) แต่ก็พบว่าพบเห็นได้น้อยลงอย่างน้อยในบางพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีการกล่าวถึงสัตว์เหล่านี้ว่าเป็นสัตว์ประจำถิ่นที่หาได้ยาก[37] ในประเทศกัมพูชานกกระติ๊ดแดงถูก "ส่งออกเป็นจำนวนนับพันตัว" ไปยังประเทศเวียดนามตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1920 โดยในช่วงต้นปี ค.ศ. 1960 นกกระติ๊ดแดงถูกมองว่าเป็น "สัตว์ที่หายากและไม่ปกติ" และปัจจุบันประชากรของนกกระติ๊ดแดงถือว่ามีจำนวนน้อยลงและน่าเป็นห่วง แต่ในปี ค.ศ. 2012 นกกระติ๊ดแดงก็ยังคงมีจำนวนที่สำคัญในธุรกิจปล่อยสัตว์สู่ธรรมชาติ[38]
แกลเลอรี่
[แก้]-
นกกระติ๊ดแดง (เพศผู้) ในเมืองธากา ประเทศบังคลาเทศ
-
นกกระติ๊ดแดง เพศเมีย จากด้านหลังมีขนสีแดง
-
เพศผู้ที่อยู่ในช่วงที่ไม่ได้ทำการผสมพันธุ์
-
Amandava amandava amandava เพศผู้ ที่อยู่ในช่วงที่มีการผสมพันธุ์
-
นกกระติ๊ดแดงในถิ่นอาศัย
-
นกกระติ๊ดแดง (เพศผู้) ในถิ่นอาศัยบริเวณหนองบึง
เชิงอรรถและรายการอ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2016). "Amandava amandava". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T22719614A94635498. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22719614A94635498.en. สืบค้นเมื่อ 11 November 2021.
- ↑ Pittie A (2004). "A dictionary of scientific bird names originating from the Indian region". Buceros. 9 (2).
- ↑ Yule H (1886). Hobson-Jobson:A glossary of Anglo-Indian colloquial words and phrases. John Murray. p. 30.
- ↑ Linnaeus, Carl (1758). Systema Naturae per regna tria naturae, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis (ภาษาLatin). Vol. 1 (10th ed.). Holmiae (Stockholm): Laurentii Salvii. p. 180.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Albin, Eleazar; Derham, William (1738). A Natural History of Birds : Illustrated with a Hundred and One Copper Plates, Curiously Engraven from the Life. Vol. 3. London: Printed for the author and sold by William Innys. p. 72, Plate 77.
- ↑ 6.0 6.1 Baker, E.C. Stuart (1921). "Hand-list of the "Birds of India" Part III". Journal of the Bombay Natural History Society. 27: 692–744 [725].
- ↑ 7.0 7.1 Paynter, Raymond A. Jr, บ.ก. (1968). Check-List of Birds of the World. Vol. 14. Cambridge, Massachusetts: Museum of Comparative Zoology. p. 348.
- ↑ White, Gilbert (1836). Blyth, Edward (บ.ก.). The Natural History of Selborne, with its Antiquites; Naturalist's Calendar, &c. London: Orr and Smith. p. 44, Footnote.
- ↑ 9.0 9.1 Gill, Frank; Donsker, David; Rasmussen, Pamela, บ.ก. (July 2021). "Waxbills, parrotfinches, munias, whydahs, Olive Warbler, accentors, pipits". IOC World Bird List Version 11.2. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
- ↑ Harrison, C.J.O. (1962). "The affinities of the Red Avadavat, Amandava amandava (Linn.)". Bulletin of the British Ornithologists' Club. 82: 126–132.
- ↑ Christidis, L (1987). "Biochemical systematics within Palaeotropic finches (Aves: Estrildidae)" (PDF). The Auk. 104 (3): 380–392. doi:10.2307/4087534. JSTOR 4087534.
- ↑ Harrison, CJO (1962). "An ethological comparison of some waxbills (Estrildini), and its relevance to their taxonomy". Proceedings of the Zoological Society of London. 139 (2): 261–282. doi:10.1111/j.1469-7998.1962.tb01830.x.
- ↑ Delacour, Jean (1943). "A revision of the subfamily Estrildinae of the family Ploceidae". Zoologica. 28: 69–86.
- ↑ Webster, J.D. (2007). "Skeletal characters and the systematics of Estrildid finches (Aves:Estrildidae)". Proceedings of the Indiana Academy of Science. 116 (1): 90–107. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-24.
- ↑ 15.0 15.1 Rasmussen, Pamela C.; Anderton, John C. (2012). Birds of South Asia. The Ripley Guide. Vol. 2: Attributes and Status (2nd ed.). Washington D.C. and Barcelona: Smithsonian National Museum of Natural History and Lynx Edicions. p. 572. ISBN 978-84-96553-87-3.
- ↑ Whistler, Hugh (1949). Popular Handbook of Indian Birds. Gurney and Jackson. pp. 216–217.
- ↑ Oates, EW (1890). Fauna of British India. Birds. Volume 2. Taylor and Francis, London. pp. 192–193.
- ↑ Deignan, H.G. (1963). "Checklist of the birds of Thailand". United States National Museum Bulletin. 226: 216.
- ↑ Baker ECS (1926). Fauna of British India. Birds. Volume 3 (2nd ed.). Taylor and Francis. pp. 95–97.
- ↑ De Lope F.; Guerrero J.; De La Cruz C. (1984). "Une nouvelle espèce à classer parmi les oiseaux de la Péninsule Ibérique: Estrilda (Amandava) amandava L. (Ploceidae, Passeriformes)" [A new species for the Iberian Peninsula: Estrilda (Amandava) amandava L. (Ploceidae, Passeriformes)]. Alauda. 52 (4).
- ↑ Langham, N.P.E. (1987). "The annual cycle of the Avadavat Amandava amandava in Fiji". Emu. 87 (4): 232–243. doi:10.1071/MU9870232.
- ↑ Nicoll, MJ (1919). Handlist of the birds of Egypt. Government Press, Cairo. p. 30.
- ↑ Barre N.; Benito-Espinal E. (1985). "Oiseaux granivores exotiques implantés en Guadeloupe, à Marie-Galante et en Martinique (Antilles françaises)" [Seed eating exotic birds established in Guadeloupe, Marie Galante and in Martinique (French West Indies)]. L'Oiseau et la Revue française d'Ornithologie. 55 (3): 235–241.
- ↑ Ticehurst, C.B. (1930). "The Amandavat (Aamandava amandava) in Mesopotamia". Journal of the Bombay Natural History Society. 34 (2): 576.
- ↑ "IUCN Red List of Threatened Species: Amandava amandava". IUCN Red List of Threatened Species. October 2016.
- ↑ Evans, SM (1970). "Some factors affecting the flock behaviour of red avadavats (Amandava amandava) with particular reference to clumping". Animal Behaviour. 18 (4): 762–767. doi:10.1016/0003-3472(70)90025-4.
- ↑ Sparks, J.H. (1964). "Flock structure of the Red Avadavat with particular references to clumping and allopreening". J. Anim. Behaviour. 12: 125–126. doi:10.1016/0003-3472(64)90113-7.
- ↑ Ali S; SD Ripley (1999). Handbook of the birds of India and Pakistan. Vol. 10 (2nd ed.). Oxford University Press. pp. 106–108.
- ↑ Sparks, John H. (1965). "On the role of allopreening invitation behaviour in reducing aggression among red avadavats, with comments on its evolution in the Spermestidae". Journal of Zoology. 145 (3): 387–403. doi:10.1111/j.1469-7998.1965.tb02024.x.
- ↑ Inglis, CM (1910). "Note on the Spotted Munia (Uroloncha punctulata) and the Indian Red Munia (Sporaeginthus amandava)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 20 (2): 517–518.
- ↑ Hume, AO (1890). The Nests and Eggs of Indian Birds. Vol. 2. London: R.H. Porter. pp. 147–149.
- ↑ Thapliyal, JP; BBP Gupta (1984). "Thyroid and annual gonad development, body weight, plumage pigmentation, and bill color cycles of Lal Munia, Estrilda amandava". Gen. Comp. Endocrinology. 55 (1): 20–28. doi:10.1016/0016-6480(84)90124-2. PMID 6745630.
- ↑ Subramanian, P; R Subbaraj (1989). "Seasonal changes in the timing of hopping and feeding activities of a tropical bird (Estrilda amandava) under natural photoperiod". Proc. Indian Acad. Sci. (Anim. Sci.). 98 (2): 89–93. doi:10.1007/BF03179631.
- ↑ Gupta, N.; Kumar, S.; Saxena, A.K. (2007). "Prevalence and population structure of lice (Phthiraptera) on the Indian Red Avadavat". Zoological Science. 24 (4): 381–383. doi:10.2108/zsj.24.000. PMID 17867828.
- ↑ Matsuoka, Y; H Kida; R Yanagawa (1980). "A new paramyxovirus isolated from an Amaduvade Finch (Estrilda amandava)". Jpn. J. Vet. Sci. 42 (2): 161–167. doi:10.1292/jvms1939.42.161. PMID 7382234.
- ↑ Rékási, J.; Saxena, A. K. (2005). "A new Phthiraptera species (Philopteridae) from the Red Avadavat (Amandava amandava)" (PDF). Aquila. 112: 87–93. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-29. สืบค้นเมื่อ 2024-10-21.
- ↑ Round, Philip & Gardner, Dana.
- ↑ Gilbert, Martin; Sokha, Chea; Joyner, Priscilla H.; Thomson, Robert L.; Poole, Colin (September 2012). "Characterizing the trade of wild birds for merit release in Phnom Penh, Cambodia and associated risks to health and ecology". Biological Conservation (ภาษาอังกฤษ). 153: 10–16. doi:10.1016/j.biocon.2012.04.024.