นกกระตั้วใหญ่หงอนสีชมพู
นกกระตั้วใหญ่หงอนสีชมพู | |
---|---|
ที่ สวนสัตว์ซินซินเนติ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์ปีก Aves |
อันดับ: | Psittaciformes Psittaciformes |
วงศ์: | Cacatuidae Cacatuidae |
สกุล: | Cacatua Cacatua |
สกุลย่อย: | Cacatua Cacatua (subgenus) (จีเมลิน เจ.เอฟ, 1788) |
สปีชีส์: | Cacatua moluccensis |
ชื่อทวินาม | |
Cacatua moluccensis (จีเมลิน เจ.เอฟ, 1788) |
นกกระตั้วใหญ่หงอนสีชมพู (อังกฤษ: salmon-crested cockatoo, Moluccan cockatoo; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cacatua moluccensis) หรือที่รู้จักกันในชื่อ นกกระตั้วโมลัคคัน เป็นนกกระตั้วพบได้เฉพาะถิ่น (endemic) ของหมู่เกาะเซรัม ในภูมิภาคตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย มีความสูงได้ถึง 46–52 เซนติเมตร (1.51–1.71 ฟุต) และน้ำหนักได้ถึง 850 กรัม (1.87 ปอนด์) นับเป็นหนึ่งในนกกระตั้วสีขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยเฉลี่ยตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย ขนของนกชนิดนี้มีสีขาวอมชมพู โดยมีเฉดสีพีชอย่างชัดเจน และมีสีเหลืองอ่อนใต้ปีกและหาง นอกจากนี้ยังมีหงอนขนาดใหญ่ที่สามารถพับเก็บได้ซึ่งนกชนิดนี้จะชูขึ้นเมื่อรู้สึกถูกคุกคาม เผยให้เห็นขนสีส้มแดงสดที่ถูกซ่อนอยู่เพื่อขู่ศัตรู นกชนิดนี้ยังสามารถชูหงอนเมื่อรู้สึกตื่นเต้นหรือแสดงอารมณ์อื่น ๆ บางคนอธิบายว่าหงอนมีสีคล้าย "นกฟลามิงโก" นอกจากนี้ยังมีเสียงร้องที่ดังมากในโลกของนกแก้ว และสามารถเลียนเสียงได้ดีในสภาวะการเลี้ยงดูในบ้าน
ในธรรมชาตินกกระตั้วหงอนสีชมพูมักอาศัยในป่าดิบชื้นเขตร้อนที่มีความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร อาหารของนกชนิดนี้ประกอบด้วยเมล็ดพันธุ์ ถั่ว และผลไม้ รวมถึงมะพร้าว นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเพิ่มเติมว่าในธรรมชาตินกชนิดนี้กินแมลงที่พื้นดิน และนกกระตั้วโมลัคคันที่เลี้ยงในบ้านอาจตรวจพบว่าเป็นโรคโลหิตจาง (anemia) หากอาหารไม่ประกอบด้วยโปรตีนเพียงพอ
อนุกรมวิธาน
[แก้]นกกระตั้วใหญ่หงอนสีชมพูได้ รับการบรรยายไว้อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 1788 โดยนักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน ชื่อ โยฮันน์ ฟรีดริช กเมลิน ในหนังสือ Systema Naturae ของ คอล ฟ็อน ลินเนีย ฉบับปรับปรุงและขยายความใหม่ เขาจัดวางไว้ร่วมกับนกแก้วในสกุล Psittacus และตั้งชื่อทวินามว่า Psittacus moluccensis[3] กเมลิน ได้อธิบายโดยอ้างอิงจากคำอธิบายของนักปักษีวิทยาในยุคก่อน ๆ จอร์จ เอ็ดเวิร์ดส์ ได้บรรยายและวาดภาพประกอบนกกระตั้วในปี ค.ศ. 1751[4] มาตูแร็ง ฌัก บริสสัน ได้บรรยายภาพนกกระตั้วในปี ค.ศ. 1760[5] และ มาตูแร็ง ฌัก บริสสัน ได้บรรยายและวาดภาพประกอนกกระตั้วในปี ค.ศ. 1779[6][7] ประเภทสถานที่ คือ หมู่เกาะมาลูกู[8] ปัจจุบันนกกระตั้วใหญ่หงอนสีชมพูเป็น 1 ใน 11 สายพันธุ์ที่อยู่ในสกุล Cacatua ซึ่งถูกนำเข้ามาในปี ค.ศ. 1817 โดย Louis Pierre Vieillot ชนิดพันธุ์นี้เป็น ชนิดพันธุ์เดียว: ไม่มีการระบุชนิดย่อย[9]
การกระจายพันธุ์และถิ่นที่อยู่
[แก้]นกกระตั้วใหญ่หงอนชมพูพบเป็นนกเฉพาะถิ่นของหมู่เกาะเซรัมในภาคตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย และได้ถูกนำเข้าไปยังเกาะโออาฮูในฮาวาย ซึ่งประชากรนกกลุ่มนี้มีจำนวนเพียงเล็กน้อย[10] แม้ว่าจะเคยพบเห็นนกค็อกคาทูชนิดนี้ในป่าที่เปอร์โตริโกแต่นกค็อกคาทูชนิดนี้น่าจะเกิดจากสัตว์เลี้ยงที่หลุดออกไป และไม่มีการบันทึกการสืบพันธุ์ใด ๆ [11]
สถานะในธรรมชาติ
[แก้]นกกระตั้วใหญ่หงอนชมพูนั้นเป็นสายพันธุ์ที่ ใกล้สูญพันธุ์[12] และถูกจัดให้อยู่ในบัญชีภาคผนวกที่ 1 ของ CITES ตั้งแต่ปี 1989 ซึ่งทำให้การค้าระหว่างประเทศที่จับจากธรรมชาติอย่างผิดกฎหมายถูกห้ามโดยสิ้นเชิง การค้าขายในนกที่เพาะพันธุ์ในกรงทำได้เฉพาะในกรณีที่มีใบรับรองจาก CITES อย่างถูกต้อง จำนวนของนกชนิดนี้ลดลงเนื่องจากการดักจับอย่างผิดกฎหมายเพื่อนำไปเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย ในช่วงที่มีการดักจับนกชนิดนี้อย่างหนัก มีนกมากกว่า 6,000 ตัวที่ถูกจับจากธรรมชาติในแต่ละปี อุทยานแห่งชาติมานูเซลาในเกาะ เซรัม ถือเป็นแหล่งอาศัยหลักของนกชนิดนี้ แม้ในปัจจุบันยังคงมีการดักจับอย่างผิดกฎหมายอยู่บ้าง
การเลี้ยงนกในกรง
[แก้]นกกระตั้วใหญ่หงอนชมพูไม่สามารถนำเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้อีกแล้ว เนื่องจากนกชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ในกฎหมายอนุรักษ์นกป่า (Wild Bird Conservation Act) อย่างไรก็ตาม นกชนิดนี้ได้รับการเพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยง และเป็นที่นิยมเพราะความสวยงามและความสามารถในการฝึกฝน (ซึ่งทำให้เป็นที่นิยมในโชว์นกฝึก)
นกกระตั้วใหญ่หงอนชมพูถือเป็นหนึ่งในนกแก้วที่ท้าทายที่สุดในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เนื่องจากมีความฉลาดสูง ขนาดใหญ่ และระดับเสียงที่ดังมาก (เป็นหนึ่งในนกที่เสียงดังที่สุดในโลก โดยมีเสียงดังถึง 129 เดซิเบล)[13] และความต้องการในการกัดแทะ นกกระตั้วใหญ่หงอนชมพูต้องการกรงหรือกรงนกขนาดใหญ่และแข็งแรงมาก นกกระตั้วใหญ่หงอนชมพูมีความเป็นสังคมสูง และนกเลี้ยงอาจจะเป็นนกที่รักใคร่และอ่อนโยนมาก สิ่งนี้อาจนำไปสู่ปัญหาได้หากนกกระตั้ววัยเยาว์ได้รับความสนใจและการกอดมากเกินไปในช่วงวัยเยาว์ และไม่ได้รับโอกาสในการเล่นกับของเล่น ค้นหาอาหาร หรือหาอะไรทำเพื่อสร้างความบันเทิงให้ตัวเอง
นกกระตั้วใหญ่หงอนชมพูต้องการความสนใจและกิจกรรมอย่างมากเพื่อรักษาสุขภาพและความสมดุล การดูแลและการฝึกฝนจากผู้เลี้ยงเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้นกมีอะไรทำ ของเล่นสำหรับแทะและของเล่นสำหรับหาอาหารซึ่งทำให้นกต้องใช้ความพยายามเพื่อหาอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เช่นเดียวกับนกกระตั้วขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ นกกระตั้วใหญ่หงอนชมพูอาจพัฒนาเป็นปัญหาด้านสุขภาพและพฤติกรรม เช่น การถอนขน และความก้าวร้าว หากไม่ได้รับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ความสนใจ และโอกาสในการพัฒนาความสามารถทางสมอง[ต้องการอ้างอิง]
ในกรงเลี้ยง นกกระตั้วใหญ่หงอนชมพูเคยมีอายุยืนยาวมาก มีรายงานว่าในงานวิจัยปี 2011 นกเลี้ยงตัวหนึ่งมีอายุยืนถึง 92 ปี[14]
การผสมพันธุ์
[แก้]นกกระตั้วหงอนสีชมพูผสมพันธุ์ปีละครั้ง โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือนธันวาคมถึงมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงที่พืชพรรณเติบโตสูงสุดและอาหารมีความอุดมสมบูรณ์
แกลเลอรี
[แก้]-
นกกระตั้วใหญ่หงอนชมพูแสดงโชว์ (ตัดปีกแล้ว)
-
ภาพระยะใกล้ของศีรษะและหงอน
-
ที่เมืองสวาย เกาะเซรัม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2016). "Cacatua moluccensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T22684784A93046425. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22684784A93046425.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
- ↑ "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- ↑ Gmelin, Johann Friedrich (1788). Systema naturae per regna tria naturae : secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis (ภาษาLatin). Vol. 1, Part 1 (13th ed.). Lipsiae [Leipzig]: Georg. Emanuel. Beer. p. 331.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Edwards, George (1751). A Natural History of Uncommon Birds. Vol. 4. London: Printed for the author at the College of Physicians. p. 160; Plate 160.
- ↑ Brisson, Mathurin Jacques (1760). Ornithologie, ou, Méthode Contenant la Division des Oiseaux en Ordres, Sections, Genres, Especes & leurs Variétés (ภาษาFrench และ Latin). Vol. 4. Paris: Jean-Baptiste Bauche. pp. 209–211, No. 10.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Buffon, Georges-Louis Leclerc de (1779). "Le Kakatoës à huppe rouge". Histoire Naturelle des Oiseaux (ภาษาFrench). Vol. 6. Paris: De l'Imprimerie Royale. p. 91.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Buffon, Georges-Louis Leclerc de; Martinet, François-Nicolas; Daubenton, Edme-Louis; Daubenton, Louis-Jean-Marie (1765–1783). "Le Kakatoes à huppe rouge". Planches Enluminées D'Histoire Naturelle. Vol. 5. Paris: De L'Imprimerie Royale. Plate 498.
- ↑ Peters, James Lee, บ.ก. (1937). Check-List of Birds of the World. Vol. 3. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 175.
- ↑ Gill, Frank; Donsker, David; Rasmussen, Pamela, บ.ก. (January 2023). "Parrots, cockatoos". IOC World Bird List Version 13.1. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 23 February 2023.
- ↑ "Salmon-crested Cockatoo - eBird".
- ↑ Falcón, Wilfredo; Tremblay, Raymond L. (30 October 2018). "From the cage to the wild: introductions of Psittaciformes to Puerto Rico". PeerJ. 6: e5669. doi:10.7717/peerj.5669. PMC 6214232. PMID 30397538.
- ↑ "Status of Cacatua moluccensis". [CITES CITES] database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2013.
- ↑ "The World's Loudest Animals". 21 June 2018.
- ↑ Young, A. M.; Hobson, E. A.; Lackey, L. B.; Wright, T. F. (2012). "Survival on the ark: life history trends in captive parrots". Animal Conservation (ภาษาอังกฤษ). 15 (1): 28–53. Bibcode:2012AnCon..15...28Y. doi:10.1111/j.1469-1795.2011.00477.x. PMC 3289156. PMID 22389582.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- World Parrot Trust Parrot Encyclopedia – Species Profiles
- ARKive – images and movies of the salmon-crested cockatoo (Cacatua moluccensis)
- BirdLife Species Factsheet
- Red Data Book
- Moluccan Cockatoo photo on Pc-Zoo
- Project Bird Watch & eco-tourism development in Indonesiion Islands
- 9 Steps To Avoid “Unwanted Cockatoo Syndrome”