นกกระจอกบ้าน
นกกระจอกบ้าน | |
---|---|
![]() | |
นกกระจอกบ้านชนิดย่อย P. m. saturatus ในประเทศญี่ปุ่น | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Passeriformes |
วงศ์: | Passeridae |
สกุล: | Passer |
สปีชีส์: | P. montanus |
ชื่อทวินาม | |
Passer montanus (Linnaeus, 1758) | |
![]() | |
พื้นที่การกระจายพันธุ์แอฟริกา-ยูเรเชียน
| |
ชื่อพ้อง | |
|
นกกระจอกบ้าน[2] (อังกฤษ: Eurasian Tree Sparrow) เป็นนกเกาะคอนในวงศ์นกกระจอก มีสีน้ำตาลเข้มที่กระหม่อนและหลังคอ แก้มสีขาวมีจุดดำบนแก้มแต่ละข้าง นกกระจอกทั้งสองเพศมีชุดขนคล้ายกัน นกวัยอ่อนมีสีขนจืดกว่านกที่โตเต็มที่ นกชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์เกือบทั้งทวีปยูเรเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้) และมันถูกนำไปสู่ที่อื่นๆ รวมถึง สหรัฐอเมริกา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Eurasian Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้ยูเรเชีย) หรือ German Sparrow (นกกระจอกเยอรมัน) เพื่อแยกความแตกต่างจากนกกระจอกต้นไม้อเมริกา (American Tree Sparrow) ซึ่งเป็นนกพื้นเมือง แม้ว่าจะมีหลายชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ แต่ลักษณะที่ปรากฏของนกแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตลอดแนวการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง
นกกระจอกบ้านทำรังไม่เป็นระเบียบในโพรงงูธรรมชาติ รูในอาคาร หรือรังขนาดใหญ่ของนกสาลิกาปากดำหรือนกกระสาขาว นกจะวางไข่คราวหนึ่งห้าถึงหกฟอง ไข่จะฟักเป็นตัวภายในสองอาทิตย์ นกกินเมล็ดพืชเป็นอาหารหลัก แต่บางครั้งจะกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร โดยเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกบ้านเหมือนกับนกขนาดเล็กทั่วไปซึ่งอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อจากปรสิต โรคภัยไข้เจ็บ และถูกล่าโดยนกล่าเหยื่อ ทำให้โดยทั่วไปมีช่วงชีวิตประมาณสองปี
เนื้อหา
ลักษณะ[แก้]
นกกระจอกบ้านเป็นนกขนาดเล็กมาก หัวค่อนข้างใหญ่ คอสั้น ปีกสั้น ปลายปีกมน หางค่อนข้างสั้น ตัวยาว 12.5–14 ซม. (5–5½ นิ้ว)[3] ช่วงปีกกว้าง 21 ซม. (8.25 นิ้ว) และหนัก 24 กรัม (0.86 ออนซ์)[4] ทำให้มันเล็กกว่านกกระจอกใหญ่ประมาณ 10% [5] กระหม่อมและต้นคอของนกโตเต็มวัยมีสีสีน้ำตาลแก่ แก้มขาว มีแต้มสีดำรูปไตบริเวณขนคลุมหู คาง คอ และพื้นที่ระหว่างการปากและลำคอมีสีดำ ส่วนบนสีน้ำตาลอ่อนลายดำ ปีกสีน้ำตาลมีแถบสีขาวแคบๆ สองแถบ ขาเป็นสีน้ำตาลอ่อน และปากอ้วนสั้น เป็นปากกรวย เป็นสีน้ำเงินจากปลายในฤดูร้อนและกลายเป็นเกือบดำในฤดูหนาว[6]
นกกระจอกนี้เป็นที่โดดเด่นในสกุลเพราะชุดขนไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศ นกวัยอ่อนคล้ายนกโตเต็มวัยแต่มีสีทึบกว่า[7] ด้วยรูปแบบแต้มบนใบหน้าทำให้มันง่ายที่จะจำแนก[5] อีกทั้งมีขนาดเล็ก กระหม่อนไม่เป็นสีเทายิ่งทำให้มันแตกต่างจากนกกระจอกใหญ่ตัวผู้[3] นกกระจอกบ้านที่โตเต็มวัยและนกวัยอ่อนจะผลัดขนอย่างช้าๆ จนเสร็จสมบูรณ์ในฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งจะทำให้ดัชนีมวลร่างกายเพิ่มขึ้น แม้ไขมันที่สะสมจะลดลงก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของมวลกายเกิดขึ้นเพราะการเพิ่มขึ้นของเลือดเพื่อที่จะช่วยการงอกของขน และปริมาณความจุน้ำที่สูงขึ้นในร่างกาย[8]
นกกระจอกบ้านไม่มีการร้องเพลงที่แท้จริง แต่การเปล่งเสียงของมันประกอบด้วย ชุดปลุกเร้าของเสียงร้อง ชิบ-ชิบ หรือ ชิชิบ-ชิชิบ โดยนกตัวผู้ที่ไม่มีคู่หรือกำลังเกี้ยวพาราสี เสียงร้องพยางค์เดียวอื่นๆ ถูกใช้ในการสื่อสารทางสังคม และเสียงร้องกระด้างขณะบิน แจ๊ก-แจ๊ก[5] ในการศึกษาเปรียบเทียบการเปล่งเสียงของประชากรนกกระจอกรัฐมิสซูรีกับนกจากเยอรมนีแสดงให้เห็นว่านกสหรัฐมีการใช้รูปแบบพยางค์ (มีม) น้อยกว่า และมีไวยากรณ์มากกว่านกกระจอกยุโรป ซึ่งอาจเป็นผลมาจากกลุ่มประชากรที่มีขนาดเล็กในทวีปอเมริกาเหนือและเนื่องมาจากการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรม[9]
![]() |
|
หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์นี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ |
อนุกรมวิธาน[แก้]

นกกระจอกโลกเก่าสกุล Passer เป็นนกจับคอนขนาดเล็กที่เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดจากทวีปแอฟริกา มีอยู่ประมาณ 15–25 ชนิดขึ้นอยู่กับผู้แต่ง[11] โดยทั่วไปแล้ว สมาชิกในสกุลจะมีถิ่นอาศัยในพื้นที่เปิดโล่ง ป่าละเมาะ แม้ว่า หลายชนิดโดยเฉพาะนกกระจอกใหญ่ (P. domesticus) สามารถปรับตัวเข้ากับที่อยู่อาศัยของมนุษย์ได้ โดยมากนกในสกุลจะยาว 10–20 ซม. (4–8 นิ้ว) มีสีน้ำตาลหรือเทา หางเหลี่ยมสั้น ปากสั้นกลม กินเมล็ดพืชตามพื้นดิน บางครั้งกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร โดยเฉพาะช่วงผสมพันธุ์วางไข่[12] จากการศึกษาทางพันธุกรรมแสดงว่านกกระจอกบ้านแยกตัวจากสมาชิกในสกุลอื่นแต่แรก ก่อนชนิดใหม่อย่างนกกระจอกใหญ่ นกกระจอกตาล และนกกระจอกสเปน[13] นกกระจอกบ้านไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับนกกระจอกต้นไม้อเมริกา (Spizella arborea) ซึ่งอยู่ในวงศ์นกกระจอกอเมริกา[14]
ชื่อวิทยาศาสตร์ของนกกระจอกบ้านมาจากคำสองคำในภาษาละติน: passer ที่แปลว่า "นกกระจอก" และ montanus แปลว่า "แห่งภูเขา" (จากคำ mons ที่แปลว่า "ภูเขา")[4] นกกระจอกบ้านได้รับการจำแนกครั้งแรกโดยคาโรลัส ลินเนียสในงาน Systema Naturae ของเขาเมื่อปี ค.ศ. 1758 ในชื่อ Fringilla montana,[15] แต่ถูกย้ายจากวงศ์นกฟินซ์ (Fringillidae) พร้อมกับนกกระจอกใหญ่สู่สกุลใหม่ Passer ที่สร้างโดยนักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส มาทูริน จ็คซ์ บริซซัน (Mathurin Jacques Brisson) ใน ค.ศ. 1760[16] ชื่อ Eurasian Tree Sparrow นั้นมาจากมันชอบทำรังในโพรงต้นไม้เป็นพิเศษ ชื่อนี้และชื่อวิทยาศาสตร์ montanus กลับไม่แสดงถึงถิ่นอาศัยของนกอย่างเหมาะสม รวมถึงชื่อในภาษาเยอรมัน Feldsperling ("นกกระจอกทุ่ง") ก็เช่นกัน[17]
ชนิดย่อย[แก้]
นกชนิดนี้มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยจากจากการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง มีเพียง 8 ชนิดย่อยที่ถูกจำแนกโดยคลีเมนต์ซึ่งน้อยมาก และยังมีชนิดย่อยอื่นอีก 15 ชนิดที่ถูกเสนอ แต่ได้รับการพิจารณาเป็นผลผลิตของเผ่าพันธุ์[6][18]
- P. m. montanus เป็นชนิดย่อยที่เป็นตัวอย่างในการจำแนกเป็นชนิด กระจายพันธุ์ทั่วทวีปยุโรป ยกเว้น ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไอบีเรีย, ตอนใต้ของประเทศกรีซ, และยูโกสลาเวีย นอกจากนี้ยังมีการแพร่พันธุ์ในเอเชียไปทางตะวันออกถึงแม่น้ำลีนาและทางใต้ถึงพื้นที่ตอนเหนือของประเทศตุรกี, คอเคซัส, ประเทศคาซัคสถาน, ประเทศมองโกเลีย และประเทศเกาหลี
- P. m. transcaucasicus จำแนกโดย เซอร์ไก อเล็กซานโดรวิช บูทราลิน (Sergei Aleksandrovich Buturlin) ในปี ค.ศ. 1906 แพร่พันธุ์จากตอนใต้ของคอเคซัสไปทางตะวันออกถึงตอนเหนือของประเทศอิหร่าน มันมีสีทึมกว่าและสีออกเทากว่าชนิดย่อย P. m. montanus[6]
- P. m. dilutus จำแนกโดย ชาร์ลีซ์ วอร์เวซ ริดมอน (Charles Wallace Richmond) ในปี ค.ศ. 1856 เป็นนกประจำถิ่นในทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของประเทศอิหร่าน, ภาคเหนือของประเทศปากีสถาน และบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และยังพบว่ามีจำนวนมากขึ้นในตอนเหนือจากประเทศอุซเบกิสถานและประเทศทาจิกิสถานไปทางตะวันออกถึงประเทศจีน เมื่อเทียบกับชนิดย่อย P. m. montanus มันมีสีจืดกว่าและมีส่วนบนสีน้ำตาลทราย[6]
- P. m. tibetanus เป็นชนิดย่อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด จำแนกโดย สจ๊วต บาเคอร์ (Stuart Baker) ในปี ค.ศ. 1925 พบในตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย จากประเทศเนปาลไปทางตะวันออก ผ่านทิเบตถึงบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน มันคล้ายกับชนิดย่อย P. m. dilutus แต่มีสีเข้มกว่า[6]
- P. m. saturatus จำแนกโดย ลีออนฮาร์ด เฮสซ์ สเทตเนเจอร์ (Leonhard Hess Stejneger) ในปี ค.ศ. 1885 แพร่พันธุ์ในเกาะซาฮาลิน, หมู่เกาะคูริล (Kuril Islands), ประเทศญี่ปุ่น, ไต้หวัน และประเทศเกาหลีใต้ มันมีสีน้ำตาลเข้มกว่าชนิดย่อย P. m. montanus และมีปากใหญ่กว่า[6]
- P. m. malaccensis จำแนกโดย อัลฟงส์ ดูโบอิส (Alphonse Dubois) ในปี ค.ศ. 1885 พบจากทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัยไปทางตะวันออกถึงมณฑลไหหลำและประเทศอินโดนีเซีย มันมีสีเข้มคล้ายชนิดย่อย P. m. saturatus แต่มีขนาดเล็กกว่าและมีลายขีดหนามากกว่าบนส่วนบน[6]
- P. m. hepaticus จำแนกโดย ซิดนีย์ ดิลลอน ริปพลีย์ (Sidney Dillon Ripley) ในปี ค.ศ. 1948 แพร่พันธุ์จากทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐอัสสัมถึงบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มันคล้ายกับชนิดย่อย P. m. saturatus แต่มีสีออกแดงมากกว่าที่หัวและส่วนบน[6]
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย[แก้]
ช่วงการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติของนกกระจอกบ้านประกอบด้วย ยุโรปและเอเชียใต้ประมาณเส้นรุ้ง 68 องศาเหนือเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเขตอากาศอบอุ่น (ทางเหนือหน้าร้อนมีอากาศหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยเดือนกรกฎาคมต่ำกว่า 12°C) และผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลงไปถึงเกาะชวาและจังหวัดบาหลี ก่อนหน้านี้ยังมีการแพร่พันธุ์ในหมู่เกาะแฟโร, ประเทศมอลตา และเกาะโกโซ (Gozo) ด้วย[5][6] ในเอเชียใต้โดยมากมักจะพบในเขตอากาศอบอุ่น[19][20] นกชนิดนี้เป็นนกประจำถิ่น แต่ประชากรในตอนเหนือสุดของเขตการกระจายพันธุ์จะมีการอพยพลงใต้ในฤดูหนาว[21] รวมถึงกลุ่มประชากรขนาดเล็กที่จะย้ายถิ่นจากตอนใต้ของยุโรปไปยังตอนเหนือของแอฟริกาและตะวันออกกลาง[5] นอกจากนี้ ชนิดย่อย P. m. dilutus ที่พบทางตะวันออกของเขตการกระจายพันธุ์จะอพยพมาถึงชายฝั่งของประเทศปากีสถานในฤดูหนาว และนกชนิดย่อยนี้อีกนับพันจะอพยพผ่านไปภาคตะวันออกของประเทศจีนในฤดูใบไม้ร่วง[6]
นกกระจอกบ้านถูกนำไปนอกแหล่งการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ แต่ไม่ได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นของสถานที่นั้นเสมอไป อาจเป็นเพราะการแข่งขันกับนกกระจอกใหญ่ มันถูกนำเข้าไปและสามารถแพร่พันธุ์จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นได้สำเร็จใน แคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย, ภาคตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไมโครนีเซีย แต่เมื่อถูกนำเข้าไปในประเทศนิวซีแลนด์ และเบอร์มิวดานั้นกลับปักหลักตั้งถิ่นฐานไม่ได้ นอกจากนี้ เรือยังได้นำนกไปสร้างอาณานิคมที่เกาะบอร์เนียว นกกระจอกชนิดนี้เป็นนกพลัดหลงตามธรรมชาติในยิบรอลตาร์, ประเทศตูนิเซีย, ประเทศแอลจีเรีย, ประเทศอียิปต์, ประเทศอิสราเอล และดูไบ[6]
ในทวีปอเมริกาเหนือ ประชากรราว 15,000 ตัวได้ตั้งถิ่นฐานรอบเซนต์หลุยส์ และพื้นที่ใกล้เคียงอย่างบางส่วนของรัฐอิลลินอยส์และทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐไอโอวา[22] นกเหล่านี้สืบเชื้อสายมาจากนก 12 ตัวที่นำเข้ามาจากประเทศเยอรมนีและถูกปล่อยในปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 1870 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงนกพื้นเมืองในท้องถิ่นทวีปอเมริกาเหนือ ในพื้นที่การกระจายพันธุ์ที่จำกัดในอเมริกา นกกระจอกบ้านต้องแข่งขันกับนกกระจอกใหญ่ในเมือง และจะพบมากในสวนสาธารณะ ไร่นา และป่าละเมาะ[9][23] ชาวอเมริกามักเรียกนกชนิดนี้ว่า "นกกระจอกเยอรมัน" (German Sparrow) เพื่อให้ต่างจากนกพื้นเมืองอย่างนกกระจอกต้นไม้อเมริกา (American Tree Sparrow) และนกกระจอกบ้านอังกฤษ ("English" House Sparrow) ที่แพร่พันธุ์มากขึ้น[24]
ในประเทศออสเตรเลีย พบนกกระจอกบ้านในเมลเบิร์น, เมืองในตอนกลางและตอนเหนือของรัฐวิกตอเรีย และตอนกลางบางส่วนในเขตริเวอริน่า (Riverina) บริเวณรัฐนิวเซาท์เวลส์ มันเป็นสัตว์ต้องห้ามในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ซึ่งบ่อยครั้งที่มันเดินมาถึงพร้อมเรือจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[25]
แม้จะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passer montanus แต่นกชนิดนี้กลับไม่ได้เป็นสปีชีส์ที่พบบนภูเขาเท่านั้น และพบที่ความสูงเพียง 700 เมตร (2,300 ฟุต) ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แม้ว่า มันจะแพร่พันธุ์ที่ความสูง 1,700 เมตร (5,600 ฟุต) ในตอนเหนือของเทือกเขาคอเคซัสและสูง 4,270 เมตร (14,000 ฟุต) ในประเทศเนปาล[5][6] ในยุโรป พบนกได้บ่อยครั้งบนชายฝั่งที่มีหน้าผา อาคารที่ว่างเปล่า ในพุ่มไม้ของไม้ตัดเรือนยอดที่ใกล้ทางน้ำที่ไหลช้าๆ หรือในพื้นที่เปิดในชนบทที่มีกลุ่มต้นไม้[5] นกกระจอกบ้านแสดงอย่างเด่นชัดว่าชอบทำรังใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำ และหลีกเลี่ยงที่จะผสมพันธุ์วางไข่ในพื้นที่เกษตรกรรมแบบผสมที่มีการจัดการอย่างหนาแน่น[26]
เมื่อมีนกกระจอกบ้านและนกกระจอกใหญ่ในบริเวณเดียวกัน โดยทั่วไปแล้ว นกกระจอกใหญ่จะแพร่พันธุ์ในเขตเมือง ขณะที่นกกระจอกบ้านจะทำรังวางไข่ในเขตชนบท[6] ในสถานที่ที่มีต้นไม้น้อยอย่างประเทศมองโกเลีย นกทั้งสองชนิดอาจใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างของมนุษย์เป็นสถานที่ทำรัง[27] นกกระจอกบ้านเป็นนกที่พบในเขตชนบทในทวีปยุโรป แต่เป็นนกในเขตเมืองในตะวันออกของทวีปเอเชีย ในเอเชียกลางและเอเชียใต้ นก Passer ทั้งสองชนิดอาจพบในเมืองและหมู่บ้าน[6] ในบางส่วนของดินแดนแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น ประเทศอิตาลี ทั้งนกกระจอกบ้านและนกกระจอกอิตาลีหรือนกกระจอกสเปนอาจพบในชุมชน[28] ในประเทศออสเตรเลีย นกกระจอกบ้านเป็นนกส่วนใหญ่ในเมือง และมันเป็นนกกระจอกที่ใช้ประโยชน์จากถิ่นอาศัยทางธรรมชาติส่วนมาก[25]
ในประเทศไทย นกกระจอกบ้านเป็นนกประจำถิ่น พบทั่วประเทศ โดยเฉพาะตามบ้านคนหรือใกล้หมู่บ้าน[29]
พฤติกรรมและนิเวศวิทยา[แก้]
การสืบพันธุ์[แก้]
นกกระจอกบ้านจะสืบพันธุ์ได้หลังจากฟักออกจากไข่เป็นเวลาหนึ่งปี[30] โดยทั่วไปแล้ว มันจะสร้างรังในโพรงต้นไม้หรือโพรงหิน แต่บางรังจะไม่สร้างในโพรงเหล่านั้น นกจะสร้างในหมู่รากที่ยื่นยาวออกมาของต้นไม้จำพวกไม้หนามหรือพุ่มไม้อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน[31] โพรงหลังคาในบ้านก็ถูกใช้เป็นสถานที่ทำรังเช่นกัน[31] ในเขตร้อน กะบังรอบของต้นปาล์มหรือเพดานของระเบียงบ้านก็สามารถถูกใช้เป็นสถานที่ทำรังได้[32] มีการพบนกกระจอกบ้านใช้รังรูปโดมร้างของนกสาลิกาปากดำ[31] หรือใช้รังกิ่งไม้ของนกขนาดใหญ่ เช่น นกกระสาขาว[33] นกอินทรีหางขาว, เหยี่ยวออสเปร, เหยี่ยวดำ หรือ นกกระสานวลเป็นที่วางไข่ บางครั้งมันก็เข้ายึดรังของนกที่ทำรังในโพรงหรือพื้นที่ปิดล้อมเพื่อวางไข่ เช่น นกนางแอ่นบ้าน นกนางแอ่นมาตินพันธุ์ไซบีเรีย นกนางแอ่นทรายสร้อยคอดำ หรือ นกจาบคายุโรป[34]
นกที่จับคู่ผสมพันธุ์วางไข่อาจอยู่แยกเดี่ยวหรืออยู่เป็นอาณานิคมแบบหลวมๆ [35] นกกระจอกบ้านสามารถใช้รังเทียมหรือบ้านนก (nest box) ได้จากการศึกษาในประเทศสเปน บ้านนกที่สร้างจากไม้และคอนกรีตมีอัตราเข้าใช้มากกว่าบ้านนกที่สร้างจากไม้เพียงอย่างเดียวถึง 76.5% ต่อ 33.5% ตามลำดับ นอกจากนี้ นกที่ทำรังในบริเวณบ้านนกที่ทำจากไม้และคอนกรีตมีการวางไข่ที่เร็วกว่า มีระยะเวลาการฟักที่สั้นกว่า และมีความพยายามจับคู่ผสมพันธุ์มากกว่าต่อหนึ่งฤดู จำนวนไข่และลักษณะของลูกอ่อนไม่มีความแตกต่างกันระหว่างบ้านนกทั้งสองชนิด แต่อัตรารอดสู่วัยเจริญพันธุ์ในบ้านนกที่ทำจากไม้และคอนกรีตมีอัตราสูงกว่า บางทีอาจเป็นเพราะบ้านสังเคราะห์อุ่นกว่าบ้านไม้ถึง 1.5 °C ที่สภาพแวดล้อมเดียวกัน[36]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ BirdLife International (2008). "Passer montanus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2008. International Union for Conservation of Nature. สืบค้นเมื่อ 29 January 2009.
- ↑ จารุจินต์ นภีตะภัฎ และคณะ, คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย, ISBN 978-974-619-181-4
- ↑ 3.0 3.1 Mullarney et al. 1999, p. 342
- ↑ 4.0 4.1 "Tree Sparrow Passer montanus [Linnaeus, 1758]". Bird facts. British Trust for Ornithology. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Snow & Perrins 1998, pp. 1513–1515
- ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 Clement, Harris & Davis 1993, pp. 463–465
- ↑ Mullarney et al. 1999, p. 343
- ↑ Lind, Johan (2004). "Compensatory bodily changes during moult in Tree Sparrows Passer montanus in Italy" (PDF). Ornis Fennica. 81: 1–9. Unknown parameter
|coauthors=
ignored (|author=
suggested) (help) - ↑ 9.0 9.1 Lang, A. L. (1997). "Cultural evolution in the Eurasian Tree Sparrow: Divergence between introduced and ancestral populations" (PDF). The Condor. 99 (2): 413–423. doi:10.2307/1369948. JSTOR 1369948. Unknown parameter
|coauthors=
ignored (|author=
suggested) (help) - ↑ Although Linnaeus gives the location as simply in Europa, the type specimen was from Bagnacavallo, Italy (Clancy, Philip Alexander (1948). Bulletin of the British Ornithologists' Club. 68: 135. Missing or empty
|title=
(help)) Linnaeus's text for the Tree Sparrow translates "F[inch]. With dusky wings and tail, black and grey body paired white wing bars." - ↑ Anderson 2006, p. 5
- ↑ Clement, Harris & Davis 1993, pp. 442–467
- ↑ Allende, Luis M. (2001). "The Old World sparrows (genus Passer) phylogeography and their relative abundance of nuclear mtDNA pseudogenes" (PDF). Journal of Molecular Evolution. 53 (2): 144–154. PMID 11479685. Archived from the original (PDF) on 21 July 2011. Unknown parameter
|coauthors=
ignored (|author=
suggested) (help) - ↑ Byers, Curson & Olsson 1995, pp. 267–268
- ↑ Linnaeus 1758, p. 183 F. remigibus rectricibusque fuscis, corpore griseo nigroque, alarum fascia alba gemina
- ↑ Brisson 1760, p. 36
- ↑ Summers-Smith 1988, p. 217
- ↑ Vaurie, Charles; Koelz, W. (1949). "Notes on some Ploceidae from western Asia". American Museum Novitates. 1406: 22–26. hdl:2246/2345.
- ↑ Raju, K.; Krishna, S. R.; Price, Trevor D. (1973). "Tree Sparrow Passer montanus (L.) in the Eastern Ghats". Journal of the Bombay Natural History Society. 70 (3): 557–558.
- ↑ Rasmussen & Anderton 2005
- ↑ Arlott 2007, p. 222
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCocker
- ↑ Barlow, Jon C.; Leckie, Sheridan N. Pool, A., ed. "Eurasian Tree Sparrow (Passer montanus)". The Birds of North America Online. Ithaca: Cornell Laboratory of Ornithology. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
- ↑ Forbush 1907, p. 306
- ↑ 25.0 25.1 Massam, Marion. "Sparrows" (PDF). Farmnote No. 117/99. Agriculture Western Australia. สืบค้นเมื่อ 1 February 2009.
- ↑ Field, Rob H. (2004). "Habitat use by breeding Tree Sparrows Passer montanus". Ibis. 146 (2): 60–68. doi:10.1111/j.1474-919X.2004.00356.x. Unknown parameter
|coauthors=
ignored (|author=
suggested) (help) - ↑ Melville, David S. (1998). "Syntopy of Eurasian Tree Sparrow Passer montanus and House Sparrow P. domesticus in Inner Mongolia, China" (PDF). Forktail. 13: 125. Unknown parameter
|coauthors=
ignored (|author=
suggested) (help) - ↑ Summers-Smith 1988, p. 220
- ↑ Eurasian Tree-sparrow ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) สืบค้นวันที่ 21 มิถุนายน 2555
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อanage
- ↑ 31.0 31.1 31.2 Coward 1930, pp. 56–58
- ↑ Robinson & Chasen 1927–1939, Chapter 55 (PDF) 284–285
- ↑ Bochenski, Marcin (2005). Pinowski, Jan, ed. "Nesting of the sparrows Passer spp. in the White Stork Ciconia ciconia nests in a stork colony in Klopot (W Poland)". International Studies on Sparrows. 30: 39–41. Archived from the original (PDF) on 23 September 2011.
- ↑ Czechowski, Pawel (2007). Pinowski, Jan, ed. "Nesting of Tree Sparrow Passer montanus in the nest of Barn Swallow Hirundo rustica". International Studies on Sparrows. 32: 35–37. Archived from the original (PDF) on 23 September 2011.
- ↑ Hegyi, Z.; Sasvári, L. (1994). "Alternative reproductive tactics as viable strategies in the Tree Sparrow (Passer montanus)" (PDF). Ornis Hungaria. 4: 9–18.
- ↑ García-Navas, Vicente (2008). "Effect of nestbox type on occupancy and breeding biology of tree sparrows Passer montanus in central Spain". Ibis. 150 (2): 356–364. doi:10.1111/j.1474-919X.2008.00799.x. Archived from the original (PDF) on 30 September 2010. Unknown parameter
|coauthors=
ignored (|author=
suggested) (help)
บรรณานุกรม[แก้]
- Anderson, Ted R. (2006). Biology of the Ubiquitous House Sparrow: From Genes to Populations. Oxford University Press. ISBN 0-19-530411-X.
- Arlott, Norman (2007). Birds of the Palearctic: Passerines. London: Collins. ISBN 0-00-714705-8.
- Brisson, Mathurin Jacques (1760). Ornithologie ou méthode contenant la division des oiseaux en ordres, sections, genres, especes & leurs variétés. A laquelle on a joint une description exacte de chaque espece, avec les citations des auteurs qui en ont traité, les noms qu'ils leur ont donnés, ceux que leur ont donnés les différentes nations, & les noms vulgaires. Ouvrage enrichi de figures en taille-douce (in French). Paris: Bauche.
- Byers, Clive; Curson, Jon; Olsson, Urban (1995). Sparrows and Buntings: a Guide to the Sparrows and Buntings of North America and the World. Pica Press. ISBN 1-873403-19-4.
- Clement, Peter; Harris, Alan; Davis, John (1993). Finches and Sparrows: an Identification Guide. Christopher Helm. ISBN 0-7136-8017-2.
- Cocker, Mark; Mabey, Richard (2005). Birds Britannica. London: Chatto & Windus. ISBN 0-7011-6907-9.
- Coward, Thomas Alfred (1930). The Birds of the British Isles and Their Eggs. I (3rd ed.). Frederick Warne. ISBN 0-7232-0999-5.
- Forbush, Edward Howe (1907). Useful Birds and Their Protection. Boston: Massachusetts State Board of Agriculture.
- Kennedy, Robert S.; Gonzales, Pedro C.; Dickinson, Edward C.; Miranda, Hector; Fisher, Timothy H. (2000). A Guide to the Birds of the Philippines. Oxford University Press. ISBN 0-19-854668-8.
- Linnaeus, Carolus (1758). Systema naturae per regna tria naturae, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis. Tomus I. Editio decima, reformata (in Latin). Holmiae. (Laurentii Salvii).
- Mullarney, Killian; Svensson, Lars; Zetterstrom, Dan; Grant, Peter (1999). Collins Bird Guide. London: HarperCollins. ISBN 0-00-219728-6.
- Pinowski, Jan; Kavanagh, P. P.; Górski, W. (eds.). (1991). Nestling mortality of granivorous birds due to microorganisms and toxic substances. Varsovia: Polish Scientific Publishers. ISBN 83-01-10476-7.
- Pinowski, Jan; Summers-Smith, J. Denis (eds.) (1990). Granivorous birds in the agricultural landscape. Lomianki: Polish Academy of Sciences. ISBN 83-01-08460-X.
- Rasmussen, Pamela C.; Anderton, John C. (2005). Birds of South Asia: The Ripley Guide. Washington: Smithsonian Institution Press and Lynx Edicions. ISBN 84-87334-67-9.
- Robinson, Herbert C.; Chasen, Frederick Nutter (1927–1939). Birds of the Malay Peninsula. London: H. F. & G. Witherby.
- Snow, David; Perrins, Christopher M. (editors) (1998). The Birds of the Western Palearctic. I–II (concise ed.). New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-854099-X.
- Summers-Smith, J. Denis (1988). The Sparrows. illustrated by Robert Gillmor. Calton, Staffs, England: T. & A. D. Poyser. ISBN 0-85661-048-8.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Passer montanus จากวิกิสปีชีส์
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Passer montanus |
![]() |
วิกิซอร์ซ มีบทความจากสารานุกรมบริตานิกา ฉบับ ค.ศ. 1911 เกี่ยวกับ Sparrow |
- ARkive Photographs, video.
- Skull image
- Ageing and sexing (PDF) by Javier Blasco-Zumeta
- Tree Sparrow videos, photos & sounds on the Internet Bird Collection