ธนาภรณ์ จิตต์จำรึก
ธนาภรณ์ จิตต์จารึก | |
![]() ลูกศร กับ ลูกสาว (2550) | |
ชื่อเกิด | ธนาภรณ์ รัตนเสน |
ชื่อเล่น | ลูกศร |
เกิด | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2511 (51 ปี) |
คู่สมรส | มนตรี จิตต์จารึก |
ชื่ออื่น | ธญาฎา วิชญธนภรณ์ , ธัญญ์ญาฏา วิชญ์ชญธนภรณ์ |
อาชีพ | นักแสดง นักร้อง นักธุรกิจ |
ผลงานเด่น | อีสา (2531) ปัญญาชนก้นครัว (2531) เคหาสน์สีแดง (2532) ห้องหุ่น (2532) บัวแล้งน้ำ (2533) ตะวันชิงพลบ (2534) สีวิกา (2536) เกมเกียรติยศ (2537) |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ช่อง 7 (2531-ปัจจุบัน) |
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ | |
---|---|
ดาราสนับสนุนดีเด่นหญิง จากละครเรื่อง อีสา (2531) | |
ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย (ThaiFilmDb) |

ธนาภรณ์ จิตต์จารึก (นามสกุลเดิม รัตนเสน) หรือชื่อเล่น ลูกศร เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2511 เป็นนักแสดง นักร้องชาวไทย อดีตนักบัลเล่ต์ มีผลงานแสดงละครที่โด่งดังหลายเรื่องอย่างเช่น ปัญญาชนก้นครัว ตะวันชิงพลบ เคหาสน์สีแดง สีวิกา บัวแล้งน้ำ เกมเกียรติยศ เป็นต้น และยังมีผลงานเพลงกับอัลบั้มชุด ลูกศรลมกรด กับเพลงดัง "ระเบิดทิ้ง" "ล้นมาจากตา" และ "ฝากไว้ที่เธอ" ด้านการศึกษา จบการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทสาขาการจัดการที่มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา [1]
ลูกศรเข้าสู่วงการตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยเป็นแดนเซอร์ให้กับรายการเพลง เธอเริ่มเล่นละครตั้งแต่เรียนอยู่ระดับชั้นมัธยมปลาย โดยเล่นละครทางช่อง 7 สีเรื่องแรกกับค่ายกันตนา แสดงเป็นนางเอก คู่กับอภิชาติ หาลำเจียก แต่ไม่ได้ออกอากาศ จากนั้นย้ายมาร่วมงานกับค่ายดาราวิดีโอ โดยแสดงเป็นตัวรองในละครเรื่อง อีสา ร่วมกับอภิรดี ภวภูตานนท์ ซึ่งจากละครเรื่องนี้ทำให้ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2531 ในสาขาดาราสนับสนุนดีเด่นหญิง[2]
ด้านชีวิตส่วนตัว ลูกศรได้พบรักกับสามี คือ คุณมนตรี จิตต์จารึก คบหาดูใจกันมาจนถึงปี พ.ศ. 2537 จึงแต่งงาน ซึ่งก่อนแต่งงานได้เรียนอยู่ต่างประเทศ 3 ปี จึงกลับมาแสดงละครต่ออีก 2 เรื่อง คือ ปราสาทสีขาว กับ ขุนเดช ซึ่งเป็นละครส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปะโบราณไทย แต่หลังจากนั้นก็เลิกแสดงละครไป โดยไปทำธุรกิจร้านวิดีโอ แฟรนไชส์ กับเปิดบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ ผลิตโฆษณา และงานภาคผลิตต่างๆ อย่าง รายการผู้หญิงดอตคอม ทางช่อง 5 และรายการสมาร์ทไลฟ์
ด้านครอบครัว มีบุตร 4 คนคือ น้องแฟร์รี่-ด.ญ.พลอยวรัศม์ จิตต์จารึก น้องเฟมี่-ด.ช.รัชกร จิตต์จารึก และลูกแฝดชาย-หญิง คือ น้องเฟย์-ด.ญ.อาภากร จิตต์จารึก และ น้องโฟร์ท-ด.ช.ภาสกร จิตต์จารึก[3]
ปัจจุบัน ลูกศรได้กลับมาแสดงละครโทรทัศน์อีกครั้ง โดยแสดงละครเรื่อง "ด้วยแรงอธิษฐาน" ของค่ายกันตนา และช่อง 7 สี
เนื้อหา
ผลงาน[แก้]
ละคร[แก้]
พ.ศ. | ละคร | บทบาท | สถานีโทรทัศน์ |
---|---|---|---|
2531 | อีสา | ม.ร.ว.โสภาพรรณวดี รวีวาร (คุณหญิงโสภา) | ช่อง 7 |
ปัญญาชนก้นครัว | เอมิกา ไกรกำแหง (เอม) / ชะเอม จำเนียรเจรจา (ชะเอม) | ||
2532 | เคหาสน์สีแดง | อารยา ชัยเสรี (น้อย) | |
ห้องหุ่น | พรรณราย | ||
2533 | บัวแล้งน้ำ | จัตตาฬีส์ | |
เหตุเกิดที่ สน. | |||
2534 | ตะวันชิงพลบ | มุกระวี | |
2536 | สีวิกา | นิสาชล | |
2537 | เกมเกียรติยศ | ช่อง 5 | |
2538 | ปราสาทสีขาว | ราณี | ช่อง 7 |
2542 | ขุนเดช | อาจารย์ดารา | |
2553 | ด้วยแรงอธิษฐาน | มนทิรา | |
2554 | เพลิงพรหม | กัลยาณี | |
2557 | หนีก็ล่า ซ่าก็รัก | คุณหญิงอัญชลี | |
2558 | คู่ปรับฉบับหัวใจ | มยุรา พิทักษ์พงษ์ |
ละครเทิดพระเกียรติ[แก้]
พ.ศ. | ละคร | รับบท |
---|---|---|
2559 | ละครเทิดพระเกียรติชุด "ใต้ร่มพระบารมี" เรื่อง "คลื่นแห่งศรัทธา" |
- |
ละครสั้น[แก้]
- 2537 แฝดพี่ฝาดน้อง ละครสั้น ปากกาทอง ช่อง 7
ภาพยนตร์[แก้]
- เฮงได้ เฮงดี รักนี้ (2530)
- เรารักกันนะ (2532)
โฆษณา[แก้]
- โฆษณาโกโก้ครั้นช์
- โฆษณา ONAMI
- "คนอร์ รสทิพย์"
มิวสิกวีดีโอ[แก้]
- ขออีกที ดนุพล แก้วกาญจน์ (2531)
- ก็เพียงแค่ฝัน พัณนิดา เศวตาสัย (2531)
พิธีกร[แก้]
- รายการ Woman Today ช่อง เฮลท์ พลัส แชนแนล
อัลบั้มเพลง[แก้]
- คู่รักวัยหวาน (อัลบั้มร้องคู่ / อี.เอ็ม.ไอ. / 2529)
- ลูกศรลมกรด (อัลบั้มเดี่ยว / ซาวด์ โปรเจ็กต์ / 2534)
รางวัล[แก้]
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น จากละคร อีสา ปี 2531
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|